สถาบันการเงิน-สรรพากร โดดร่วมวงขับเคลื่อน "Digital ID ภาครัฐ"
สพร. จับมือ 9 พันธมิตร นำร่องการใช้ "Digital ID ภาครัฐ" ขับเคลื่อนงานบริการดิจิทัลภาครัฐสู่ยุควิถีใหม่ ด้านเนชั่นแนลดิจิทัลไอทีพร้อมสนบัสนุนแพลตฟอร์มฟอร์มกลางพิสูจน์และยืนยันตัวตน ผ่านทางแบงก์ที่พร้อมให้บริการและเป็นผู้รับลงทะเบียน ขณะที่สรรพากร ลุยเชื่อมโยงระบบภาษีทั้งกับการตรวจสอบค่าลดหย่อน ยื่นแบบฯ ชำระและคืนภาษี
นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ สพร. เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล(องค์การมหาชน) พร้อมกับ9พันธมิตร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด,กรมสรรพากร, กรมพัฒนธุรกิจการค้า, กรมที่ดิน, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนเงินให้ผู้ยืมเพื่อการศึกษา
ล่าสุด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐ" เพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง สำหรับการพิสูจน์และ
ยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภครัฐ รวมไปถึงสนับสนุนให้หน่วยงานผู้ใช้บริการสามารถนำแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าวไปใช้ในการบริหารงาน และให้บริการประชาชนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ตั้งเป้ายกระดับการให้บริการดิจิทัลภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้น พร้อมซับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามเป้าประสงค์ในยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (พ.ศ. 2561-2580) และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยหวังให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานภาครัฐและยกระดับการให้บริการประชาชน ลดภาระในการติดต่อหรือใช้บริการจากภาครัฐ เพราะที่ผ่านมาการให้บริการของภาครัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ หรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชน ประกอบด้วยขั้นตอนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร เกิดภาระต่อผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตน ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและเกิดภาระต่อผู้ใช้บริการ
นางสาวสุธีรา ศรีไพบูลย์ รักษาการประธานกรรมการบริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด กล่าวว่าภารกิจหลักของ NDID คือการแพตฟอร์มการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากทางภาครัฐและต่อมาจัดตั้งเป็นบริษัทและบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือครั้งนี้
“โดยหลักการทำงานของการพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลเครือข่ายนี้จะเป็นเหมือนถนนที่เชื่อมบริการต่งๆ ไว้ด้วยกัน แต่NDID ไม่ได้เก็บข้อมูลใดๆ ข้อมูลจะยังคงอยู่ในที่เก็บข้อมูลเดิมหรือหน่วยงานต่งๆ โดยประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลมีสิทธิเลือกที่จะส่งข้อมูลของตนเอง ส่งผลให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนมีความรวดเร็ว ถูกต้องปลอดภัยและน่าเชื่อถือภายใต้มาตรฐานตามสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ถือเป็นการยกระดับการทำธุรกรมทางดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดบริการต่างๆ รวมถึงในครั้งนี้ที่ได้ต่อยอดมาถึงบริการจิทัลภาครัฐที่ภาครัฐได้นำ NDID มาใช้ให้บริการประชาชน เพื่อตอบโจทย์พฤติกรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนไป”
นายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมพร้อมให้การสนับสนุนธนคารพาณิชย์ไทยที่เป็นสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย ในการเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของธนาคารในการเข้าถึงบริกรทางดิจิทัลของหน่วยงานผู้ให้บริการ และหน่วยงานภาครัฐอื่นในอนาคตได้
เพราะทางสมาคมฯได้พิจารณาแล้วว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และDigital ID มีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญกับหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยใดๆที่จะเกิดขึ้นในการทำธุรกรรม ส่งผลให้ปะชาชนเกิดความเชื่อถือในการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้นด้วย ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์8แห่ง ร่วมทดสอบอยู่ในเซนบ็อกซ์ของธปท. คาดว่าจะครบทุกแห่งในอนาคต
นายฉัตรชัย ศิริไล ประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมฯสนับสนุนกาพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาโดยตลอด ซึ่งภาคธนาคารโดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลงนามข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ สมาคมฯ พร้อมให้การสนับสนุนธนาคารของสถาบันการงินของรัฐที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บริการเป็น Identity Provider หรือผู้ทำหน้ที่สำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน และเป็นผู้รับลงทะเบียนยืนยันกาพิสูจน์ตัวตนให้กับผู้ที่จะขอใช้ข้อมูลต่อไป
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยื มาใช้ในระบบการให้บริการต้นภาษี เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษีสามารถทำธุรกรรมภาษีได้ง่ายลดต้นทุนและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
การลงนามบันทึกข้อตกลงฯ การนำระบบการพิสน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลภาครัฐในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูลของกรมสรรพากร พ.ศ.2563 (Data Governance) ซึ่งจะช่วยคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลและการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เช่น My Tax Account (การตรวจสอบรายการค่าลดหย่อนและทางภาษี) การยื่นแบบฯ และชำระภาษี การสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี เป็นต้น ทั้งนี้ กรมสรรพากร ยังคงมุ่งทำให้บริการอิเล็กทรอนิกส์มีความง่ายตามความต้องการใช้งานของผู้ประกอบการ ผู้เสียภาษี และมีมาตรฐานระดับสากล