เปิดตัว2ทายาท 'สารสาสน์' ฟื้นอภิบาลคืนความเชื่อมั่น
หลังจากมีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์ครู "โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์"ทำร้ายเด็กเผยแพร่ออกมาสู่สังคม ผู้ปกครองได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้บริหารรับผิดชอบ ล่าสุดผู้บริหารได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบแล้วพร้อมรับปากจะแก้ไขทุกเรื่องพร้อมตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน
"เราจะตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน จัดการปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ความช่วยเหลือนักเรียนและผู้ปกครองทุกฝ่ายจะได้รับความเป็นธรรม ต้องแก้ไขเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่แก้ตัว ไม่โทษใคร จะพิจารณาระบบการอภิบาลของโรงเรียนในเครือทั้งหมดให้ดีขึ้น จะแก้ไขทุกเรื่องที่ผู้ปกครองร้องเรียน"
พิสุทธิ์ ยงค์กมล ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต ผู้ก่อตั้งและเจ้าของโรงเรียนสารสาสน์ กล่าวในการแถลงข่าวที่กระทรวงศึกษาธิการ (30 กย.)
สำหรับ “โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์” เป็นหนึ่งในโรงเรียนสาขาของเครือ “โรงเรียนสารสาสน์” (Sarasas Affliated Schools)
โรงเรียนสองภาษา หรือ Bilingual School แห่งแรกในประเทศไทย จดทะเบียนภายใต้ บริษัท แสงเงินพัฒนาการ จำกัด ในประเภทการศึกษาอื่นๆ เมื่อวันที่24 เมษายน 2524 ทุนจดทะเบียนกว่า 100 ล้านบาท มีสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมด 7 ราย
ปัจจุบันมีโรงเรียนรวมทั้งหมด 49 แห่ง ทั้งที่เป็นโรงเรียนสามัญและโรงเรียนอาชีวศึกษา โดยผู้ก่อตั้งและได้รับใบอนุญาตจัดตั้งและเจ้าของเครือโรงเรียนสารสาสน์ คือ พิบูลย์ ยงค์กมล และเพ็ญศรี ยงค์กมล ซึ่งปัจจุบัน พิบูลย์ ดำรงตำแหน่งประธานอำนวยการโรงเรียนเครือสารสาสน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- เปิดที่มา 'สารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์'
- เปิดอาณาจักรพันล้าน ‘เครือสารสาสน์’ โรงเรียนสองภาษาแห่งแรกของไทย
- ส่องประวัติ 'กนกวรรณ วิลาวัลย์' แม่ทัพสุดปัง สางปม 'สารสาสน์'
- 'รร.สารสาสน์' ไล่ออกทั้งห้อง 'ครูจุ๋ม' โละยกชุดผู้บริหาร
- ศธ. ลุยสารสาสน์ราชพฤกษ์ สั่งฟ้องคนไม่มีตั๋วครู
หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "พิสุทธิ์ และ สุทธิพงศ์ ยงค์กมล" ทายาททั้ง 2 ของผู้ก่อตั้งและเจ้าของโรงเรียนสารสาสน์ได้ออกมาแถลงข่าว พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิสุทธิ์ ผู้แทนผู้รับใบอนุญาต กล่าวชี้แจงว่า เจตนาของผู้ก่อตั้งโรงเรียนสารสาสน์ตลอดเวลา เกือบ 50 ปีนั้น ยึดมั่นในความเป็นสถาบันการศึกษา เพราะเป็นครูมาก่อน แต่ยอมรับว่า เมื่อดูคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นความรู้สึกเหมือนผู้ปกครองทุกคนที่รู้สึกเจ็บที่หัวใจ เพราะเป็นคนมีลูก (สาว)เหมือนกัน และพร้อมรับผิดชอบ และแก้ไขในเรื่องที่เกิดขึ้น
ยอมรับว่า เมื่อดูคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นความรู้สึกเหมือนผู้ปกครองทุกคนที่รู้สึกเจ็บที่หัวใจ เพราะเป็นคนมีลูก (สาว)เหมือนกัน และพร้อมรับผิดชอบ และแก้ไขในเรื่องที่เกิดขึ้น
ว่ากันว่า ทายาททั้ง 2 คนเคยเป็นครู โรงเรียนสารสาสน์พัฒนาและสารสาสน์พิทยา โดย พิสุทธิ์ จบมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญและจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ผลการสอบโทเฟล ไอเอลฟ์ ผ่านในระดับคะแนนค่อนข้างดี
ส่วน สุทธิพงศ์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรีและปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นทั้งคู่ได้ไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย
หลังเรียนจบทั้งคู่ได้เริ่ม โครงการทดลองหลักสูตรภาษาอังกฤษที่มีครูต่างชาติเป็นผู้สอน เรียกว่า “เอ็กซ์ตร้า” (Extra) ในชั้นอนุบาลและประถม 1 ที่โรงเรียนสารสาสน์พิทยา ประมาณปี 2535 โดยคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอันดับที่ 1-5 จากแต่ละห้องมารวมอยู่ในห้องเอ็กซ์ตร้า เพราะต้องการเด็กคล่องแคล่ว เรียนรู้เร็ว ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเพียง2,000 บาท มีอาจารย์ต่างชาติชาวออสเตรเลียมาสอน
ผ่านไปได้ 1 ปี ได้รับความนิยมจึงเปิดหลักสูตรเอ็กซ์ตร้า ตั้งแต่อนุบาลถึงชั้น ป.6 ต่อมาขยายห้องเรียนมาใช้พื้นที่โรงเรียนสารสาสน์โปลีเทคนิคถนนสาธุประดิษฐ์ เปิดโรงเรียนสอนเฉพาะหลักสูตรเอ็กซ์ตร้า ชื่อ “สารสาสน์เอกตรา”
ปี 2538 ได้รับอนุญาตเปิดโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกในประเทศไทย ผลิตหนังสือ 2 ภาษาเล่มแรก Global Bridge และเป็นต้นแบบหนังสือ 2 ภาษาให้กับโรงเรียนอื่น รวมทั้งเป็นต้นแบบนำ "กระโปรงลายสก๊อต" มาเป็นชุดนักเรียนที่สารสาสน์เอกตราเป็นแห่งแรกในประเทศไทยด้วย
โดยนำโรงเรียนต้นแบบสองภาษาในเมืองบอสตัน สหรัฐ ชื่อ Amigos ที่สอนภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาสเปนในระดับอนุบาล และมีโรงเรียน Maynard School เป็นเครือข่ายพับลิกสคูล เปิดสอนชั้น ป.1-6 และทำสัญญาความร่วมมือกับเมนาร์ดสคูลส่งครูเป็นปีการศึกษา พร้อมขยายเครือข่ายโรงเรียนต่างๆ ทั้งที่ออสเตรเลีย สหรัฐ อเมริกา สิงคโปร์ นำไปสู่การตั้งโรงเรียนสองภาษา หรือ Bilingual School ในปี 2538 และได้รับอนุญาตเปิดโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกในประเทศไทย ผลิตหนังสือ 2 ภาษาเล่มแรก Global Bridge ต้นหนังสือ 2 ภาษาให้กับโรงเรียนอื่น รวมทั้งเป็นต้นแบบนำกระโปรงลายสกอตมาเป็นชุดนักเรียนที่สารสาสน์เอกตราเป็นแห่งแรกในประเทศไทยด้วย
หลังจาก“สารสาสน์” เปิดโรงเรียน2 ภาษาจากนั้นเริ่มมีโรงเรียนเอกชนหลายแห่งยื่นขอหลักสูตรสองภาษา เช่นโรงเรียนอุดมศึกษาย่านลาดพร้าว โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเลิศหล้า โรงเรียนเซนต์ฟรัง จากนั้นจึงเริ่มขยายโรงเรียนสองภาษาแห่งที่สอง คือ สารสาสน์วิเทศศึกษาที่ประชาอุทิศ และขยายเปิดโรงเรียนสารสาสน์ตามการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในเมืองและรอบนอกเมือง และต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง มีครอบครัวและลูกๆ
ปัจจุบันโรงเรียนในเครือสารสาสน์มีการพัฒนาขยายสาขาได้มากถึง 49 แห่ง มีทั้งแผนกสามัญแผนกสองภาษาแผนกสองภาษาอาเซียนแผนกการจัดการเรียนการสอนแบบนานาชาติอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึงอุดมศึกษา ปี 2562 มีนักเรียนในเครือสารสาสน์ทั้งหมด 91,500 คน
สำหรับค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับอนุบาลนั้นอนุบาล1 (ปกติ)ภาคเรียนแรก 22,500 บาทภาคเรียนที่ 2 ประมาณ18,500 แต่ถ้าเป็นโปรแกรม IEP ซึ่งมีตั้งแต่อนุบาล 2 นั้นภาคเรียนแรก 61,000บาทภาคเรียนที่ 2 ประมาณ 53,000บาท