สรุปหลักสูตรขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่กลางเดือนพ.ย.นี้

สรุปหลักสูตรขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่กลางเดือนพ.ย.นี้

เปิดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นให้มีความทันสมัย เนื้อหาประวัติศาสตร์หลังปี 2475 เห็นเด็กไทยเปลี่ยนแปลงทุกยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน เตรียมสรุปหลักสูตรรูปแบบใหม่กลางเดือนพ.ย.นี้

จากการประชุมการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..2551 ซึ่งมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) และนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  เมื่อเร็วๆนี้นั้น

ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่าที่ประชุมได้หารือเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีการปรับใช้นำร่องมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยที่ประชุมส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีการนำร่องใช้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่1-3 นั้นหลักสูตรดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้เรียนในระดับชั้นอื่นๆได้จริงหรือไม่ ดังนั้นคณะทำงานปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมีข้อสรุปว่าให้นำทั้งหลักสูตรฐานสมรรถนะและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..2551 มากองรวมและเขย่าผสมผสานปรับเนื้อหาการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งจะแบ่งการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงชั้น

สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบใหม่นั้นจะเป็นการปรับหลักสูตรใน 8 กลุ่มสาระวิชาหลักจากหลักสูตรเดิมมาอัพเดทใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น วิชาสังคมศึกษาด้านเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ปีพ..2475-2500 บทเรียนบางช่วงบางตอนขาดหายไป และไม่มีการใส่เนื้อหาในช่วงเวลาเหล่านี้เอาไว้ในบทเรียนจึงทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้การพัฒนาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในแต่ละยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้นหลักสูตรใหม่จะเติมเนื้อหาที่ขาดหายเหล่านี้ใส่ไว้ด้วย รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ก็จะปรับให้เป็นการเรียนพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นผสมผสานกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมถึงหลักสูตรใหม่จะไม่เน้นการท่องจำแต่จะสร้างบทเรียนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น  โดยการปรับเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นจะมีมหาวิทยาลัยมาช่วยออกแบบหลักสูตร

คาดว่าคณะทำงานปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเสนอโฉมใหม่ของหลักสูตรให้รมว.ศธ.พิจารณาได้ช่วงกลางเดือนพ..นี้ เนื่องจากรมว.ศธ.ต้องการให้หลักสูตรใหม่ได้ทันใช้ในปีการศึกษา 2565

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับหลักสูตร สิ่งที่กังวลคือ ครูจะสามารถปรับแผนการเรียนการสอนล้อตามหลักสูตรใหม่ได้หรือไม่ซึ่งก็ฝากสถาบันผลิตครูจะต้องปรับการเรียนของนักศึกษาครูให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรใหม่ด้วย