ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ คำสั่งเรียกของ กมธ.ขัดรัฐธรรมนูญ
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศคำวิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม กรณีคําสั่งเรียกของกมธ.สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ขัดธรน.มาตรา 129
เมื่อวันที่ 26 ต.ค.63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเมื่อวันที่ ๗ เดือน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ว่า พระราชบัญญัติคําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๓ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๙ หรือไม่
ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๑ (๑) ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้อง สรุปได้ดังนี้
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ยื่นหนังสือร้องเรียนขอให้ผู้ร้องเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติคําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๓ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๔ เนื่องจากพระราชบัญญัติ คําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอํานาจ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ กําหนดให้คณะกรรมาธิการ มีอํานาจออกคําสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น ในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๒๔ บัญญัติให้คณะกรรมาธิการมีอํานาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น โดยบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้อํานาจในการออกคําสั่งเรียก เช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๓๕
ผู้ร้องเห็นว่าพระราชบัญญัติคําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๘ เป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมาธิการของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจออกคําสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลง ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และเพื่อให้คําสั่งเรียกดังกล่าวมีผลบังคับตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจึงบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ แห่งกฎหมายดังกล่าวว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
โดยมีวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมาธิการกระทํากิจการ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับข้อเท็จจริง ที่ครบถ้วน แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๙ กําหนดกลไก การดําเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาไว้ โดยบัญญัติให้คณะกรรมาธิการของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และบัญญัติวิธีการบังคับไว้เป็นการเฉพาะซึ่งเป็นมาตรการเชิงบังคับเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ตามที่คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องการ โดยให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัด หรือในกํากับ ให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก เพื่อให้คณะกรรมาธิการ ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภากระทํากิจการสนับสนุนการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นการบัญญัติวิธีการบังคับไว้เป็นการเฉพาะแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๒๔ จึงบัญญัติให้คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอํานาจเรียกเอกสาร หรือบุคคลเท่านั้น มิได้มีอํานาจออกคําสั่งเรียกเอกสารหรือบุคคล ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ ผู้ร้องจึงยื่นคําร้องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๓๒ (๒) ว่า พระราชบัญญัติคําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕ มาตรา ๘ และมาตรา ๑๓ มีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๒๔ หรือไม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: คำวิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีคําสั่งเรียกของกมธ.ขัดธรน.