เงิน ‘คนละครึ่ง’ เข้าร้านค้าผ่าน ‘ถุงเงิน’ วันนี้งวดแรก! พร้อมขั้นตอนเช็คเงิน ที่นี่

เงิน ‘คนละครึ่ง’ เข้าร้านค้าผ่าน ‘ถุงเงิน’ วันนี้งวดแรก! พร้อมขั้นตอนเช็คเงิน ที่นี่

คลังยัน “คนสะครึ่ง” โอนเงินต่อเนื่องไม่เว้นวันหยุดราชการ เงินเข้าผ่านแอพฯ “ถุงเงิน” งวดแรก 5 โมงครึ่ง วันนี้ เช็คเลย

มาตรการคนละครึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยผ่านการลงทะเบียนรับสิทธิใช้เงินผ่านแอพฯ เป๋าตัง ซึ่งกำหนดการใช้จ่ายไม่เกิน 150 บาท ต่อวัน หรือ 3,000 บาทตลอดโครงการ ที่เปิดลงทะเบียนรอบ 2 ไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีผลตอบรับค่อนข้างดี จะรัฐบาลกำลังพิจารณาขยายโครงการในเฟส 2 ต้นปีหน้า

ความเคลื่อนไหวล่าสุดสำหรับมาตรการกระตุ้นเงินเยียวยาเศรษฐกิจนั้น ในส่วนร้านค้าที่รับเงินผ่านแอพฯ ถุงเงิน ทางกระทรวงการคลังได้ดำเนินการจ่ายเงินให้กับร้านค้าแล้ว โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ หรีอเสาร์-อาทิตย์

เรื่องนี้ พรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทางโครงการ จัดทำระบบเพื่อรองรับการโอนเงินในส่วนที่ภาครัฐร่วมจ่ายให้ผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการจากเดิมที่โอนให้ในวันทำการถัดไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

160537480463

โดยเริ่มโอนเงินตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยยอดใช้จ่ายของประชาชนครึ่งหนึ่งที่ใช้จ่ายกับร้านค้า ร้านค้าจะได้รับยอดรวมโอนเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนทุกสิ้นวัน ในช่วง 02.00 น. - 6.00 น. ตามระบบชำระเงินของธนาคาร สำหรับส่วนที่ภาครัฐร่วมจ่ายอีกครึ่งหนึ่ง ร้านค้าจะได้รับในวันถัดไป ในช่วง 17.30 - 19.00 น. โดยไม่เว้นวันหยุด

นั่นหมายความว่า ตั้งแต่วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2563) เป็นต้นไป เวลา 17.30 - 19.00 น. ร้านค้าจะได้เงินจากโครงการคนละครึ่งที่รัฐบาลช่วยออกให้อีกครึ่งหนึ่ง

สำหรับร้านค้าที่ต้องการตรวจสอบรายการรับเงินนั้น สามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังนี้

160537468678

160537470837

160537472522

ด้าน ผศ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าโครงการคนละครึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นออกแบบมาค่อนข้างดี สามารถจูงใจให้เกิดการใช้จ่ายได้จริง ด้วยข้อกำหนดที่ไม่เปิดให้กิจการรายใหญ่เข้าร่วมโครงการยิ่งทำให้เม็ดเงินกระจายลงสู่กิจการรายย่อยได้ ผ่านแอพฯ ถุงเงิน
.
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการจาก มธ. ยังมองว่า ควรเพิ่มเติมหรือให้ความสำคัญกับธุรกิจรายย่อยเช่น การออกมาตรการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวรายย่อยที่มีการพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลัก รวมถึงภาคท่องเที่ยวรายย่อยที่อาจยังไม่สามารถปรับธุรกิจหรือสินค้าของตัวเองให้เข้ากับรสนิยมคนไทยได้

160537487457