ไทยพัฒนา 4 วิธีตรวจโควิด-19

ไทยพัฒนา 4 วิธีตรวจโควิด-19

ช่วงต้นปี 2563 ระยะแรกของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ก่อโรคโควิด-19 ไทยเป็นประเทศแรกที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน แม้ว่าในเวลาดังกล่าวจะมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หรือห้องแล็ปเพียง 2 แห่งที่สามารถตรวจเชื้อนี้ได้

 คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันนี้กรมวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาวิธีการตรวจที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19ได้ถึง 4 แบบนับเป็นฝีมือคนไทย 


      นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย ด้วยเทคนิค Real-time RT PCR ซึ่งเป็นวิธีตรวจมาตรฐาน ที่องค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ พร้อมทั้งดำเนินงานตามนโยบาย “1 แล็ป 1 จังหวัด 100 ห้องปฏิบัติการ” รายงานผลใน 1 วัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาโรค COVID-19 ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองแล้ว 236 แห่งทั่วประเทศครอบคลุมเกือบทุกจังหวัดเหลือเพียง 1 จังหวัดจะพัฒนาให้ตรวจได้ทั้งหมดสามารถรองรับการตรวจได้มากกว่า 20,000 ตัวอย่างต่อวัน แบ่งเป็นศักยภาพการตรวจในกรุงเทพมหานคร 10,000 ตัวอย่างต่อวัน และศักยภาพการตรวจในต่างจังหวัด 10,000 ตัวอย่างต่อวันหรือ 835 ตัวอย่างต่อเขตสุขภาพ ปัจจุบันมีจำนวนตัวอย่างที่ได้รับการตรวจสะสมรวม 1,217,873 ตัวอย่าง

160569612712

       รวมถึง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สยามไบโอไซเอนซ์ ร่วมวิจัยพัฒนาและผลิตชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR สนับสนุนการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อให้รวดเร็วและทั่วถึง สร้างความมั่งคงด้านสุขภาพของประเทศไทย มีแหล่งผลิตชุดน้ำยาภายในประเทศ เพื่อการให้บริการตรวจคนไทย ตลอดจนสนับสนุนการคัดกรองเพื่อกักกันในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการควบคุมและป้องกันโรคภายในประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีชุดน้ำยาตรวจ Real-time RT-PCR สำหรับ COVID-19 รองรับไปตลอด ช่วงระยะเวลาการระบาดของ COVID-19 มีการสำรองชุดน้ำยาตรวจไว้ใช้กว่า 700,000 ตัวอย่าง

    ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ทั้งชนิด IgM ที่บ่งบอกว่าเพิ่งติดเชื้อ และ IgG ที่บ่งบอกว่าติดเชื้อมานานแล้ว เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด19 โดยใช้หลักการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา ด้วยวิธีอิมมูโนโครมาโตกราฟี ชนิดอ่านผลด้วยตาเปล่าจากตัวอย่างซีรัมพลาสมาและเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งชุดตรวจนี้เป็นการตรวจคัดกรองเท่านั้นและจะให้ผลที่มีความแม่นยำในกรณีที่ใช้กับตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อมากว่า 15 วันทั้งนี้การทดสอบและการแปรผลต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์และควรตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสร่วมกับระดับแอนติบอดีเพื่อเพิ่มความไวความจำเพาะและความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคโควิด19
160569614419

      นอกจากนี้ 
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์และอาหาร โดยใช้ชุดน้ำยา DMSc COVID-19 Real-time RT-PCR Kit ซึ่งห้องปฏิบัติการได้ผ่านการเข้าร่วมแผนทดสอบความชำนาญการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับและพร้อมให้บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประมาณเดือนธันวาคม 2563 ในตัวอย่างทุเรียนแช่แข็งและบรรจุภัณฑ์ในราคา 7,000 บาท/ตัวอย่าง  ใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 3 วันทำการ เนื่องจากทุเรียนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างมูลค่าให้กับประเทศไทยอย่างมาก เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคส่วนอาหารทะเลแช่แข็งชนิดอื่นๆ ขณะนี้อยู่ในกระบวนการทดสอบความใช้ได้ของวิธีซึ่งจะเปิดให้บริการในลำดับต่อไป