แนะครูใหญ่ เปิดพื้นที่โรงเรียน รับฟังเสียงเด็กรุ่นใหม่
การเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้จำกัดเฉพาะในห้องเรียนอีกต่อไป พวกเขาสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีความหลากหลาย
ในงาน มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่13 (EDUCA 2020)" ภายใต้แนวคิดGrow Our Teacher Inspiring Our Future ออนไลน์ เวิร์คชอปและการประชุมนานาชาติ วันที่ 25-26 พ.ย.2563 จัดโดย บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่13 ร่วมกับพันธมิตร
"โลกหมุนไป ครูใหญ่หมุนตาม: ประสานพลังคนรุ่นใหม่ สร้างความเปลี่ยนแปลง”(A Year of the Young, A Challenge Chapter of Principal)" อีกหนึ่งฟอรั่มที่จะเปิดโอกาสให้ครูใหญ่ทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของครูใหญ่อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครู และเด็ก
รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ ประธานกลุ่มผู้อำนวยการผู้นำและผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา กล่าวว่าการทำงาน การพัฒนาโรงเรียนที่ดีต้องเกิดจากตัวของผู้บริหาร หรือครูใหญ่ ซึ่งตนเองได้รับโอกาสไปศึกษาดูงานจากต่างประเทศพบว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในโรงเรียน คือ ผู้อำนวยการ ยิ่งถ้าทำงานแบบเชิงลึกจะนำพาโรงเรียนไปรอด
เมื่อโลกการเรียนรู้ของเด็กเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้ครูใหญ่เปลี่ยน โดยเป็นการระเบิดมาจากตัวครูใหญ่เองที่ต้องการนำพาครู และเด็กไปสู่เป้าหมายโดยไม่ทิ้งใคร และมองที่เด็กเป็นหลัก ตอนนี้เป็นความท้าทายของครูใหญ่ทั่วประเทศ ที่จะทำให้โรงเรียนเป็นที่ปลอดภัย แหล่งเรียนรู้ ที่เปิดให้เด็กได้แสดงออก รับฟังเสียงของพวกเขาและทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเด็กต้องเป็นผู้นำพาอนาคตของตัวเอง
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า เมื่อก่อนการใช้ชีวิตของผู้คนเริ่มจากการเรียนรู้ในโรงเรียน ในห้องเรียน ทำงาน และเกษียณอายุ แต่โลกวันนี้ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้น ครูใหญ่ ครูเข้าใจบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะโจทย์ที่ในการสร้างเด็กเปลี่ยนแปลงไปขณะเดียวกันการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในโรงเรียน เด็กเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ จะทำอย่างไรให้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกห้องเรียนเกิดขึ้นในเด็กให้ได้ โรงเรียนจึงต้องให้หลักในการสร้างความพร้อมให้เด็กออกไปท่องโลกที่มีความหลากหลายในแพลตฟอร์มที่แตกต่างออกไปได้อย่างไร
"ครูใหญ่ โรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ในโรงเรียน และนอกห้องเรียนให้พวกเขาได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากมาย ต้องมองลักษณะองค์รวม โดยยึดเด็กเป็นตัวตั้ง ครูและครูใหญ่ต้องคอยถาม แนะนำทำให้เด็กเป็นผู้กำหนดอนาคตตัวเองบทบาท ออกแบบชีวิตตัวเอง ว่าควรเป็นอย่างไร ครอบครัวที่ดีของเขาในอนาคตเป็นอย่างไร โรงเรียน และชุมชนที่น่าอยู่ของพวกเขาเป็นอย่างไร มองที่ศักยภาพของเด็ก และมีเวทีให้เขาคิด เขาทำ เพราะฉะนั้น จิ๊กซอร์ตัวสำคัญ คือ ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถ ให้พวกเขาได้ปลดปล่อย ให้ได้เรียนรู้โลกกว้าง"ดร.สุวิทย์ กล่าว
โดยมีครูใหญ่ ครูเป็นผู้แนะนำ ให้พวกเขาได้เรียนรู้สู่การปฎิบัติจริง ปลดล็อกหลักสูตร และต้องรับฟังเสียงเด็ก แปลงสิ่งที่เด็กคิด เด็กฝัน มาเป็นนโยบายสาธารณะ ต้องมีแพลตฟอร์มให้เด็กกับเด็ก เด็กกับผู้ใหญ่ แลกเปลี่ยนทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน รวมถึง การเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ต้องเพิ่มทักษะ สร้างอาชีพให้แก่เด็กตั้งแต่ในโรงเรียน ไม่ต้องรอจบมหาวิทยาลัย
ควรมีแพลตฟอร์มเรียนรู้ร่วมกัน โดยให้เยาวชนเป็นศูนย์กลาง เป็นการนำองค์ความรู้ดี มาร่วมกันสร้างหลักสตรในสิ่งที่เยาวชนควรจะรู้ รวมถึงเป็นการแพลตฟอร์มเรียนรุ้ร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่แลเด็ก เยาวชนมีศักยภาพมากและพลัง เราควรจะมาช่วยผลักดันเยาวชนไทยให้ไปสู่ความฝัน หรือควาเมป็นไปได้ที่เขาคาดหวัง อนาคตของชาติต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้
นายภูริทัต ชัยวัฒนกุล ครูใหญ่ฝ่ายมัธยม โรงเรียนเพลินพัฒนา กล่าวว่า โรงเรียนเป็นพื้นที่สำคัญให้เด็กเติบโตทางความคิดและอื่นๆในโรงเรียน ต้องทำให้เด็กได้เปิดศักยภาพ และมีความปลอดภัย ฉะนั้น ครูใหญ่ หรือผู้บริหารโรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ และรับฟังเสียงเด็ก โรงเรียนต้องให้เกียรติความเป็นคุณค่าของมนุษย์ อยากให้ผู้บริหารโรงเรียนทบทวน ถ้าผู้ใหญ่ฟังครู การรับฟังเด็กจะทำให้ความรุนแรงในโรงเรียนไม่เกิดขึ้น นักเรียนยุคใหม่ มีศักยภาพและมีทางออกที่ดีกับทุกฝ่าย หน้าที่ครูใหญ่มีหน้าที่ตั้งคำถาม ให้นักเรียนทบวนว่าสิ่งที่เขาคิดว่า ครบถ้วนหรือไม่
โรงเรียนต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้เด็กเกิดศักยภาพสูงสุดของนักเรียน ครูหรือครูใหญ่ต้องลดความรุนแรง หรือการรังแก บลูลี่ในเด็ก เพื่อความสุขของเด็กในโรงเรียนมากที่สุด ทั้งนี้ ครูใหญ่ ครู ผู้ปกครองต้องเข้าใจเรื่องความรุนแรงในทิศทางเดียวกัน เพราะขณะนี้ ความรุนแรง การกลั่นแกล้งถูกมองแตกต่างกัน โรงเรียนต้องทำให้เด็กกล้าพูดและครูอย่าไปบล็อคความคิดเด็ก
นายวสันต์ ปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองกระบี่ กล่าวว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำอำเภอเมือง แต่ที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากผู้ปกครองในระดับท้ายๆ เพราะที่ผ่านมา มีข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง ดังนั้น เป็นความท้าทายของผู้บริหารที่ต้องรับความเท็จจริงที่เกิดขึ้น และทำให้โรงเรียนเป็นสังคมจำลอง เราจะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างในห้องเรียนและในชุมชน โดยโรงเรียนเสริมสร้างวินัยเชิงบวก เน้นคุณลักษณะพลโลกและสิ่งแวดล้อม ต้องเปลี่ยนเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และต้องมองนโยบายกระทรวง และสังคมโลกด้วย บทบาทของหน้าที่ครูใหญ่ต้องรับฟังความคิดของเด็ก เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความรู้ ความสามารถ สิ่งที่พวกเขาอยากทำ และต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย
"โรงเรียนต้องเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะของการเรียนรู้ และการเสริมสร้างหลักประชาธิปไตย ให้ทุกคนมีสิทธิมีเสียง เด็กทุกคนในโรงเรียนเป็นคนเก่ง แต่เก่งคนละด้าน โรงเรียนจะส่งเสริมให้เด็กเก่งได้อย่างไร และการพัฒนาโรงเรียนต้องเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน รับฟังทุกเสียงในโรงเรียน และเชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก"นายวสันต์ กล่าว
วันนี้ มีสิ่งดีๆ อยู่แล้ว แต่จะนำสิ่งดีๆมารวมกันเป็น"แพลตฟอร์ม" เป็นนิเวศวิทยาการเรียนรู้แบบใหม่ โดยต้องมีการเรียนรู้ร่วมกัน และต้องมี Master teacher แพลตฟอร์มครูและผู้อำนวยการ มานั่งทำงานร่วมกัน มาช่วยกันคิด ว่าจะออกแบบการเรียนรู้อย่างไร ทำงานร่วมกับเด็ก และให้เด็กคิดเอง ทำเอง
น.ส.เอริกา เมษินทรีย์ ผู้ก่อตั้ง Youth in charge กล่าวว่าปี2563 เป็นปีที่ท้าทาย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย และหลายๆ การเปลี่ยนแปลง ถูกขับเคลื่อน โดยพลังของเยาวชน และปีนี้ก็ถูกเรียกว่า เยาวชนคืออนาคตของชาติ ซึ่งเยาวชนได้โชว์ว่าตัวเองมีความพร้อม ความต้องการ ความสนใจ และพร้อมขับเคลื่อนการสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพูดถึงการพัฒนาเยาวชน มองว่าเป็นเรื่องของภาครัฐ เยาวชนไม่ได้ถูกเข้ามมีส่วนร่วม เราจึงได้สร้างแพลตฟอร์มให้เยาวชน เป็นเวทีให้เยาวชนได้แสดงความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนต่อชีวิต อนาคตและความเป็นอยู่ของเขาในด้านต่างๆ เอาสิ่งที่นำเสนอไปสานต่อ และทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
บริบทของโรงเรียน ต้องเข้าใจว่าเยาวชนตอนนี้แตกต่างไปจากเยาวชนสมัยก่อน ตอนนี้เยาวชนคนหนึ่ง มีความรู้ ความสนใจที่หลากหลายมากเพราะสังคม เพื่อนของเขาไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่ในห้องเรียน แต่สามารถเป็นคนที่ไม่เจอหน้าแต่มีความสนใจ มีความสามารถ เป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง พวกเขามีความตื่นตัวในหลายเรื่อง
"เมื่อเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ต้องรับฟังพวกเขา อยากให้เยาวชน เป็นผู้นำในการกำหนดอนาคต แต่มีผู้ใหญ่ที่มากด้วยประสบการณ์คอยสนับสนุน สานฝัน ทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม แพลตฟอร์มนี้จึงมีความจำเป็นทำให้ทุกช่วงวัยก้าวไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์ เมื่อก่อนผู้ใหญ่ ครูหรือผู้อำนวยการเป็นเรือจ้าง แต่ตอนนี้เด็กว่ายน้ำเป็น หรือมีเครื่องมือต่างๆ มากมาย ดังนั้น บทบาทของครูใหญ่ ถ้าไม่เปลี่ยนอาจจะเป็นข้อจำกัดในการปลดปล่อยเด็กควร เปิดโอกาสให้เด็กที่หลากหลาย ทั้งทางเพศ ทางสังคม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน มุมมองต่ออนาคต และวาระที่สำคัญต่อชีวิต และอนาคตของพวกเขา"น.ส.เอริกา กล่าว