ส่องอนาคต “โกลบอล เพาเวอร์” เดินหน้าพอร์ตธุรกิจใหม่ปี 64
เปิดศักราชใหม่ 2564 ตลาดหุ้นไทยเจอกับความไม่แน่นอนจากปัจจัยใหญ่ระดับโลก “โควิด 19 “ รอบใหม่ที่แพร่กระจายการติดเชื้ออย่างรวดเร็วและระบาดมากกว่ารอบแรก ช่วงปี 2563 จนทำให้ตลาดหุ้นไทยรับข่าววิตกความเป็นไปได้ที่จะล็อกดาวน์ทั้งประเทศ
ดังนั้นการลงทุนในหุ้นรอบนี้จึงเห็นหุ้นวัฎจักรทางเศรษฐกิจปรับตัวลดลงก่อนใครเพื่อน สวนทางกับหุ้นที่ผลิตหรือให้บริการเกี่ยวกับสุขอนามัยปรับตัวขึ้นมาแทน รวมทั้งหุ้นโรงไฟฟ้าที่ห่างหายจากหุ้นท๊อปเทนไปนาน
ด้วยรายได้ที่สม่ำเสมอจากการขายไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อภาพครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม จึงทำให้การเคลอื่นไหวของราคาหุ้นกลับมาอยู่กับความสนใจของนักลงทุนอีกครั้ง และที่น่าจับตาปี 2564 กับการขับเคลื่อนไปยังอุตสาหกรรมอนาคตของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนหนึ่งเดียวของกลุ่มปตท.
รอบปีที่ผ่านมา GPSC หลังรวมธุรกิจโรงไฟฟ้าของ โกลว์ เข้ามาแล้ว ทำให้สิ้นปีมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมเป็น 4,816 เมกะวัตต์ และวางเป้าหมายในปี2567จะสร้างกระแสเงินสดจากรายได้( Recuring EBITDA) 1,600ล้านบาทต่อปี หลัง 9 เดือนแรก 2563 รับรู้กระแสเงินสดเข้ามา 466 ล้านบาท ส่งผลทำให้ราคาหุ้นตลอดทั้งปี 2563 ปรับตัวขึ้นมาเช่นกัน
ราคาตอบรับตั้งแต่ต้นปีหลังจบดีลอยู่ที่ 85.75 บาท แต่หลังจากช่วงล็อกดาวน์มี.ค. 2563 ภาคธุรกิจปิดดำเนินกิจการ ราคาหุ้นปรับตัวลงไปลึก 50.25 บาท ลดลง 41.39 % แต่หลังจากมีการปลดล็อกดาวน์และภาคธุรกิจกลับมาดำเนินธุรกิจปกติราคาปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง มาปิดท้ายปีเกือบ 73.75 บาท ซึ่งเปิดทำการปี 2564 ราคาหุ้นปรับตัวบวกต่อมาอยู่ที่ 79 บาท
การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมีปัจจัยบวกที่น่าสนใจเข้ามาเพิ่มกับแผนงานการปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจอนาคต จากการที่บริษัทย่อยเข้าลงทุน 90 % ใน Sheng Yang Energy Co., Ltd. มีมูลค่าการซื้อขายรวมท้ังสิ้นประมาณ 2,521 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ หรือเทียบเท่า 2,748ล้านบาท ซึ่ง ประกอบกิจการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลงังานแสงอาทิตย์ในไต้หวัน มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 55.8 เมกะวัตต์ โดยเป็ นโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้ว 54.4 เมกะวัตต์และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1.4 เมกะวัตต์
นอกจากนี้มีการก่อสร้าง โรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน (Energy Storage Unit)ด้วยเทคโนโลยี Semi-solid ตั้งแต่ก.พ.2563 ที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวมีประมาณ 1,100 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยอง จะมีกำลังการผลิตในระยะแรกอยู่ที่ 30 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งคาดว่าโรงงานจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการผลิต(Start of Regular Production) ภายใน ไตรมาส 2 ปี 2564
โดยในช่วงแรกโรงงานจะผลิตแบตเตอรี่ ทั้งในส่วน Mobility และ Stationary ป้อนให้กับ โรงงานอุตสาหกรรม สถานีอัดประจุธุรกิจขนส่ง เช่น รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า และการประยุกต์ใช้งาน
รวมทั้งยังมองหาการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนในไทย เมียนมา เวียดนาม เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ในธุรกิจนี้เป็น 30% จากปัจจุบัน 11 % จึงทำให้มีการลดการถือลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีอายุมาก ซึ่งได้เริ่มมีการขายหุ้น 50 % บริษัทย่อย บริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด ให้แก่บริษัทย่อยของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่าประมาณ 693 ล้านบาทไปแล้วปี 2563
เมื่อดูในมุมมองการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โอกาสใหม่ในไต้หวัน GPSC มองบวกต่อแนวโน้มธุรกิจโรงไฟฟ้าในไต้หวันจากนโยบายของภาครัฐที่จะเพิ่ม สัดส่วนธุรกิจพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้น, ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อคนที่สูง, Tariff ที่ดี(เพื่อชดเชย Capacity factor ที่ไม่สูง), และการมีผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียวซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นโดยรัฐบาลและมีฐานะการเงินมั่นคง
โรงงานแบตเตอรี่จะผลิตเสร็จทันสิ้นปีนี้ก่อนจะขยายกำลังการผลิตให้ใหญ่ขึ้นและขยาย ฐานลูกค้าให้หลากหลายทั้งรูปแบบการใช้งานในประเทศและต่างประเทศ