“Black Box" สื่อเรียนรู้ช่วยเด็กไม่มีอินเทอร์เน็ต รับมือโควิด-19

 “Black Box" สื่อเรียนรู้ช่วยเด็กไม่มีอินเทอร์เน็ต รับมือโควิด-19

กสศ. เปิดสถานการณ์ COVID Slide หวั่นกระทบพัฒนาการเรียนรู้และสุขภาวะเด็กไทยในระยะยาว แนะรับมือ 3 เดือนสุดท้ายปีการศึกษา 63 ประเมินนักเรียนรายคน เสริมพัฒนาการเรียนรู้ถดถอย พร้อมเปิดตัว “Black Box" ช่วยเด็กไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้มีการจัดงานแถลงข่าว COVID Slide ผลกระทบการเรียนรู้ของเด็กไทย กับแนวทางการจัดการปิดโรงเรียน แต่ไม่ปิดกั้นการเรียนรู้โดย ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษาสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวถึงผลการศึกษาปรากฎการณ์COVID Slide ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้หลายโรงเรียนต้องปิดลงในหลายประเทศเรียกว่า “Summer Slide” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และจากสถานการณ์ระบาดที่ต่อเนื่องยาวนานจึงเกิดปรากฏการณ์COVID Slide ที่นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนเป็นระยะเวลายาวนานทำให้สภาวะการเรียนรู้ถดถอย งานวิจัยจากสถาบัน NWEA พบว่า นักเรียนในสหรัฐอเมริกาที่ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานทำให้ความรู้วิชาคณิตศาสตร์หายไปถึง50% และความรู้ด้านการอ่านลดลง 30%

แม้แต่ในกลุ่มนักเรียนเศรษฐานะดี การอยู่หน้าจอเป็นเวลานานส่งผลต่อสุขภาพจิต พัฒนาการด้านสังคมอารมณ์ สอดคล้องกับงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการด้านระบบการสอนของสถาบัน MIT  พบว่าการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีทางการศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถชดเชยผลกระทบที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น ความรู้ที่ถดถอย ขาดประสบการณ์เข้าสังคม การได้รับอาหารที่มีโภชนาการ บริการทางสังคมต่างๆ หรือการเรียนที่เหมาะสมกับช่วงวัย

161096227169

ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวว่า ประเทศไทยจะยังไม่มีผลการศึกษาติดตามผลกระทบจาก COVID Slide ออกมา แต่จากแนวโน้มที่มีผลการศึกษาในระดับนานาชาติข้างต้นก็พอจะคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ1) ปัญหาการหลุดออกจากระบบการศึกษา 2) ภาวะถดถอยของพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสุขภาวะของเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา โดยเฉพาะกับเด็กยากจนด้อยโอกาส เด็กในพื้นที่ห่างไกล เด็กพิการ เด็กที่ต้องการการศึกษาแบบพิเศษ ซึ่งจะขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเมืองและชนบทจะยิ่งกว้างขึ้นมากกว่า 2 ปีการศึกษา ในระยะยาวอาจส่งผลต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทำให้วงจรความยากจนข้ามชั่วคนยังคงเกิดขึ้นไปสู่คนรุ่นต่อไป

ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  กล่าวว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยก่อน COVID-19 พบว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มดีขึ้น จากสัดส่วนน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง อัตราขาดเรียนลดลง ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยเฉพาะครูที่ร่วมกันค้นหาตัวเด็กพร้อมกับมีระบบสารสนเทศช่วยสนับสนุนการคัดกรอง

 อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องปิดลง ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่1 และ2 คิดเป็น40% ของปีการศึกษาที่นักเรียนต้องเรียนจากบ้าน โดยพบว่ามีเด็กยากจนยากจนพิเศษในพื้นที่การระบาดสีแดงและสีแดงเข้มใน 28 จังหวัด มีจำนวน143,507 ราย ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งต้องออกไปทำงานหารายได้ บางแห่งมีข้อจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี แม้ว่าต้นเดือนมกราคม กสศ.จะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ตชด. อปท. ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาค เพื่อป้องกันนักเรียนยากจนพิเศษ 900,000 คน ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา

161096234529

"สิ่งน่ากังวลคือความเสี่ยงเด็กจะมีพัฒนาการเรียนรู้และสุขภาวะถดถอย จึงต้องใช้ 3 เดือนสุดท้ายของปีการศึกษาหาเด็กเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID Slide ให้พบ มาตรการที่ควรตั้งรับคือ 1) เมื่อเปิดการสอนในวันที่ 1 .. ครูควรตรวจพัฒนาการของร่างกายและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลว่าถดถอยลงหรือไม่ 2) การจัดการสอนเสริม หรือ After school programme สำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนรู้ถอดถอยก่อนการเลื่อนชั้น 3) การเฝ้าระวังรอยต่อการศึกษาในทุกช่วงชั้น ตั้งแต่ .1 .1 .4/ปวช. โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเยาวชนยากจนในพื้นที่ไม่มีโรงเรียนรองรับวิกฤตนี้สามารถพลิกเป็นโอกาสปฏิรูประบบการศึกษาดร.ไกรยส กล่าว

.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ  ที่ปรึกษา กสศ. กล่าวว่า  มีนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ประมาณ3,000-5,000 คนในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่อาจจะหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้น ซึ่งหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เข้ามาเยียวยาวิกฤตจะทำให้ระบบการเรียนรู้มีการบูรณาการ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่โรงเรียน ชุมชนที่จะนำไปสู่การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ

รศ.ดร. ธันยวิช วิเชียรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี  กล่าวว่า กสศ.ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี พัฒนา Black Box สื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดำเนินต่อไปได้ในช่วงเวลาที่โรงเรียนบางแห่งต้องปิดลงชั่วคราว ชุดการเรียนรู้ในกล่องดำออกแบบเป็นบทเรียนออฟไลน์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก จุดเด่นของกล่องดำจึงอยู่ที่บทเรียนที่เด็กสามารถเลือกเวลาเรียนเองได้ เลือกเรียนตามความสนใจโดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ โดยชุดบทเรียนได้บูรณาการจากหมวดวิชาต่าง ที่จำเป็นสำหรับชีวิต เชื่อมโยงความสนใจจากเรื่องราวรอบตัว ตั้งแต่ตัวเอง ครอบครัว ไปจนถึงพื้นที่ชุมชนที่อาศัย ภายใต้ 4 หมวดวิชาที่ครอบคลุมพื้นฐานการเรียนรู้สำคัญ ได้แก่ นวัตกรรมและเทคโนโลยี สังคมและมนุษยชน วิทยาการวิจัย และสัมมาชีพศึกษา

161096237966

นางอรอุมา  แจ่มเจ็ดริ้ว  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอ้อมโรงหีบ .สมุทรสาคร  กล่าวว่า จากที่ครูในโรงเรียนทำการสำรวจผู้ปกครองถึงแนวทางการเรียนรู้ของบุตรหลาน พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่สะดวกให้ครูนำการเรียนรู้ผ่านใบงานมากที่สุด ผู้ปกครองหลายคนไม่สะดวกที่จะให้บุตรหลานเรียนผ่านออนไลน์ เพราะไม่ชำนาญเรื่องการใช้ระบบขาดแคลนอุปกรณ์ มีบุตรหลายคนไม่สามารถเรียนพร้อมกันได้ ข้อจำกัดของโรงเรียนในเวลานี้คือสื่อการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องการมากที่สุด เพราะโรงเรียนต้องปรับการสอนและใช้ทรัพยากรมากในเรื่องของการพิมพ์เอกสารใบงานประกอบการเรียน เนื่องจากหลายครอบครัวไม่สะดวกและไม่พร้อมที่จะใช้เทคโนโลยี

ทั้งนี้ จะมีการส่งมอบกล่องการเรียนรู้ หรือ Black Box สื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ให้กับเด็กเยาวชนในระบบการศึกษาที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการเรียนรู้ ในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี อยุธยา เพชรบุรี และกาญจนบุรี และถุงยังชีพสู้วิกฤตให้น้องอิ่มจำนวน 15,000 ถุง ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและอุปกรณ์ป้องกันในสถานการณ์โควิดในระยะเวลา 15 วัน เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช ปลากระป๋อง แอลกอฮอล์หน้ากากผ้า สำหรับเด็กเยาวชนขาดโอกาสที่อยู่นอกระบบการศึกษา 28 จังหวัด