KTB ชี้โควิด-19 รอบใหม่ ฉุดท่องเที่ยวในปท.สูญกว่า 1.1 แสนล้าน

KTB ชี้โควิด-19 รอบใหม่ ฉุดท่องเที่ยวในปท.สูญกว่า 1.1 แสนล้าน

Krungthai COMPASS การระบาดโควิด-19 ฉุดการท่องเที่ยวในประเทศสูญเสีย 1.1 แสนล้านบาท จากตัวเลขนักท่องเที่ยวในประเทศที่จะหดตัว 22 ล้านคน

       161102808232 161102810839 ล่าสุด ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มีการทำบทวิจัย เกี่ยวกับ ผลกระทบโควิด-19 รอบใหม่ กระทบต่อการท่องเที่ยว โดยผู้ทำบทวิจัย กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ ,ชญานิน ถาวรลัญฉ์ และจารุวรรณ เหล่าสัมฤทธิ์

      ระบุว่า ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐที่เข้มข้นของภาครัฐ ทำให้มีความกังวลถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศ บทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่ต่อการท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมวิเคราะห์ว่าหากสถานการณ์การระบาดดีขึ้น

     สถานการณ์การระบาดและการควบคุมของภาครัฐในเดือนมกราคม 2021 รุนแรงและเข้มข้นกว่าของปี 2020 หรือไม่?

      การระบาดรอบใหม่ทำให้ในเดือนมกราคม 2021 มีจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ยถึงวันละ 348 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้ติดเชื้อใหม่ในช่วงเดือนเมษายนปี 2020 ที่มีน้อยกว่า 45 รายต่อวันโดยเฉลี่ย ซึ่งการระบาดของโรคที่รุนแรงขึ้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ผู้คนเกิดความกังวลและลดการเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ที่ผู้คนพลุกพล่าน

       นอกจากนี้ ความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบเชิงลบต่อการท่องเที่ยว เช่น การห้ามเดินทางระหว่างจังหวัด มาตรการเคอร์ฟิว การห้ามรับประทานอาหารในร้าน เป็นต้น

     ดังนั้น เราประเมินว่าสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาครัฐให้ผู้เดินทางจาก 28 จังหวัดซึ่งหลายจังหวัดเป็นจังหวัดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ต้องกักตัว ที่พักอาศัย มีความเข้มงวดน้อยกว่ามาตรการช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2020 ที่มีทั้งการสั่งปิดโรงแรม มาตรการเคอร์ฟิว ห้ามเดินทางเข้าออก 14 จังหวัด แต่ก็มีความเข้มงวดกว่ามาตรการในช่วงเดือนมิถุนายน 2020 ผู้เดินทางจาก 8 จังหวัดต้องกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้

        เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคผ่านดัชนีความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรค หรือGovernment Stringency Index ก็จะเห็นได้ว่าดัชนีในเดือนมกราคม 2021 อยู่ที่ 64 มีค่ามากกว่าเดือนมิถุนายน 2020 ที่มีค่าอยู่ที่ 52-63 แต่ก็ยังน้อยกว่าช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2020 ที่มีค่าในช่วง 68-76

161102817929     แล้วกิจกรรมท่องเที่ยวหดตัวไปมากขนาดไหนหลังการระบาดรอบใหม่?

    จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และแนวทางการป้องกันของภาครัฐ ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเลื่อนตลอดจนยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเดือนมกราคมออกไปก่อน ดัชนีการขอเส้นทางจาก Apple Map แสดงให้เห็นว่า ภายหลังจากวันหยุดยาวในช่วงปีใหม่ การขอเส้นทางจาก Apple Map ในช่วงวันที่ 1-8 .. 2021 หดตัวอย่างรุนแรงคล้ายคลึงกับช่วงที่มีการล๊อกดาวน์ในช่วงเดือนเมษายน 2020 แต่ไม่รุนแรงเท่า

      สำหรับการเดินทางทางอากาศก็มีการหดตัวเช่นเดียวกัน โดยเมื่อพิจารณาความต่างระหว่างจำนวนเที่ยวบินที่จะต้องบินตามตาราง กับจำนวนเที่ยวบินที่ทำการบินจริง จะเห็นจำนวนเที่ยวบินที่บินจริงอยู่ต่ำกว่าจำนวนเที่ยวบินตามตารางอย่างมากตั้งแต่มีการระบาดระลอกใหม่ โดยในวันที่ 9 มกราคม 2021 จำนวนเที่ยวบินที่บินจริงน้อยกว่าที่วางแผนไว้ถึง 50%

       ทั้งนี้ ผู้ประกอบการโรงแรมหลายรายได้ให้สัมภาษณ์ถึงตัวเลขอัตราการเข้าพักแรม (OR) และการจองโรงแรมที่ลดลงอย่างหนักในเดือนมกราคม 2021 หลังจากที่เพิ่งฟื้นตัวจากการล๊อกดาวน์ในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคมปีที่แล้วที่ค่า OR ค่อยๆฟื้นตัวจาก 5% มาแตะระดับ 34.8% ในเดือนพฤศจิกายน 2020

      อย่างไรก็ดี การระบาดครั้งใหม่ทำให้ค่า OR ในจังหวัดท่องเที่ยวหลายจังหวัดกลับมาอยู่ในระดับน้อยกว่า 10% ใกล้เคียงกับช่วงล๊อกดาวน์ในปีที่แล้ว ซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าพอคลายมาตรการควบคุมต่างๆ แล้วผู้คนจะกลับมาท่องเที่ยวเหมือนเดิมโดยเร็ว

      พอมาตรการควบคุมต่างๆ ผ่อนคลายลง การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ทันทีหรือไม่?

     ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวหลังจากการคลายล๊อกดาวน์ในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าผลกระทบของการระบาดและมาตรการควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นเพียงช่วงที่มีการระบาดและการบังคับใช้มาตรการเท่านั้น แต่กว่าที่จำนวน นักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวกลับมาได้นั้นต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน

       สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวในประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัวจากเดือนละไม่ถึง 1 ล้านคนในช่วงล๊อกดาวน์ ขึ้นมาแตะระดับ 4.4 ล้านคน และ 10 ล้านคนเมื่อมาตรการเริ่มผ่อนคลายในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม และแม้ไม่มีมาตรการที่ควบคุมแล้วก็ตาม

       แต่ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2020 จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศที่ระดับ 11-13 ล้านคนก็ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 30-35%

       โดย จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่งกลับมาสูงที่ระดับ 16 ล้านคนในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (-20%YoY) หรือใช้เวลาถึง 3-4 เดือนหลังมาตรการต่างๆ ถูกผ่อนคลายแล้ว

      แล้วการระบาดในรอบนี้ กระทบการท่องเที่ยวเป็นมูลค่าเท่าใด?

      หากมาตรการควบคุมการระบาดยังคงมีความเข้มข้นในระดับปัจจุบันจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 คาดว่าจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงสองเดือนแรก ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวหลังผ่อนคลายมาตรการ และกลับมาอยู่ในระดับที่ไม่มีการระบาดรุนแรงในช่วงเดือนพฤษภาคม

        ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศทั้งปี 2021 ลดลงจากที่เคยประมาณไว้จากข้อสมมุติที่ไม่มีการระบาดรุนแรงที่ 131.8 ล้านคน มาอยู่ที่ 109.6 ล้านคน (ฟื้นตัวจากปี 20 ที่มีเพียง 91 ล้านคน) คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียต่อภาคท่องเที่ยวประมาณ 1.1 แสนล้านบาท         

        อย่างไรก็ดี หากมีการบังคับใช้มาตรการควบคุม 3 เดือนจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าเดิม นักท่องเที่ยวในประเทศจะเหลือเพียง 100.8 ล้านคน คิดเป็นมูลค่า ความสูญเสียต่อการท่องเที่ยวกว่า 1.5 แสนล้านบาท แม้ในภาพรวมการท่องเที่ยวจะต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนในการฟื้นตัว แต่เราประเมินว่าการท่องเที่ยวในบางจังหวัดจะฟื้นตัวได้ก่อน

161102830389     วิเคราะห์การท่องเที่ยวจังหวัดไหนจะฟื้นตัวได้ก่อน?

     ในช่วงที่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าไทยได้ จังหวัดที่มีรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวได้ยากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ เราประเมินว่าการท่องเที่ยวด้วยการเดินทางด้วยเครื่องบินมีโอกาสที่จะฟื้นตัวช้ากว่าการเดินทางด้วยรถยนต์

      เนื่องจาก 1) นักท่องเที่ยวบางส่วนอาจยังกังวลกับความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการเดินทางด้วยเครื่องบินอยู่ แม้สถานการณ์การ ระบาดจะเริ่มดีขึ้นแล้วก็ตาม

        2) ในช่วงที่ความต้องการเดินทางด้วยเครื่องบินยัง ไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อาจทำให้จำนวนเที่ยวบินไม่มากเท่าเดิม หรือราคาตั๋วเครื่องบินมีราคาสูง ซึ่งล้วนกดดันการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในจังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปด้วยเครื่องบิน

       จากข้อสมมติข้างต้น เราจึงวิเคราะห์ว่า จังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญของ ไทยที่จะฟื้นตัวก่อน คือจังหวัดที่มีรายได้หลักจากนักท่องเที่ยวไทย และนักท่องเที่ยวมักเดินทางไปด้วยรถยนต์ อย่างเช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี กาญจนบุรีนครราชสีมา

      ทส่วนจังหวัดที่แม้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเดินทางด้วยเครื่องบิน แต่พึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สูงนัก(ในที่นี้คือน้อยกว่า 50%) มีโอกาสที่จะฟื้นตัวตามมา ในขณะที่จังหวัดที่ฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้าคือ จังหวัดที่รายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างชลบุรี ส่วนกลุ่มที่ฟื้นตัวได้ช้าที่สุดคือกลุ่มที่พึ่งพิงรายได้จากต่างชาติเป็นหลัก และนักท่องเที่ยวจำนวน มากต้องเดินทางไปด้วยเครื่องบิน อย่างเช่นจังหวัดกรุงเทพฯ กระบี่ ภูเก็ต เป็นต้น  

  บทส่งท้าย

     แม้การท่องเที่ยวในประเทศน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาส 2 อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของไทยโดยรวมจะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หากเรายังไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้

      โดยคาดว่าไทยน่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ เมื่อคนไทยบางส่วนได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว ซึ่งคนกลุ่มแรกที่น่าจะได้รับวัคซีนก่อนคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในติดเชื้อหรือเสียชีวิต เช่น บุคลากรทางการแพทย์แถวหน้า ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เป็นต้น

     โจทย์ที่สำคัญถัดไปคือใครควรเป็นผู้ได้รับวัคซีนลำดับถัดไป หากต้องการให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว

    ในประเด็นนี้ ศาสตราจารย์ Alvin Roth นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าวว่า คงเป็นการดีหากการฉีดวัคซีนไม่เป็นเพียงแต่การช่วยคนที่ได้รับวัคซีนเท่านั้น แต่ก่อนให้เกิด Multiplier Effect ที่เยอะที่สุดที่สามารถเป็นไปได้

     กล่าวคือเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นในสังคมมากที่สุด อย่างเช่น หากผู้ที่มีโอกาสเป็น Super Spreader อย่างเช่นผู้ส่งสินค้าได้รับวัคซีนก่อน ก็จะช่วยลดโอกาสการกระจายของเชื้อสู่คนจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นต้นทุนมหาศาลทางเศรษฐกิจ

     ในกรณีของไทย นอกจากการฉีดให้กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง และผู้มีโอกาสเป็น Super Spreader แล้ว หากเราต้องการให้เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็วผ่านการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง การพิจารณาฉีดวัคซีนให้เจ้าหน้าที่และแรงงานที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวเป็นลำดับต้นๆ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าพิจารณา