ผลสำรวจธุรกิจญี่ปุ่น คาดเศรษฐกิจฟื้นครึ่งหลังปี 64
หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCCB) ได้ทำการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง มา เป็นเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 โดยการสำรวจนี้ ถือเป็นการสำรวจเดียวที่สะท้อนสภาพธุรกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศ
การสำรวจนี้ ถือเป็นการสำรวจเดียวที่สะท้อนสภาพธุรกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศ ไทยอย่างครอบคลุมทั้งนี้การสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่16 พ.ย. -18 ธ.ค. พ.ศ. 2563มีการจัดส่งแบบสำรวจไปยังบริษัทที่เป็นสมาชิก JCCB จำนวน 1,702ราย โดยมีบริษัทที่ตอบกลับ 607ราย คิดเป็น 35.7% ซึ่งปีนี้ เป็นการเผยแพร่ผลสำรวจด้วยวิธีส่งเอกสารทางอีเมลล์ เปลี่ยนจากปกติที่จะเป็นการแถลงข่าว
ผลสำรวจถึงประมาณการฟื้นตัวของกิจกรรมทางธุรกิจกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า บริษัทผู้ตอบแบบสำรวจที่คาดว่ากิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ.2564 มีสัดส่วนมากที่สุดคือ 31% ขณะที่บางส่วนมองว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 และที่เหลือคิดว่าจะฟื้นตัวได้ครึ่งหลังปี 2565
“กลุ่มอุตสาหกรรมที่เห็นว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดคือครึ่งหลังปี 2564 คือกลุ่มบริษัทการค้า รองลงมาคือกลุ่มเครื่องจักรทั่วไป และเครื่องจักรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม มีสัดส่วนเพียง 6% เท่านั้นที่คิดว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้ช่วงครึ่งแรกปีนี้ ”
เมื่อถามถึงประมาณการสภาพธุรกิจครึ่งแรกปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) พบว่า บริษัทที่คาดว่าสภาพธุรกิจะดีขึ้น มีสัดส่วนเท่ากับ 39% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้ ที่ธุรกิจสัดส่วนถึง 45% คิดว่าสภาพธุรกิจจะดีขึ้น ในการสำรวจครั้งนั้น
"หากพิจารณาค่าการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบการสำรวจครั้งนี้กับครั้งก่อนหน้า บางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก/โลหะ อื่นที่ไม่ใช่เหล็กและอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่ง มีมุมมองเชิงบวกเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มธุรกิจการเงิน ประกันภัย ก่อสร้าง หลักทรัพย์ งานวิศวกรรม ซึ่งมีมุมมองเชิงลบในทิศทางที่ลดลง สอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าสภาพธุรกิจครึ่งแรกปีนี้ มีแนวโน้มดีขึ้น"
เมื่อถามถึงยอดขาย พบว่า ปี 2564 นี้ ธุรกิจส่วนใหญ่ 60% บอกว่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนด้านผลกำไรก็เช่นเดียวกันส่วนใหญ่ 73% เห็นว่าธุรกิจจะมีกำไร
ด้านการลงทุน ผลสำรวจชี้ว่า มูลค่าการลงทุนด้านโรงงานและเครื่องจักรที่วางแผนไว้สำหรับรอบปี 2564 (อุตสาหกรรมผลิต) คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12.7% เมื่อเทียบกับรอบปี 2563 (บริษัทตอบแบบสำรวจข้อนี้เพียง 306แห่ง) โดยบริษัทที่ระบุว่าจะ “ลงทุนเพิ่ม” คิดเป็น 34% ขณะที่อีก 25% ระบุว่าจะ“ลงทุนลดลง”
ส่วนการลงทุนด้านโรงงานและเครืองจักร พบว่ากาลงทุนในการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องเดิมมีสัดส่วนสูงสุด ได้แก่ กลุ่มสิ่งทอ อาหาร และเครื่องจักรที่ไม่ใช่เหล็ก สูงสุด 3 อันดับแรก ด้านอัตราขยายตัวมูลค่าการลงทุน กลุ่มสิ่งทอ ขยายตัวสูงสุด 48.8% กลุ่มเครื่องจักรทั่วไป ขยายตัว 28.8% กลุ่มเหล็ก/โลหะฯ ขยายตัว27.8% กลุ่มเครื่องจักรในการขนส่ง ขยายตัว 27.1%
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงประเด็นปัญหาด้านการบริหารองค์กร ซึ่งผลสำรวจให้ตอบได้หลายข้อ นั้น บริษัทผู้ตอบแบบสำรวจเลือกตอบ การแข่งขันกับบริษัทอื่นรุนแรงขึ้น มากที่สุด 74% รองลงมาได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเพิ่มสูงขึ้น 45% และอุปสงค์ภายในประเทศซบเซา 36%
หากพิจารณาาอุตสาหกรรมแต่ละประเภท พบว่ บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมากยังเลือกตอบ ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น 37% การขาดแคลนวิศวกร 34% ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมากเลือกที่จะตอบว่า ความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการสินค้าและความต้องการของผู้ใช้ 31%
“ผลสำรวจได้เผยถึงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ที่ต้องการสูงสุดคือการส่งเสริมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสาธารณูปโภค การพัฒนาปรับปรุงระบบและการบังคับใช้ระบบศุลกากรและพิธีการศุลกากร การดำเนินมาตรการรองรับผลกระทบจากโควิด”
เมื่อแยกประเภทอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มการผลิตต้องการเรื่องการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนมากที่สุด รองลงมาคือการพัฒนาปรับปรุงการบังคัยใช้ระบบภาษี เช่น ระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ เรียกร้องเรื่องการผ่อนปรนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว