พาณิชย์ลงนามความร่วมมือยูเค หวังลุยต่อเปิดเจรจาFTA
“จุรินทร์”เตรียมจรดปากกาเซ็นเอ็มโอยูรัฐมนตรีการค้ายูเค สานสัมพันธ์การค้า การลงทุน 2 ประเทศ 29 มี.ค.นี้ ชี้เป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่จัดตั้งเวทีการหารือระดับรัฐมนตรีหลังบร็ทซิท พร้อมเดินหน้าเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-ยูเค
การออกจากสหภาพยุโรป(อียู)ของสหราชอาณาจักร(ยูเค) หรือเบร็ทซิท ตั้งแต่ 1 ม.ค.2564 มีผลทำให้ยูเคต้องเร่งทำความตกลงเขตการค้าการค้าเสรี(เอฟทีเอ) กับประเทศพันธมิตรทั่วโลก โดยยูเคได้นามความตกลงไปแล้ว 22 ฉบับ และอยู่ระหว่างเจรจา 16 ฉบับ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากกรณีเบร็กซิท ล่าสุดยูเคได้สมัครขอเข้าเป็นสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) แล้ว
ขณะที่ไทยเองก็ได้เร่งเจรจาหารือกับกระทรวงการค้าของยูเคมาเป็นระยะๆเพื่อเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-ยูเค หลังประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม โดยเฉพาะเวียดนามที่เซ็นต์ลงนามไปแล้ว ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ แม้ว่า “ยูเค” อาจจะไม่ใช่ตลาดการค้าที่มีขนาดใหญ่ของไทยหากเทียบกับตลาดอียูแต่ก็ถือว่าเป็นตลาดที่สำคัญของไทย
ปี 2563 ไทยกับยูเค มีมูลค่าการค้ารวม 4,875 ล้านดออลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 1.11 %ของการค้าไทยในตลาดโลก ขณะที่ ไทยกับอียู มีมูลค่าการค้ารวม 33,133 ล้านดอลล่าร์ คิดเป็นสัดส่วน 7.56% ของการค้าไทยในตลาดโลก แม้สัดส่วนการค้าจะน้อย แต่ “ยูเค” ถือว่าเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศอียู ซึ่งไทยส่งออกไปยูเค 3,087 ล้านดอลลาร์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์และอุปกรณ์ แผงวรจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกล และไทยนำเข้าจากยูเค 1,788 ล้านดอลลาร์ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักร
ที่ผ่านมาไทยโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้มีการเจราหารือเพื่อทบทวนนโยบายการค้าของทั้ง 2 ประเทศ และกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน นอกจากนี้ยังจะเจรจาเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) กับยูเค ในระดับรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นเวทีในการส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
ความคืบหน้าล่าสุดก็ประสบความสำเร็จ ทั้งไทยและยูเค ได้บรรลุข้อตกลงที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทยและกระทรวงการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร (ยูเค) เพื่อใช้เป็นกลไกความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่สองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน เช่น เกษตร อาหาร การเงิน และสุขภาพ เป็นต้น
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 29 มี.ค.นี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะลงนามเอ็มโอยูกับนางเอลิซาเบธ ทรัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศยูเค ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งผลจากการลงนาม จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเค เพิ่มโอกาสในการขยายการค้า การลงทุนหลังจากเบร็กซิต ทำให้ไทยและยูเค มีช่องทางการพูดคุย หารือกัน
ทั้งการลงนามดังกล่าว ถือได้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่จัดตั้งเวทีการหารือระดับรัฐมนตรีกับยูเคหลังเบร็ทซิท และผลพลอยได้จากการลงนามในครั้งนี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังเห็นว่าจะเป็นผลดีที่จะนำไปสู่การเจรจาความตกลงความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ยูเค ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะนี้ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศอยู่ในระหว่างการศึกษาการศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำเอฟทีเอ โดยได้มอบหมายให้ บริษัท โบลลิเกอร์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยและยูเค ตลอดจนจัดรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอระดับนโยบายพิจารณาตัดสินใจในเรื่องการเจรจาเอฟทีเอกับยูเคต่อไป ส่วนจะเริ่มเปิดโต๊ะเจรจาเมื่อใดยังไม่มีความชัดเจนแต่คาดว่าน่าจะเร็วๆนี้
หลายฝ่ายโดยเฉพาะภาคเอกชน เห็นว่า หากไทยเปิดเจรจาเอฟทีเอกับยูเค จะช่วยขยายโอกาสทางการค้า ลดปัญหาและอุปสรรคการค้าระหว่างกันทั้งในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี ตลอดจนสร้างโอกาสในการลงทุนทั้งไทยและยูเคในอนาคตได้มากขึ้น หากไทยไม่รีบเปิดโต๊ะเจราให้เร็วที่สุดไทยจะขาดแต้มต่อการแข่งขันทางการค้าโดยเฉพาะกับประเทศเวียดนามที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย