‘ธ.ก.ส.’ เปิดเงื่อนไขโครงการ 'ประกันภัยข้าวนาปี 64' วงเงิน 2.9 พันล้านบาท
“ธ.ก.ส.” เปิดเงื่อนไขโครงการ "ประกันภัยข้าวนาปี 64" วงเงิน 2.9 พันล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 46 ล้านไร่
ภายหลังจากที่ มติ ครม.เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 พื้นที่ประกันภัย รวม 46 ล้านไร่ ภายใต้วงเงิน 2,936 ล้านบาท เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัยนั้น
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดลองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนรัฐบาล และเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริง โครงการ "ประกันภัยข้าวนาปี 64" เป็นโครงการต่อเนื่องปีที่ 10 ซึ่งการดำเนินงานส่วนใหญ่มีลักษณะเดียวกันกับปี 2563
ทั้งนี้ ได้ปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ลดลง 1 บาท (จาก 97 บาท/ไร่ เหลือ 96 บาท/ไร่) และปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ซื้อประกันภัยเพิ่มและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ ลดลง 3 บาท (จาก 58 บาท/ไร่เหลือ 55 บาท/ไร่)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 มีอัตราค่าเบี้ยประกันภัย ดังนี้
1.ค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) กำหนดตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกร รวม 45 ล้านไร่
- ลูกค้า ธ.ก.ส. ทุกราย ค่าเบี้ยประกันภัย 96 บาทต่อไร่ (รวม 28 ล้านไร่) โดยรัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 58 บาทต่อไร่ และธ.ก.ส. อุดหนนุนให้ 38 บาทต่อไร่ (ยังไม่รวมค่าอาการแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- เกษตรกรทั่วไป และลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่ซื้อเพิ่ม ค่าเบี้ยประกันภัยในพื้นที่เสี่ยงต่ำ 55 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 210 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงสูง 230 บาทต่อไร่ (รวม 17 ล้านไร่)
รัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 55 บาทต่อไร่ (ยังไม่รวมค่าอาการแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) คุ้มครองความเสี่ยงจาก 7 ภัยธรรมชาติ ไร่ละ 1,260 บาท ได้แก่
- น้ำท่วม หรือฝนตกหนัก
- ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง
- ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น
- ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง
- ลูกเห็บ
- ไฟไหม้
- ช้างป่า และภัยศัตรูพืช หรือโรคระบาด ไร่ละ 630 บาท
2. ปรับอัตราเบี้ยประกันภัยลดลงสำหรับเขตพื้นที่ความเสี่ยงต่ำในส่วน Tier 1 มีอัตราเบี้ยประกันภัย 55 บาท/ไร่ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 16 ล้านไร่
- เขตพื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ยังคงราคาเดิม คือ 210 บาท/ไร่ และ 230 บาท/ไร่ โดยมีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 1 ล้านไร่ ซึ่งจะได้รับการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยจากภาครัฐ 55 บาท
3. อัตราเบี้ยประกันภัยภาคสมัครใจ (Tier 2) สำหรับเกษตรกรสามารถขอเอาประกันภัยเพิ่มเติมได้เมื่อเอาประกันภัยในส่วน Tier 1 แล้ว โดยแบ่งอัตราค่าเบี้ยประกันภัยเป็น 3 อัตรา ตามระดับความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่ คือ 24 48 และ 101 บาท/ไร่ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 1 ล้านไร่
4.วงเงินความคุ้มครองคงเดิม
วงเงินความคุ้มครองสำหรับ Tier 1 อยู่ที่ 1,260 บาท/ไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
- น้ำท่วม หรือฝนตกหนัก
- ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง
- ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น
- ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง
- ลูกเห็บ
- ไฟไหม้
- ช้างป่า สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อยู่ที่ 630 บาท/ไร่
และวงเงินความคุ้มครองสำหรับ Tier 2 อยู่ที่ 240 บาท/ไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ประเภท และสำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อยู่ที่ 120 บาท/ไร่
5. ระยะเวลาขายกรมธรรม์ประกันภัย กำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์แตกต่างกันตามภูมิภาค คือ
- ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 1) จำนวน 42 จังหวัดกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2564
- ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 2) จำนวน 16 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
- ภาคตะวันตก จำนวน 5 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564
- ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ทำเนียบรัฐบาล