อย่าประมาท 'อาการโควิด-19' ที่ 'พบไม่บ่อย' แต่บ่งชี้ว่า อาจป่วย 'โควิด-19' ได้
สรุป "อาการของโควิด" ที่บ่งชี้การติดโรค "โควิด-19" ที่มีสาเหตุมาจาก "ไวรัสโคโรน่า" ทั้งแบบที่ "พบไม่บ่อย" และ "พบบ่อย" เพื่อสังเกตตัวเอง
การระบาดของ "โควิด-19" ระลอกใหม่ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนจากยอด "ผู้ติดเชื้อ" ที่แตะหลักหมื่นภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์
ไม่ว่าจะเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ การป้องกันตัวเองและสังเกตอาการอยู่บ่อยๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้เพื่อให้สามารถรักษาทันท่วงที "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวม "อาการของโควิด" ทั้งที่พบไม่บ่อยแต่สามารถบ่งชี้ว่าติดโควิด-19 ได้ รวมถึงอาการที่มักจะพบบ่อย ดังนี้
- อาการโควิด-19 ที่ 'พบบ่อย'
ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมากโดยอาการที่พบบ่อยที่สุด คือ
- มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)
- ไอแห้ง
- ไอมีเสมหะ
- ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย
- หายใจลำบาก
- เจ็บคอ
- ปวดหัว
- จมูกไม่ได้กลิ่น
- อ่อนเพลีย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- อาการโควิด-19 ที่ 'พบไม่บ่อย'
นอกจากอาการโควิด-19 ในข้างต้นแล้ว ในช่วงการระบาดระลอก 3 ในไทย เริ่มมี "อาการใหม่" ที่ "พบไม่บ่อย" แต่สะท้อนถึงการติดเชื้อ "ไวรัสโคโรน่า" ได้ ซึ่งเคยพบในต่างประเทศในช่วงก่อนหน้านี้ โดยสรุปอาการต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้
- ตาแดง ซึ่งเป็นข้อมูลจาก นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ที่เกิดจากการสังเกตอาการทางคลินิกของ ผู้ป่วยโควิดส่วนใหญ่ในระยะหลัง เป็นวัยหนุ่มสาว อาการน้อยมาก แต่มีอาการใหม่ เพิ่มเติม คือ หลายรายมีอาการตาแดงนิดหน่อยน้ำมูกไหล ไม่มีไข้ บางรายมีผื่นขึ้น
-
ท้องเสีย โดยข้อมูลจาก แพทย์หญิงนิษฐา เอื้ออารีมิตร แพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ แชร์อาการของผู้ป่วยที่ตนดูแลผ่านเฟซบุ๊ค "Nittha Oer-areemitr" ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโควิดระลอก 3 พบอาการท้องเสีย ซึ่งอาการท้องเสียที่นำมาแต่แรก กับเจ็บคอมากๆ ถ้ามีอาจต้องเฝ้าระวังดีๆ เนื่องจากอาจจะมีอาการแย่ได้
-
น้ำมูกไหล ซึ่งมักเป็นอาการที่มาร่วมกับ ตาแดง แต่ไม่มีไข้
- มี "ผื่นโควิด" ซึ่งเป็นอาการผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี ในลักษณะต่างๆ ดังนี้
- หากมีอาการโควิด-19 ควรทำอย่างไร?
หากใครที่สงสัยอาการ โควิด-19 เพิ่มเติม สามารถติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชม. เพื่อปรึกษาหรือขอคำแนะนำเมื่อมีอาการของโควิด-19 เพื่อดำเนินการรักษา และลดโอกาสแพร่เชื้อในวงกว้าง
ที่มา: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย องค์การอนามัยโลก (who)