อดีต ตศร. แจง ศาลตัดสิน 'ธรรมนัส' ไม่พ้นสภาพ ส.ส.-รมช.

อดีต ตศร. แจง ศาลตัดสิน 'ธรรมนัส' ไม่พ้นสภาพ ส.ส.-รมช.

อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงปม ศาล วินิจฉัย "ธรรมนัส" ไม่พ้นสภาพ ส.ส.-รมช.

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 64 ศ.(พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับรายการ Morning Nation ถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่มีความผิดต้องพ้นจากสถานภาพ ส.ส.และรัฐมนตรี เนื่องจากต้องคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศไม่ใช่ศาลไทย ว่า ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงรู้สึกว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ตอบโจทย์เลย

เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่เห็นและตั้งคำถามว่าไปทำผิดยาเสพติดร้ายแรงในต่างประเทศจนศาลพิพากษาลงโทษแล้ว ทำไมยังเป็นรัฐมนตรีในประเทศไทยได้ ปัญหาไม่ได้เกิดจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหานี้มันเกิดจากผู้ที่ส่งเรื่องที่อยากจะให้รัฐมนตรีท่านนี้พ้นจากตำแหน่ง

"แกใช้ช่องทางผิด แต่ใช้มาตรา 98(10) เรื่องคำพิพากษา ซึ่งแกต้องใช้ 160(5) มีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง มันถึงใช้พฤติกรรมมาเป็นเหตุวินิจฉัยได้ จึงพอจะมีความหวัง แต่คนที่ทำเรื่องเข้ามาประเด็นมาที่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียวเลย ว่าต้องคำพิพากษาในคดียาเสพติดท่านก็ต้องตัดสินตามคำพิพากษามาตรา 98(10) ว่าคำพิพากษาของศาลในกฎหมายไทย" ศ.(พิเศษ) จรัญ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 ระบุว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

(4) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4)

(5) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(6) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(7) เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(8) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

(9) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(10) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

(11) เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

ขณะที่ รัฐธรรมนูญ มาตรา 160 ระบุคุณสมบัติรัฐมนตรีไว้ว่า

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

(5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

(6) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98

(7) ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

(8) ไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุกระทำการอันเป็นการต้องห้ามมาตรา 186 หรือมาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันแต่งตั้ง

(12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง

(13) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(14) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี

(15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

(16) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

(17) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(18) เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม