เปิด 10 อันดับ ‘บลจ.’ใหญ่สุด ในอุตสาหกรรมกองทุน
เปิด 10 อันดับ “บลจ.”มี “NAV”สูงสุดในอุตสาหกรรมกองทุนรวม ไตรมาส 1 ปี 64 นำโดยบลจ.กสิกรไทยยังครองแชมป์ NAV ที่ 1,114,775.40 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 21.52% รองมา บลจ.ไทยพาณิชย์ NAV ที่ 939,153.68 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 18.13%
นับตั้งแต่ต้นปีมานี้ “กองทุนรวม” ที่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีและน่าสนใจลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวน ดอกเบี้ยยังต่ำ และเศรษฐกิจชะลอตัวจากการสถานการณ์โควิด-19 ยังทวีความรุนแรงและเกิดครัสเตอร์ใหม่ๆ ทำให้เครื่องมือการลงทุนที่ชื่อว่า “กองทุนรวม” ยังคงมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้เสมอให้กับผู้ลงทุน
ดังนั้นจึงยังเห็น อุตสาหกรรม”กองทุนรวม” ในไทยเติบโตขึ้นต่อเนื่อง จากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) พบว่า ณ เดือน มี.ค. 2564 มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทั้งสิ้น 23 บริษัท มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) อยู่ที่ 5.18 ล้านล้านบาท มีจำนวน 2,117 กองทุน ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก ณ สิ้นปี 2563 มี NAV อยู่ที่ 5.04 ล้านล้านบาท มีจำนวน 2,051 กองทุน โดยบลจ.กสิกรไทย ยังคงครองแชมป์อันหนึ่งต่อเนื่อง รองลงมาเป็น บลจ.ไทยพาณิชย์
สำหรับ บลจ.ที่มีมูลค่า ‘NAV’ สูงสุด 10 อันดับแรกในอุตสาหกรรมกองทุนรวม ณ เดือนมี.ค. 2564 ดังนี้
1. บลจ. กสิกรไทย จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 1,114,775.40 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 21.52% จำนวน 201 กองทุน
2. บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 939,153.68 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 18.13% จำนวน 296 กองทุน
3. บลจ.บัวหลวง จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 767,462.83 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 14.82% จำนวน 87 กองทุน
4. บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
มูลค่า NAV ที่ 667,328.52 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 12.88% จำนวน 194 กองทุน
5. บลจ.กรุงศรี จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 389,466.17 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 7.52 % จำนวน 142 กองทุน
6. บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
มูลค่า NAV ที่ 278,400.32 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 5.37 % จำนวน 175 กองทุน
7. บลจ. ทหารไทย จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 221,527.82 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 4.28 % จำนวน 76 กองทุน
8. บลจ. ธนชาต จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 176,689.54 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 3.41 % จำนวน 92 กองทุน
9. บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
มูลค่า NAV ที่ 132,984.97 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 2.57 % จำนวน 137 กองทุน
ขณะที่ อันดับ 10. มีถึง 5 บลจ.ที่มีมาร์เก็ตแชร์ใกล้เคียงกันที่ระดับ 1% ได้แก่
บลจ.วรรณ จำกัด มูลค่า NAV ที่ 81,728.04 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 1.58 % จำนวน 105 กองทุน
บลจ. พรินซิเพิล จำกัด มูลค่า NAV ที่ 77,808.19 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 1.50 % จำนวน 96 กองทุน
บลจ.เกียรตินาคินภัทร จำกัด มูลค่า NAV ที่ 70,435.23 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 1.36 % จำนวน 64 กองทุน
บลจ.ทิสโก้ จำกัด มูลค่า NAV ที่ 66,746.46 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 1.29% จำนวน 128 กองทุน
บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด มูลค่า NAV ที่ 60,795.02 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 1.17 % จำนวน 124 กองทุน
นอกจากนี้ที่เหลืออีก 9 บลจ. มีมาร์เก็ตแชร์ไม่ถึง 1% ได้แก่
บลจ.แอสเซท พลัส จำกัด มูลค่า NAV ที่ 47,250.90 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.91 % จำนวน 59 กองทุน
บลจ. อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า NAV ที่ 28,226.32 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.54% จำนวน 28 กองทุน
บลจ. เอไอเอ จำกัด มูลค่า NAV ที่ 28,173.42 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.54 % จำนวน 11 กองทุน
บลจ. บางกอกแคปปิตอล จำกัด มูลค่า NAV ที่ 15,666.24 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.30 % จำนวน 28 กองทุน
บลจ. วี จำกัด มูลค่า NAV ที่ 7,370.91 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.14 % จำนวน 22 กองทุน
บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า NAV ที่ 3,612.86 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.07 % จำนวน 22 กองทุน
บลจ.ฟิลลิป จำกัด มูลค่า NAV ที่ 3,1883.16 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.06 % จำนวน 9 กองทุน
บลจ.ทาลีส จำกัด มูลค่า NAV ที่ 1,092.96 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0.02% จำนวน 12 กองทุน
บลจ. อินโนเทค จำกัด มูลค่า NAV ที่ 73.44 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์ 0% จำนวน 9 กองทุน