'6 กลุ่ม' เสี่ยงสูง 'โควิดคุก' ส่องมาตรการ 'เรือนจำ'

'6 กลุ่ม' เสี่ยงสูง 'โควิดคุก' ส่องมาตรการ 'เรือนจำ'

จุดเริ่มรายแรกปลายปี 2563 ผู้ต้องขังชายไทย "อาชีพดีเจ" ตรวจพบติดโควิด-19 จนต้องกักตัว ก่อนส่งเข้าแดนปกติของทัณฑสถาน

จากตัวเลขที่ ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดประจำวันที่ 13 ..2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,887 คน แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,052 คน และติดเชื้อในเรือนจำที่ต้องขังมากถึง 2,835 คน 

เรือนจำกลายเป็นแหล่งระบาดแห่งใหม่ที่ถูกเฝ้าระวังไม่ต่างจากคลัสเตอร์ 12 ชุมชนใน กทม.ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ในปี2563 เรือนจำเคยมีกรณีผู้ต้องขังชายไทยทำอาชีพดีเจตรวจพบเชื้อโควิดอยู่ระหว่างกักตัว ก่อนส่งตัวเข้าสู่แดนปกติของ "ทัณฑสถาน"

ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากสถานที่รวมตัวจากคนจำนวนมาก เป็นหนึ่งจุดเสี่ยงที่กระทรวงสาธารณสุข เคยออกมาตรการคุมเข้มความปลอดภัยป้องกันการระบาดเช่นเดียวกับสถานที่สำคัญแห่งอื่น แต่คำถามมีอยู่ว่า "พื้นที่กึ่งปิด" ในเรือนจำเหตุใดจึงมีผู้ติดเชื้อโควิดซึ่งประเมินว่ามาจาก 6 ปัจจัยหลัก

1.นักโทษแรกรับ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อมาแล้วก่อนเข้ามาอยู่ภายในทัณฑสถาน ถึงแม้ในเรือนจำจะมีระบบแดน "กักตัว" ก่อนเข้าสู่แดนปกติ

2.นักโทษที่เป็นผู้ช่วยผู้คุม ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในแดนกักโรค และได้รับเชื้อโควิด เมื่อกลับเข้าไปแดนขังปกติจึงนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้ต้องขังในแดนอื่น

3.กลุ่มผู้ต้องขังที่ถูกเบิกตัวออกไปนอกเรือนจำไปยังศาล มีโอกาสติดเชื้อแล้วกลับเข้ามาในเรือนจำอีกครั้ง

4.การรับย้ายผู้ต้องขังที่มาจากทัณฑสถานแห่งอื่น

5.ผู้คุมในเรือนจำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติงานเข้าออกเรือนจำกับภายนอก มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดเช่นเดียวกับอาชีพอื่น แต่ด้วยรูปแบบการทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง ย่อมมีโอกาสเกิดการกระจายเชื้อได้เช่นกัน

6.บุคคลภายนอกที่เข้าไปติดต่อกับเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นญาตินักโทษ คนส่งของให้เรือนจำ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำ

162088252635

162088642897

"กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดซึ่งกำหนดไว้สำหรับเรือนจำ พบว่าต้องตรวจสอบประวัติผู้คุมขังและผู้ที่มีความเสี่ยงทุกราย ก่อนเริ่มในขั้นตอน "รับผู้ต้องขังรายใหม่หรือการรับย้ายผู้ต้องขังมาจากทัณฑสถานแห่งอื่น

ขณะที่ขั้นตอนปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถาน ต้องฝึกใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันให้เจ้าหน้าที่ห้องพยาบาล อาสาสมัครในเรือนจำ (อสรจ.) โดยเฉพาะการเตรียมสถานที่ "แดนแรกสำหรับผู้ต้องขังใหม่อยู่พักในแดนนี้เป็นเวลา 14 วัน

แต่หากพบผู้ต้องขังติดเชื้อ ทัณฑสถานต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ "แดนกักตัว" เพื่อแยกกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะมาจากผู้คุมหรือผู้ต้องขังในเรือนจำ หากพบว่าเริ่มมีอาการป่วยให้แจ้งห้องพยาบาลภายในเรือนจำ และรีบแยกผู้ป่วยสงสัยออกจากบุคคลอื่น โดยในส่วนเจ้าหน้าที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน 14 วันนับจากวันเริ่มป่วยหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ 

แต่หากพบว่ามี "ผู้ต้องขัง-เจ้าหน้าที่" ป่วยพร้อมกันจำนวนมาก ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าสอบสวน และควบคุมโรคทันที หรือหากเกิดเหตุ "ฉุกเฉิน" ในการระบาด ต้องปฏิบัติตามมาตรการคัดกรองผู้ต้องขังและผู้คุม หากพบว่ากลุ่มใดมีอาการให้ประสานโรงพยาบาลในพื้นที่กักตัวทันที และคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย และป้องกันการติดเชื้อ 

ที่สำคัญ "ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังไปยังทัณฑสถานแห่งอื่น แต่ให้จัดห้องหรือห้องโถงเพื่อแยกกลุ่มป้องกันการกระจายเชื้อโควิดรวมถึงจัดเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ และไม่ให้ย้ายไปมาระหว่างแดนขัง

162088257926

นอกจากนี้ หากเรือนจำหรือทัณฑสถานใดพบการระบาดต้อง "ยกเลิกกิจกรรมภายในที่มีการรวมตัวทันที และให้จัดแบ่งช่วงเวลาการรับประทานอาหารเป็นกลุ่มเพื่อเหลื่อมเวลากัน

ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ได้เร่งตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดให้เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง ด้วยวิธี RT-PCR มากกกว่า 1.7 หมื่นครั้ง เพื่อเร่งคัดแยกผู้ติดเชื้อไปรักษา และแยกผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงออกมากักตัว แต่ในขั้นตอนรับมือกรณีมีการระบาดอย่างหนัก ในมาตรการจัดเตรียม "โรงพยาบาลสนามกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ทัณฑสถานต้องเลือกสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อยู่ใกล้อาคารที่พักนักโทษหลัก รวมถึงจัดเตรียมอุปกรณ์-เวชภัณฑ์รองรับการทำงานของบุคลากร 

ถึงแม้ปัจจัยแวดล้อมภายในทัณฑสถานมีข้อจำกัดหลายด้าน แต่สิ่งที่ทัณฑสถานทุกแห่งต้องปฏิบัติตามเคร่งครัดเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส เน้นไปที่ระบบภายในมิติสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง

เป็นขั้นตอนสำคัญจากมาตรการคุมเข้มเรือนจำทั่วประเทศ ซึ่งกำลังเป็นหนึ่งจุด "คลัสเตอร์" ใหญ่ ที่พบผู้ต้องขังติดเชื้อใน 2 เรือนจำไปแล้วเกือบ 3 พันคน.

162088262336