'ปรเมษฐ์' อธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ฟ้อง 3 ตุลาการ ความผิดมาตรา 157
"ปรเมษฐ์" อธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ฟ้อง 3 ตุลาการ ความผิดมาตรา 157 กรณีเป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงโดยมิชอบ
วันที่ 22 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบภาค 1 ปฏิบัติภารกิจชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ยื่นฟ้อง นายอนุวัตร มุทิกากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นางสาวมรกต วัฒนรุ่งเรืองยศผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ นายนรินทร์ ทองคำใสรองเลขานุการศาลฎีกา เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จากกรณีที่จำเลยทั้ง 3 ในฐานะคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรมที่ 333/2564 วันที่ 25 มี.ค.ลงนามโดยประธานศาลฎีกา กรณีนายปรเมษฐ์โจทก์ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปก้าวก่าย หรือ เเทรกเเซงการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่อท. 48/2563 ของศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบภาค 1 โดยคำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่าวันที่ 25 มี.ค. สำนักงานศาลยุติธรรมมีคำสั่งที่333/2564 โดยประธานศาลฎีกาเรื่องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว
โดย นายอนุวัตร เป็นประธาน เเละ นางสาวมรกต เป็นกรรมการ, นายนรินทร์ เป็นกรรมการเเละเลขานุการ โดยจำเลยทั้งสามมีหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐานเเละเสนอความเห็นเพื่อทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดของนายปรเมษฐ์ที่ถูกกล่าวหาว่าผิดวินัยร้ายเเรง/ไม่ร้ายเเรง/ไม่มีมูลความผิด หลังจากมีคำสั่งศาลยุติธรรมเมื่อวันที่ 25 มี.ค. พบว่าวันที่ 26 มี.ค. จำเลยทั้งสามร่วมเดินทางไปสอบพยานหลักฐานที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบภาค1
ต่อมา วันที่ 31 มี.ค. นายนรินทร์โทรศัพท์ มาเเจ้ง นายปรเมษฐ์ ว่า ให้มาชี้เเจงกับกรรมการ ในวันที่ 1 เม.ย. เพราะนายอนุวัตร เข้าเวรที่ศาลฎีกาในวันนั้น ซึ่งโดยปกติเเล้วในการปฏิบัติราชการของกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในขั้นต้นต้องมีหนังสือเเจ้งนัดโจทก์/ผู้ถูกล่าวหาเข้าชี้เเจงเเละควรได้รับทราบประเด็นร้องเรียน เพื่อให้สามารถรวบรวมพยานหลักฐานประกอบการชี้เเจงเเละเข้าสืบแก้ในข้อที่เป็นผลร้ายต่อตนเอง
จากนั้นวันที่ 1 เม.ย. วันนัดโจทก์ปวดท้องมากเเละมีผู้พิพากษามารายงานตัวเเละขอพบหลายคน เมื่อเสร็จภารกิจจึงไปพบเเพทย์ที่รพ.สระบุรี เเพทย์มีหนังสือความเห็นว่า ตนเป็นกระเพาะอาหารอักเสบควรพักผ่อนในวันที่1-2เม.ย.เเละก่อนหน้านั้นคือวันที่ 29 มี.ค. ตนไปรพ.ราชวิถี เพราะปวดท้องเเพทย์นัดให้ไปรังสีวินิจฉัยวันที่ 12 พ.ค.ด้วย โดยได้ทำหนังสือลาป่วยของวันที่ 29 มี.ค. เเละวันที่ 1-2 เม.ย. ต่อประธานศาลฎีกาเเล้ว
หลังตนพบเเพทย์ที่โรงพยาบาลสระบุรีเเล้ว ได้โทรศัพท์ติดต่อ นายนรินทร์ หลายครั้ง เเต่ นายนรินทร์ บล็อกโทรศัพท์ตน เพราะตนต้องการไปชี้เเจงต่อกรรมการ ซึ่งเป็นจำเลยทั้งสามในคดีที่ตนฟ้องร้องนี้ เพราะต้องการทราบว่าผู้ใดร้องเรียน เเละมีประเด็นใดบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบสืบแก้ได้ถูกตัอง
โดยวันที่ 2 เม.ย. พยายามติดต่อนายนรินทร์ หลายครั้ง เเต่โดนบล็อกโทรศัพท์ จึงติดต่อนายอนุวัตร นายอนุวัตร ตอบว่า มีความเห็นไปเเล้ว จึงเเจ้งนายอนุวัตร ว่า ตนยังไม่ได้ชี้เเจงเเละไม่ทราบประเด็นการร้องเรียนที่จำเลยทั้งสามสอบสวน เเละมีผลร้ายแก่ตน ยังไม่ได้ชี้เเจงเเละนำพยานมาสืบเเก้ นายอนุวัตรให้ตนติดต่อนายนรินทร์ เลขานุการของตนเเจ้ง นายอนุวัตร ว่า โทรศัพท์หานายนรินทร์หลายครั้ง เเต่ติดต่อไม่ได้ จากนั้นตนยังติดต่อนายนรินทร์ เเต่โดนบล็อกโทรศัพท์
ทั้งนี้ พร้อมไปพบกรรมการเเละชี้เเจง เพราะต้องการทราบประเด็นข้อร้องเรียน หากได้เข้าชี้เเจงต่อกรรมการเเละหากกรรมการให้ความเป็นธรรมเเก่ตนก็จะทราบความจริงว่าเป็นกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชธรรมนูญศาลยุติธรรมเเละบทบัญญัติกฎหมาย ไม่ได้เเทรกเเซงการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาผู้ใต้บังคับบัญชาเเต่อย่างใด
“ตอนเกิดเหตุผมเป็นเจ้าของคดีหมายเลขดำที่อท.48/2563 มีความเป็นอิสระในการพิพากษาคดี จำเลยทั้งสามได้รับการเเเต่งตั้งเป็นกรรมการในกรณีของผมต้องสอบสวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเรื่องหลักเกณฑ์เเละวิธีการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้น เเละเมื่อเสร็จสิ้นการสอบสวนขั้นต้นหากผู้ถูกสอบสวนถูกกล่าวหาเเละเป็นผลร้ายโดยไม่มีโอกาสชี้เเจง หากมีกรณีเช่นนี้ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้เเจงก่อน”
ดังนั้น กรณีนี้เป็นการกระทำสอบสวนของกรรมการทั้งสามอย่างเร่งรีบ รวบรัด ด่วนสรุปความเห็นเพียงไม่กี่วันหลังได้รับเป็นกรรมการ หากตนได้เข้าชี้เเจง เข้าสืบเเก้ผลร้ายเเก่ตนตามสิทธิเเละหลักกฎหมายกับกรรมการทั้งสามนั้น กรรมการจะสอบสวนโดยไม่เร่งรีบ ดังนั้นกรรมการทั้งสามที่เป็นจำเลยคดีนี้ร่วมกันงดดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานเเละด่วนสรุปความเห็นจึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติกฎหมายเเละประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม