เช็คให้ดี ‘ม33เรารักกัน’ เงินเยียวยารอบ 2 เข้า 24 พ.ค.

เช็คให้ดี ‘ม33เรารักกัน’ เงินเยียวยารอบ 2 เข้า 24 พ.ค.

สรุป "ม33เรารักกัน" เฟส 2 ตอบคำถามรายละเอียดมาตรการเงินเยียวยาได้เงินวันไหน ใช้ถึงเมื่อไร และซื้ออะไรได้บ้าง?

หลังจากที่ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติให้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการเพิ่มกำลังซื้อช่วงโควิด-19 ระลอกที่ 3 เป็นการเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

โดยครม.ได้เพิ่มวงเงินเยียวยาให้กับมาตรการม.33 เรารักกัน  ซึ่งจะได้รับเงินรอบ 2 ครั้งแรกภายในวันที่ 24 พ.ค. 64 นี้ 

  • สรุป ม33เรารักกันเฟส 2 

อัปเดตความคืบหน้า ภายหลังจากที่รัฐบาลเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ตามโครงการ.33 เรารักกันอีกคนละ 2,000 บาท แบ่งจ่าย 2 งวด งวดละ 1,000 บาท ดังนี้

- ครั้งที่ 1 วันที่ 24 .. 64 จำนวน 1,000 บาท

- ครั้งที่ 2 วันที่ 31 .. 64 จำนวน 1,000 บาท

ซึ่งระบบจะโอนวงเงินผ่านช่องทางที่เคยได้รับโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องกดยอมรับหรือลงทะเบียนเพิ่มเติม

สำหรับผู้ได้รับสิทธิ 33 เรารักกันรอบแรก 4,000 บาท แต่ยังใช้ไม่หมด และกังวลว่าต้องใช้ก่อนวันที่ 31 .. 64 หรือไม่ ตรงนี้ยืนยันได้ว่า ไม่จำเป็นต้องรีบใช้ เนื่องจากเงินรอบใหม่ที่โอนเข้ามา จะรวมกับยอดเงินเก่าที่มีอยู่ ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 30 มิ.. 64

  • 33 เรารักกันรอบ 2 ได้สิทธิเท่าไร ใช้อะไรได้บ้าง 

"ผู้ประกันตน .33" ที่เคยได้รีบสิทธิเรารักกันในรอบแรกแล้ว จะได้รับสิทธิใช้จ่ายเข้าแอพฯ "เป๋าตัง" อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ วงเงินรวม 18,500 ล้านบาท และให้ใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิ..2564 

โดยสามารถใช้ซื้อสินค้า และจ่ายค่าบริการกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ "คนละครึ่ง" "33เรารักกัน" และ "เราชนะ" ตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนดเช่นเดียวกับรอบแรก ดังนี้

ร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการ สามารถแยกเป็นประเภทต่างๆ ที่สามารถใช้จ่ายเงิน "เรารักกัน" มีดังนี้

1. อาหารและเครื่องดื่ม

2. ธงฟ้า

3. กิจการ OTOP

4. สินค้าทั่วไป เช่น ร้านขายของฝาก ร้านซ่อมทุกประเภท เช่ารถยนต์/มอเตอร์ไซค์ ร้านขายอุปกรณ์เพื่อการกีฬา ร้านขายสินค้าเกษตร ร้านบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง/ขายอาหารสัตว์ ร้านบริการจัดสวน ร้านขายเสื้อผ้า มินิมาร์ท ตลาดสด 

5.โรงแรม/ที่พัก เช่น โฮมสเตย์ หอพัก แมนชั่น อพาร์ทเมนท์ แฟลต

6. สุขภาพ/ความงาม เช่น ร้านขายเครื่องสำอางและบำรุงผิว ร้านขายยาและอาหารเสริม ร้านเสริมสวย ร้านทำเล็บ ร้านสปา ร้านนวด

7. ขนส่งสาธารณะ ได้แก่ แท็กซี่ รถตู้ จักรยานยนต์ สามล้อถีบ รถสองแถว รถไฟฟ้า รถไฟ เรือ รถ บขส

8. รับเหมา/งานช่าง/ทำความสะอาด

9. สุขภาพ/การแพทย์ เช่น สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน กลุ่มบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ คลินิก

162175770550