เช็คที่นี่ ! 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด ได้วัคซีนเท่าไหร่

เช็คที่นี่ ! 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด ได้วัคซีนเท่าไหร่

เมื่อการระบาดโควิด 19 กระจายทั่วประเทศ โดยเฉพาะ 10 จังหวัดที่มีการติดเชื้อสะสมสูงที่สุด การจัดสรรวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมจำนวนประชากร 70% จึงเป็นเป้าหมายในการควบคุมโรค

ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. ระบุว่า ในวานนี้ (25 พ.ค. 64) ในพื้นที่กทม. ซึ่งยังเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม พบการระบาดกว่า 33 คลัสเตอร์ และมีกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังสูงสุดมากถึง 29 คลัสเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแคมป์ก่อสร้างกว่า 11 แห่ง รวมถึงตลาดและโรงงาน โกดังสินค้า

จากการย้อนดูข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า 4 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้มอย่าง กทม. ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ เคยพบการระบาดในโรงงาน ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยอดผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด พบว่าทั้ง 4 จังหวัดยังคงครองแชมป์ติด 1 ใน 10 อยู่จนถึงขณะนี้ 

  • 10 จ.ติดเชื้อสูงสุด

สำหรับข้อมูล 10 จังหวัดติดเชื้อสะสมสูงสุด (1 เม.ย. – 24 พ.ค. 64) ได้แก่ อันดับที่ 1 กรุงเทพมหานคร 34,696 ราย อันดับที่ 2 สมุทรปราการ 5,455 ราย อันดับที่ 3 นนทบุรี 5,447 ราย อันดับที่ 4 ชลบุรี 4,267 ราย อันดับที่ 5 เชียงใหม่ 4,033 ราย อันดับที่ 6 ปทุมธานี 3,009 ราย อันดับที่ 7 เพชรบุรี 2,996 ราย อันดับที่ 8 สมุทรสาคร 2,214 ราย อันดับที่ 9 สุราษฎร์ธานี 1,576 ราย อันดับที่ 10 ประจวบคีรีขันธ์ 1,573 ราย

162196057264

  • ปรับแผนกระจายวัคซีน

จากการระบาดที่ไม่มีทีท่าจะชะลอ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการปรับแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 อีกครั้ง โดยเบื้องต้น “นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์” อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า การจัดสรรวัคซีนจะคำนึงถึง 4 ปัจจัย คือ 1.จำนวนวัคซีนที่มีเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา 2.จำนวนประชากรของจังหวัดนั้นๆ 3. สถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน และ 4.กลุ่มเป้าหมาย เช่น ครู แรงงาน ซึ่งการจัดสรรต้องคำนึงถึงสถานการณ์การระบาดเพื่อควบคุมโรค

ทั้งนี้ แผนการฉีดวัคซีนปูพรมทั่วประเทศจะเริ่มในเดือนมิถุนายนเป็นหลัก ที่มีวัคซีนของแอสตราเซเนก้าเข้ามาตามสัญญาการส่งมอบ ส่วนที่มีการฉีดในเดือนมีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม เป็นวัคซีนเสริมจากแผนหลัก คือ วัคซีนซิโนแวค ที่เข้ามามีรวม 6 ล้านโดส และ ตรวจสอบล็อตการผลิตแล้ว 4 ล้านโดสกระจายฉีดไปแล้ว

 

  • แผนกระจายวัคซีน 10 จ.

ขณะที่ แผนกระจายวัคซีน ของทางกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลงไปยัง 10 จังหวัดติดเชื้อสะสมสูงสุด มิ.ย.-ก.ย. (แผน ณ 17 พ.ค.2564) มีดังนี้

1.กรุงเทพมหานคร จัดสรร มี.ค.-พ.ค. แล้ว 3.69 แสนโดส มิ.ย. 2.5ล้านโดส/ก.ค. 2.5 ล้านโดส

2.สมุทรปราการ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.36 หมื่นโดส /มิ.ย. 2.37 แสนโดส/ก.ค.4.87 แสนโดส/ส.ค.5.92 แสนโดส

3.นนทบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 5.22 หมื่นโดส /มิ.ย. 6.4หมื่นโดส/ก.ค.6.45แสนโดส/ส.ค.3.65 แสนโดส

4.ชลบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 7.65หมื่นโดส /มิ.ย.5.4หมื่นโดส/ ก.ค.5.56แสนโดส/ส.ค.7.46แสนโดส

5.เชียงใหม่ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว7.76หมื่นโดส/มิ.ย. 6.8 หมื่นโดส/ก.ค.4.19แสนโดส/ส.ค.2.38แสนโดส/ก.ย.4.08แสนโดส

6.ปทุมธานี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.39หมื่นโดส/มิ.ย. 6.7หมื่นโดส/ก.ค.6.24แสนโดส/ส.ค.3.54แสนโดส

7.เพชรบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.62 หมื่นโดส มิ.ย.2.4หมื่โดส/ ก.ค.8.4หมื่นโดส/ส.ค.5.4หมื่นโดส/ก.ย.1.75แสนโดส  

8.สมุทรสาคร จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.07 แสนโดส/มิ.ย.5.6หมื่นโดส/ ก.ค.3.36 แสนโดส /ส.ค.1.68 แสนโดส

9.สุราษฎร์ธานี จัดสรร มี.ค.-พ.ค.แล้ว 6.52 หมื่นโดส/มิ.ย. 8.8 หมื่นโดส/ก.ค.4.27แสนโดส/ส.ค.2.21 แสนโดส

10.ประจวบคีรีขันธ์ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 2.23หมื่นโดส/มิ.ย. 2.7หมื่นโดส/ก.ค.9.9หมื่นโดส/ส.ค.5.7หมื่นโดส/ก.ย.1.99แสนโดส

ทั้งนี้ การจัดสรรดังกล่าว เป็นการจัดสรรตามเป้า 70%ของประชากรในพื้นที่

162196057285

 

  • โรงงาน-คนงาน 10 จ.ติดเชื้อสูงสุด

ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปดูข้อมูล จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ วันที่ 24 พ.ค. 64 พบว่า ในแต่ละจังหวัดที่มีการติดเชื้อสูงสุด จะพบว่า มีโรงงานทั้ง “โรงงานจำพวกที่ 1” (นอกนิคมฯ) ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน โดยมีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน

 

“โรงงานจำพวกที่ 2” ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน โดยมีเครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน และไม่จัดอยู่ในจำพวกที่ 1 และ “โรงงานจำพวกที่ 3” ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน จึงจะดำเนินการได้ โดยมีเครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า และคนงานเกิน 50 คน รวมถึง รวมถึงแรงงานจำนวนมาก

“กรุงเทพฯ” มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 6,147 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 1 (นอกนิคมฯ) 9 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 570 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 5,112 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 373,472 คน

“สมุทรปราการ” 6,825 โรงงาน แบ่งเป็น ในนิคมอุตสาหกรรม 650 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 105 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 6,070 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 456,88 คน

“นนทบุรี” 240 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 22 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 218 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 14,987 คน

“ชลบุรี” 5,062 โรงงาน แบ่งเป็น ในนิคมอุตสาหกรรม 1,653 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 1 (นอกนิคมฯ) 1 โรงงานโรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 125 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 3,283 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 305,353 คน

“เชียงใหม่” 1,031 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 70 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 961 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 33,453 คน  

“ปทุมธานี” 3,300 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 270 โรงงานโรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 3,030 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 234,839 คน

“เพชรบุรี” มีโรงงานทั้งหมด 512 โรง แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 10 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 502 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 25,667 คน

“สมุทรสาคร” 6,171 โรงงาน แบ่งเป็น ในนิคมอุตสาหกรรม 236 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 1 (นอกนิคมฯ) 1 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 250 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 5,684 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 352,208 คน

“สุราษฎร์ธานี” 1,059 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 13 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 1,046 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 38,005 คน ได้รับการจัดสรรวัคซีน 88,000 ราย

“ประจวบคีรีขันธ์” 459 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานจำพวกที่ 2 (นอกนิคมฯ) 7 โรงงาน โรงงานจำพวกที่ 3 (นอกนิคมฯ) 452 โรงงาน จำนวนคนงาน (จำพวก 2 - 3) รวม 16,292 คน

ทั้งนี้ จากการสรุปสถานการณ์จาก “ศบค.” ณ วันที่ 25 พ.ค. ยังพบผู้ติดเชื้อทั่วประเทศเทศยังไม่มีแล้วโน้มลดลง พบการระบาดแบบกลุ่มก้อนใหม่ต่อเนื่อง ทั้งในโรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ชุมชน เริ่มมีการระบาดในบ้านพักผู้สูงอายุ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ดูแล ต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการคัดกรองคนเข้าออก

ประชาชนควรระมัดระวังการเดินทางเข้าออกพื้นที่เสี่ยง อาทิ โรงงาน ตลาด ชุมชนแออัด แคมป์ก่อสร้าง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ ได้แก่ การสัมผัสคลุคลีกัน ในสถานประกอบการ ที่พัก ชุมชน ครอบครัว การเดินทางในและต่างประเทศ และเคร่งครัดมาตรการ DMHTTA ลดการเดินทาง