สหัสขันธ์โคป่วยแล้ว 130 ตัว ย้ำท้องถิ่นแก้โรคระบาด 'ลัมปี สกิน'

สหัสขันธ์โคป่วยแล้ว 130 ตัว ย้ำท้องถิ่นแก้โรคระบาด 'ลัมปี สกิน'

นายอำเภอสหัสขันธ์ กำชับ อปท. ช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาโรคระบาดอุบัติใหม่ “ลัมปีสกิน” สำรวจพบโคป่วยแล้ว 130 ตัว พร้อมประกาศเขตพื้นที่ระบาดโรคเพิร์สในสุกรห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับการอนุญาต

ที่ห้องประชุมอำเภอสหัสขันธ์ นายตระกูล หนูนิล นายอำเภอสหัสขันธ์ เป็นประธานในการประชุมแก้ไขปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ของอ.สหัสขันธ์ โดยมีนายสุรพล เกิดศักดิ์ ปศุสัตว์อ.สหัสขันธ์ ผู้บริการ อปท. และกำนัน จาก 8 ตำบล ร่วมประชุมเพื่อขอความร่วมมือจาก อปท.ในการเร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค เจอกับโรคระบาด ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ “ลัมปีสกิน” และโรค “เพิร์ส หรือ PRRS” ที่ระบาดในสุกรพร้อมออกตรวจเยี่ยมคอกสัตว์ในพื้นที่ตำบลโนนบุรี อ.สหัสขันธ์ ซึ่งมีสัตว์เลี้ยงป่วยจำนวนมาก

นายสุรพล เกิดศักดิ์ ปศุสัตว์ อ.สหัสขันธ์ กล่าวว่า นอกเหนือจากการออกสำรวจสัตว์ป่วยยังได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ออกติดตามอาการของโคที่ป่วยในพื้นที่อ.สหัสขันธ์ทั้ง 8 ตำบล โดยเฉพาะการออกฉีดยารักษาตามอาการเพื่อป้องกันการตายของสัตว์เลี้ยง รวมถึงการขอความร่วมมือจาก อปท.ในการจัดงบประมาณจัดซื้อยาพ่นและยารักษาสัตว์เลี้ยงโดยด่วน โดยเฉพาะการฉีดพ่นยาฆ่ายุงซึ่งเป็นพานะนำโรคระบาด โดยคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ โดยจำนวนโคในพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ ประมาณ 5,300 ตัว ป่วยเป็นโรคลัมปีสกินแล้ว 130 ตัว ยังไม่มีรายงานจากการตายด้วยโรคนี้

162201992495

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ อ.สหัสขันธ์ ยังมีการระบาดของโรคเพิร์ส หรือ PRRS ซึ่งได้ทำลายไปแล้ว 38 ตัว และได้ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวโรค PPRS ในสุกร ซึ่งห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ประเภทสุกร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นทุกครั้ง หาฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 22 พรบ.โรคระบาด พ.ศ.2558

162201994095

นายตระกูล หนูนิล นายอำเภอสหัสขันธ์ กล่าวว่า โรคระบาดที่เกิดขึ้นยังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ ซึ่งได้ขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ออกสำรวจสัตว์เลี้ยงที่ป่วยเพื่อรายงานตัวเลขเข้ามาแบบวันต่อวัน แม้ว่าหลายพื้นที่เกิดโรคระบาดในสัตว์เป็นความเดือดร้อนของเกษตรกร จึงได้เชิญผู้บริหาร อปท. กำนัน มาทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

และเร่งให้การช่วยเหลือโดยด่วนจะรอช้าไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้สัตว์เลี้ยงตายและเกิดลุกลามระบาดหนักมากไปอีก เบื้องต้นต้องทำการรักษาเพื่อบรรเทาตามอาการ แต่เกษตรกร โดยเฉพาะการกางมุ้ง หรือการใช้ยากันยุงป้องกันยุงกัด ที่จะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อีกด้วย

162201995377