เช็ควิธีรับเงิน 'ม.33 เรารักกัน' รับเงินเยียวยา 1,000 บาท งวดสุดท้ายที่นี่!

เช็ควิธีรับเงิน 'ม.33 เรารักกัน' รับเงินเยียวยา 1,000 บาท งวดสุดท้ายที่นี่!

เช็ควิธีรับเงิน "ม33เรารักกัน" ผู้ประกันตนเฮ เงินเยียวยา 1,000 บาท งวดสุดท้ายเข้าแล้ว เช็ค "เป๋าตัง" ใช้จ่ายได้เลย

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียว โครงการ "ม33เรารักกัน" มุ่ง ​"เยียวยา" กลุ่มเป้าหมาย 9.27 ล้านคน โดยเพิ่มวงเงินช่วยเหลือ "ผู้ประกันตน ม.33" โดนในวันนี้(31 พ.ค.64) เป็นวันสุดท้ายของการรับเงินในโครงการ "ม.33 เรารักกัน" มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบ "ประกันสังคม มาตรา 33" จ่ายเงินเยียวยาโอนเงินงวดสุดท้ายอีก 1,000 บาท

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พาไปดูเงื่อนไขการรับเงินเยียวยาในครั้ง พร้อมวิธีการรับสิทธิสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่โครงการกำหนด

"ผู้ประกันตน ม.33" ที่เคยได้รีบสิทธิเรารักกันในรอบแรกแล้ว จะได้รับสิทธิใช้จ่ายเข้าแอพฯ "เป๋าตัง" อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ วงเงินรวม 18,500 ล้านบาท และให้ใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิ.ย.2564 

  • สัปดาห์แรก วันจันทร์ที่ 24 พ.ค.2564 จำนวน 1,000 บาท
  • สัปดาห์ที่สอง วันจันทร์ที่ 31 พ.ค.2564 จำนวน 1,000 บาท

162239049043

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิในมาตรการ ม.33 เรารักกัน สามารถเข้าไปเช็คสิทธิเงินเยียวยาได้ที่ www.ม33เรารักกัน.com และคลิกเข้าไปที่ "ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ" จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ-นามสกุล รวมถึงวันเดือนปีเกิด และคลิกที่ปุ่มตรวจสอบสถานะ หลังจากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลการจ่ายเงินเยียวยา 

162239074846

ส่วนกรณี "ผู้ขอทบทวนสิทธิ์" สามารถ "เช็คสิทธิ" ตรวจสอบสถานะ ผ่านทางเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com เพื่อรับเงินรับทีเดียว 2,000 บาท หากได้รับสิทธิ์

162239079186

ม.33 เรารักกัน รับเงินเยียวยาใช้ซื้อสินค้าได้ที่ไหน 

1. อาหารและเครื่องดื่ม

2. ธงฟ้า

3. กิจการ OTOP

4. สินค้าทั่วไป เช่น ร้านขายของฝาก ร้านซ่อมทุกประเภท เช่ารถยนต์/มอเตอร์ไซค์ ร้านขายอุปกรณ์เพื่อการกีฬา ร้านขายสินค้าเกษตร ร้านบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง/ขายอาหารสัตว์ ร้านบริการจัดสวน ร้านขายเสื้อผ้า มินิมาร์ท ตลาดสด 

5.โรงแรม/ที่พัก เช่น โฮมสเตย์ หอพัก แมนชั่น อพาร์ทเมนท์ แฟลต

6. สุขภาพ/ความงาม เช่น ร้านขายเครื่องสำอางและบำรุงผิว ร้านขายยาและอาหารเสริม ร้านเสริมสวย ร้านทำเล็บ ร้านสปา ร้านนวด

7. ขนส่งสาธารณะ ได้แก่ แท็กซี่ รถตู้ จักรยานยนต์ สามล้อถีบ รถสองแถว รถไฟฟ้า รถไฟ เรือ รถ บขส. 

8. รับเหมา/งานช่าง/ทำความสะอาด

9. สุขภาพ/การแพทย์ เช่น สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน กลุ่มบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ คลินิก

ที่มา : กระทรวงการคลัง