กรมวิทย์ฯ พบผู้ป่วยสายพันธุ์เบตา นอกจ.ยะลา
กรมวิทย์ฯ พบผู้ป่วยสายพันธุ์เบตา ระบาดนอกจังหวัดยะลา 6 ราย เบื้องต้นยังอยู่ในวงควบคุม
ที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการระบาดของสายพันธุ์เดลตา เบตา มีการเฝ้าระวังทุกสัปดาห์กว่า 300 ตัวอย่าง โดยเฉพาะการเก็บตัวอย่างมาจากพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ที่สนใจ
ส่วนจํานวนผู้ติดเชื้อที่พบจากการจำแนกตามสายพันธุ์สำคัญ ในรอบวันที่14 -20 มิ.ย ที่ผ่านมา สายพันธุ์อัลฟา พบเพิ่ม รวม1,113 ราย โดยกรุงเทพมหานครพบมากที่สุดถึง 387ราย ทำให้ยอดสะสมสุ่มตรวจตั้งแต่การระบาดระลอกเดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน พบ 5,641 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ88.93
สายพันธุ์เดลตา พบเพิ่ม170 ราย โดยจังหวัดกรุงเทพมหานคร พบมากที่สุด 89 ราย รองลงมาคือเขตสุขภาพที่4 พบ 65 ราย / เขตสุขภาพที่8 พบ 10 ราย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯโดยเฉพาะในแคมป์คนงานก่อสร้าง / เขตสุขภาพที่9 พบ 3 ราย / เขตสุขภาพที่1 พบ 2ราย / และเขตสุขภาพที่5 พบ 1ราย/ ทำให้ยอดสะสมสุ่มตรวจตั้งแต่การระบาดระลอกเดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์เดลตา 664 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 10.47
ส่วนสายพันธุ์เบตา พบเพิ่ม7 ราย ในพื้นที่ภาคใต้ แบ่งเป็น 2 ราย ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นนักเรียนที่กลับมาจากโรงเรียนมารกัสจังหวัดยะลา ที่ในเคสโรงเรียนนี้พบผู้ติดเชื้อโควิดกว่าครึ่ง ซึ่งทั้ง 2 รายเข้าสู่กระบวนการรักษาที่สถานพยาบาลเรียบร้อยแล้ว/ จังหวัดปัตตานี4 ราย / จังหวัดยะลา1 ราย/ รวม ยอดสะสม 38 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ0.60 ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการรักษาเป็นที่เรียบร้อย
สรุปได้ว่า สายพันธุ์ อินเดียเริ่มมีสัดส่วนมากขึ้น ร้อยละ 10.5 / ส่วน สายพันธุ์ เบตา เพิ่มจำนวนขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากพบนอกจังหวัดนราธิวาสแล้ว แต่ยังอยู่ในพื้นที่เฉพาะภาคใต้
ทั้งนี้ สายพันธุ์ เบตา แพร่กระจายได้ช้ากว่าเดลตา และอัลฟา หากพื้นที่คุมโรคได้เร็ว หยุดกาแพร่ระบาดได้ สถานการณ์ก็จะคลี่คลายไม่แพร่กระจายไปที่อื่น
ส่วนการเปิดประเทศ 120 วันอีก 4 เดือน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า การฉีดวัคซีนต่อจากนี้จะต้องครอบคลุมประชาชนจำนวนมาก หรือกว่าครึ่งของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่ sand box ที่ตอนนี้ได้มีการจัดสรรวัคซีนไปแล้ว รวมถึงมาตรการลดการระบาดของสายพันธุ์ที่น่ากังวล ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเปิดประเทศในอีก 120 วัน.
ทั้งนี้ นพ. บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า จากการประชุม EOC ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เสนอการเฝ้าระวังเบตา คือ ให้พื้นที่ ส่งตัวอย่างมาตรวจได้เลยไม่จำกัดจำนวน / อีกทั้งกรณีนักเรียนจากโรงเรียนมารกัส จ.ยะลา ที่หยุดและได้มีการกลับภูมิลำเนานั้น เบื้องต้นได้ให้พื้นที่แจ้งข้อมูลไปที่จังหวัดนั้นๆ เพื่อให้ติดตามเฝ้าระวัง โดยพบว่า ตอนนี้ สามารถติดตามได้หลายรายแล้ว.