ป่วยหนักพุ่ง 1,603 ราย ถึงเวลา 'ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ' หรือยัง?

ป่วยหนักพุ่ง 1,603 ราย ถึงเวลา 'ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ' หรือยัง?

วันนี้ (25 มิ.ย.) จำนวนผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' อาการหนักพุ่ง 1,603 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 460 ราย ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายคนยังคงกังวลว่าสรรพกำลังที่มีจะไม่เพียงพอ กระทั่งมีการเสนอให้ "ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ" หรือ ปิดบางพื้นที่เพื่อควบคุมการระบาด

สถานการณ์แพร่ระบาดของ 'โควิด-19' ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 25 มิ.ย. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' รายใหม่อีก 3,644 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,482 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 162 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 236,291 ราย อีกทั้งยีงมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง

โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 44 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิต สะสมสูงถึง 1,725 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 1,819 ราย นอกจากนี้ ยังมีรายงานถึงกลุ่มคนไข้อาการหนัก 1,603 ราย สูงสุดในรอบเดือนมิ.ย. 64และใส่เครื่องช่วยหายใจ 460 ราย 

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า ตนได้เคยเสนอแนวทางลดผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ไปตั้งแต่การระบาดช่วงแรกๆ เช่น การระบาดที่สถานบันเทิง  โดยให้พิจารณาแนวทางปิดเป็นบางพื้นที่ บางกิจการ ที่มีการแพร่ระบาด จึงต้องมีการปิดโดยทันทีเพื่อควบคุมโรค แต่เสียดายที่แนวทางที่ตนเสนอ ทั้งที่ควรจะทำนานแล้ว

  • 'ล็อกดาวน์กรุงเทพ' บางพื้นที่

ขณะที่ 'การล็อกดาวน์กรุงเทพ' ตนมองว่า ควรที่จะปิดเป็นบางกิจกรรม หรือ บางเขตที่พบการแพร่ระบาด  ไม่จำเป็นที่จะต้องปิดทั้งหมดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  เพราะมองว่าไม่เกิดประโยชน์และอาจจะกระทบกับภาคเศรษฐกิจ แล้วก็ไม่สามารถที่จะประเมินได้ว่าสถานการณ์เชื้อจะลดจำนวนลงเมื่อไหร่เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก

"ย้ำการที่จะควบคุมโรคได้ คือ ตอนนี้ต้องเร่งการฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมประชากรในประเทศ ซึ่งจะเห็นผล จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ควบคู่กับมาตรการทางด้านสังคมและสาธารณสุข หยุดการเคลื่อนที่ของประชากรลง ทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็น หากทุกคนอยากจะกลับไปใช้ชีวิตปกติต้องร่วมมือกัน ในมาตรการต่าง  โดยคาดการณ์ปลายปีหน้า สถานการณ์ covid จะคลี่คลายและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ

ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้มองวัคซีนซีโนฟาร์ม รุ่นการผลิตที่ 2  เพื่อตอบสนองต่อสายพันธุ์อื่นๆ ด้วย รวมถึงพิจารณาวัคซีนยี่ห้ออื่นด้วย ที่จะมารองรับสายพันธุ์ต่างๆและการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่อาจจะต้องมีการฉีดเข็มที่ 3 และเข็มที่ 4

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

  • เสนอ 'ล็อกดาวน์กรุงเทพ' 7 วัน

ก่อนหน้านี้ นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำจดหมายเผยแพร่ในเฟซบุ๊กส่วนตัว พิจารณาสถานการณ์โควิดใน กทม. ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเสนอว่า คำตอบสุดท้ายสำหรับวิกฤติโควิดระลอกสี่ คือ การ 'ล็อกดาวน์กรุงเทพ' อย่างน้อย 7 วัน เพื่อเร่งจัดการปัญหาค้างคา และลดปัญหาใหม่ที่จะพอกพูนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า ที่กว่ามาตรการเด็ดขาดเพื่อลดการเคลื่อนย้ายของประชาชนจะเห็นผล และที่สำคัญถ้าจะทำตามที่เสนอนี้ ต้องห้ามไม่ให้คนกรุงเทพแตกรังออกต่างจังหวัด เหมือนที่เราทำพลาดมาแล้วช่วงสงกรานต์

  • ปิดพื้นที่เสี่ยง แทนล็อกทั้งหมด 

ขณะที่ วันนี้ (25 มิถุนายน 2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.แถลงผลการประชุมศปก.ศบค. ว่า กรมควบคุมโรค เสนอล็อกเป็นจุด ๆ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน 1.ปิดในส่วนพื้นที่ความเสี่ยงสูงให้ปิดเฉพาะพื้นที่นั้น 2. ปิดเฉพาะคนกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าว และ 3. ปิดกิจกรรมและกิจการเสี่ยง มากกว่าปิดทั้งหมด หรือ ปิดทั้งกทม. หรือ ทั้งจังหวัด

“ต่างจังหวัดจะเห็นภาพชัดเจน แทนที่จะล็อกดาวน์ทั้งจังหวัด ก็หารือว่า ตำบลไหนเสี่ยง ตลาดไหน แคมป์คนงานอยู่ที่ไหน แรงงานต่างด้าวพื้นที่ไหนที่ยังมีการเดินทางข้ามพื้นที่ก็ล็อกตรงนั้น ยังมีการหารือกันว่า การล็อกดาวน์อาจจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหา แต่เป็นการจุดชนวนให้เกิดปัญหามากขึ้นหรือไม่”

 

  • ระบบสาธารณสุข ไม่มีวันล่มสลาย

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันว่า ระบบสาธารณสุขไม่มีวันล่มสลาย กระทรวงสาธารณสุขไม่มีวันยอมให้ระบบสาธารณสุขล่มสลาย จะช่วยกันคิดทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ถ้าจำเป็นต้องระดมทั้งประเทศก็ทำมาแล้ว อย่างรพ.บุษราคัมก็ระดมสรรพกำลังบุคลกรเข้ามาร่วมกันทำงานหมุนเวียน 1-2 สัปดาห์ ขณะนี้แพทย์และพยาบาลมีประสบการณ์ในเรื่องการบริหารจัดการปฏิบัติงานภาคสนามจำนวนหลายทีมแล้ว และทุกคนก็เก่งทั้งนั้นประกอบเครื่องมือต่างๆ ได้เอง ขอให้มีความมั่นใจว่าจะไม่ไปถึงจุดนั้น

  • สถานการณ์ 'ผู้ป่วยหนัก' ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1-25 มิ.ย. 64 

1 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,230 ราย
  • ผู้เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,236ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,390 ราย

2 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย
  • เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,247 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 381 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,843 ราย

3 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,886 ราย
  • เสียชีวิต 39 ราย
  • อาการหนัก 1,208 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,626 ราย

4 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,631 ราย
  • เสียชีวิต 31 ราย
  • อาการหนัก 1,182 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,493 ราย

5 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,817 ราย
  • เสียชีวิต 36 ราย
  • อาการหนัก 1,195 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,396 ราย

6 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,671 ราย
  • เสียชีวิต 23 ราย
  • อาการหนัก 1,209 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,424 ราย

7 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,419 ราย
  • เสียชีวิต 33 ราย
  • อาการหนัก 1,233 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,999 ราย

8 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,662 ราย
  • เสียชีวิต 28 ราย
  • อาการหนัก 1,281 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,483 ราย

9 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,680 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,286 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย
  • หายป่วยกลับ บ้าน 4,253 ราย

10 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,310 ราย
  • เสียชีวิต 43 คน
  • อาการหนัก 1,295 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,035 ราย

11 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,290 ราย
  • เสียชีวิต 27 ราย
  • อาการหนัก 1,287 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 352 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 5,711 ราย

12 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,277 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,242 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 362 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 5,273 ราย

13 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,804 ราย
  • เสียชีวิต 18 ราย
  • อาการหนัก 1,215 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 351 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,143 ราย

14 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,355 ราย
  • เสียชีวิต 17 ราย
  • อาการหนัก 1,261 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 360 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,530 ราย

15 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,000 ราย
  • เสียชีวิต 19 ราย
  • อาการหนัก 1,249 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 365 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,774 ราย

16 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,331 ราย
  • เสียชีวิต 40 ราย
  • อาการหนัก 1,306 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 364 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,947 ราย

17 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,129 ราย
  • เสียชีวิต 30 ราย
  • อาการหนัก 1,313 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,651 ราย

18 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,058 ราย
  • เสียชีวิต 22 ราย
  • อาการหนัก 1,360 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,094 ราย

19 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,667 ราย
  • เสียชีวิต 32 ราย
  • อาการหนัก 1,343
  • รายใส่เครื่องช่วยหายใจ 383 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,948 ราย

20 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,682 ราย
  • เสียชีวิต 20 ราย
  • อาการหนัก 1,374 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 390 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,401 ราย

21 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,175 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,436 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 395 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,030 ราย

22 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 4,059 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,479 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 410 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,047 ราย

23 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,174 ราย
  • เสียชีวิต 51 ราย
  • อาการหนัก 1,526 ราย 
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 433 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 1,941 ราย

24 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 4,108 ราย
  • เสียชีวิต 31 ราย
  • อาการหนัก 1,564 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 445 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 1,578 ราย

24 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,482 ราย
  • เสียชีวิต 44 ราย
  • อาการหนัก 1,603 ราย 
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 460 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 1,751 ราย