1 สัปดาห์กับวิกฤติ ‘โควิด-19’ เตียงเต็ม - เดลต้าพุ่ง - เชื้อกระจาย ตจว.
ผ่านมา 1 สัปดาห์กับการระบาดของ 'โควิด-19' ที่ยอดผู้ป่วยเกินครึ่งหมื่น และกระจายไปยังต่างจังหวัดจากการ 'ปิดแคมป์ก่อสร้าง' รวมถึง 'วิกฤติเตียง' รอบรับผู้ป่วยจนต้องมีแนวทาง Home / Community Isolation และส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา
ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา (27 มิ.ย. – 3 ก.ค. 64) เรียกได้ว่าสถานการณ์ 'โควิด-19' ของไทยยังคงวิกฤติจากจำนวนผู้ติดเชื้อ และสถานการณ์เตียง ขณะเดียวกันการ ปิดแคมป์ก่อสร้าง ดูเหมือนจะซ้ำเติมวิกฤติเดิมเข้าไปอีกครั้ง เมื่อเหล่าคนงานทยอยกลับสู่ภูมิลำเนาและเกิดการกระจายเชื้อจากกทม. สู่ต่างจังหวัดกว่า 32 จังหวัด รวมทั้งสถานการณ์เตียงในกทม.ปริมณฑลที่จึง จนต้องระบายผู้ป่วยออกไปรักษาตัวยังต่างจังหวัด และการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์อย่างเดลต้า ที่คาดการณ์การว่าจะครองสัดส่วน 70%
- สั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง
ย้อนกลับไปในวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง ศบค. โดยสาระสำคัญ คือ ปิดแคมป์ก่อสร้าง ห้ามรับประทานอาหารในร้าน ห้ามรวมกลุ่มสังสรรค์ ห้ามจัดงานเลี้ยงรื่นเริง และห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดได้ถึง 3 ทุ่ม ห้ามนั่งรับประทานในร้าน ให้ซื้อกลับได้เท่านั้น ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ประกอบ
1. กรุงเทพมหานคร
2. นครปฐม
3. นนทบุรี
4.นราธิวาส
5. ปทุมธานี
6.ปัตตานี
7.ยะลา
8. สงขลา
9. สมุทรปราการ
10. จังหวัดสมุทรสาคร
ทั้งนี้ ในพื้นที่ กทม. ที่มีการระบาด มาตรการสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่
1.คำสั่งหยุดการก่อสร้างในแคมป์คนงานก่อสร้าง 575 แคมป์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 30 วัน และห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน พร้อมส่งทหาร และ เจ้าหน้าที่ รวม 10,000 นาย เข้าควบคุม
2.ห้ามนั่งทานอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ให้รับกลับบ้านเท่านั้น
3.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า เปิดได้ถึง 21.00 น.
4.ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน
5.การปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 33 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
- ผู้ป่วยหนัก ใส่ท่อ 7 วันย้อนหลัง เป็นอย่างไร
ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. ที่มีการออกคำสั่ง 'ปิดแคมป์ก่อสร้าง' ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่อยู่ที่ 3,994 ราย จนถึง 7 วันล่าสุด จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ทะลุครึ่งหมื่น 6,230 ราย แต่มีผู้ป่วยหายกลับบ้านเพียงครึ่ง 3,159 ราย
27 มิ.ย. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 3,994 ราย
เสียชีวิต 42 ราย
หายป่วย 2,253 ราย
ผู้ป่วยหนัก 1,725 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 489 ราย
28 มิ.ย. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 5,406 ราย
เสียชีวิต 22 ราย
หายป่วย 3,341 ราย
ผู้ป่วยหนัก 1,806 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 510 ราย
29 มิ.ย. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 4,662 ราย
เสียชีวิต 36 ราย
หายป่วย 2,793 ราย
ผู้ป่วยหนัก 1,846 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 527 ราย
30 มิ.ย. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 4,786 ราย
เสียชีวิต 53 ราย
หายป่วย 2,415 ราย
ผู้ป่วยหนัก 1,911 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 556 ราย
1 ก.ค. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 5,533 ราย
เสียชีวิต 57 ราย
หายป่วย 3,223 ราย
ผู้ป่วยหนัก 1,971 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 566 ราย
2 ก.ค. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 6,087 ราย
เสียชีวิต 61 ราย
หายป่วย 3,638 ราย
ผู้ป่วยหนัก 2,002 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 579 ราย
3 ก.ค. 64
ผู้ป่วยรายใหม่ 6,230 ราย
เสียชีวิต 41 ราย
หายป่วย 3,159 ราย
ผู้ป่วยหนัก 2,045 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 589 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เชื้อกทม. กระจาย 32 จังหวัด
มีรายงานจากทาง ศบค. ว่า จังหวัดที่พบรายงานติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นคนเดินทางจาก กทม. และปริมณฑล ทำให้เกิดยอดติดเชื้อในจังหวัดปลายทางถึง 32 จังหวัดดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน พิจิตร นครสวรรค์
ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ อ่างทอง สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี ชลบุรี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) 12 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ มุกดาหาร
ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต
- สายพันธุ์เดลต้าครองสัดส่วน 70%
ส่วนการกลายพันธุ์ของโควิดก็เป็นอีกประเด็นที่น่าห่วง โดย นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา จุฬาฯ โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุถึงพัฒนาการของสายพันธ์ไวรัสโควิด19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้ที่กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิจัยของศูนย์กว่า 700 ตัวอย่าง ในเดือนที่ผ่านมา พบว่าอัตราส่วนในการพบ 'สายพันธุ์เดลต้า' สูงขึ้นเร็วมาก จนขณะนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยเป็นสายพันธุ์เดลต้า สายพันธุ์เดลต้าติดต่อได้ง่ายมาก ดังนั้นในบางครั้งจะไม่รู้เลยว่ารับเชื้อมาจากที่ใด และการระบาดจะเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างมาก
การดูแลป้องกันลดการระบาด จึงเป็นหน้าที่ของทุกคน ในการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด ระเบียบวินัย ใส่หน้ากากอนามัยตลอด ล้างมือใช้แอลกอฮอล์เป็นนิจ กำหนดระยะห่าง ลดจำนวนการรวมคน และต้องตระหนักเสมอว่า โอกาสที่จะติดโรคเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าไม่จำเป็นอยู่บ้านจะดีที่สุด
- 'วิกฤติเตียง' ก.ค. สถานการณ์หนัก
ทั้งนี้ แม้ว่า “นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์” อธิบดีกรมแพทย์ จะบอกว่าเตียงทั้งประเทศนั้น ยังพอรับได้ ในภาครัฐ 70,000 กว่าเตียงทั่วประเทศ แต่ในกทม.และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดทางภาคใต้ สถานการณ์ค่อนข้างหนัก ที่ผ่านมามีการขยายเตียงทั้งไอซียู รพ. และ รพ.สนาม สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีแดงอาจจะขยายได้น้อย เพราะต้องมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ส่วนกลุ่มสีเหลือง และสีเขียวได้ค่อนข้างมาก ทำให้เดือน ก.ค.นี้ คาดว่าสถานการณ์หนักกว่าเดิมอย่างแน่นอน เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และมีคนที่ค้างรอเตียงที่บ้าน 1,000 กว่าคน
- สถานการณ์เตียง กทม. ปริมณฑล
สถานการณ์เตียงของกทม. และปริมณฑล จาก 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน มีเตียงทั้งหมด รวมจำนวน 31,505 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 26,069 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 5,436 เตียง
- ทั้งนี้ จำแนกตามระดับเตียง ได้แก่
เตียงระดับ 3 (สีแดง) จำนวน 1,317 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 1,203 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 114 เตียง
เตียงระดับ 2 (สีเหลือง) จำนวน 12,782 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 11,090 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 1,692 เตียง
เตียงระดับ 1 (สีเขียว) จำนวน 17,404 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 13,776 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 3,628 เตียง
- โรงเรียนแพทย์ ขยายเตียงไอซียู
ปัจจุบัน โรงพยายามในกลุ่มของโรงเรียนแพทย์ ได้มีการขยายเตียงไอซียู รวมประมาณ 50 กว่าเตียง ได้แก่
- รพ.รามาธิบดี พญาไท 16-18 เตียง
- รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ 6 เตียง
- ธรรมศาสตร์ 16 เตียง
- วชิระ 12 เตียง
และมีแผนจะเพิ่มในเดือนส.ค. 10 เตียง และ ก.ย.อีก 20 เตียง อีกทั้ง มีการเปิด รพ.สนามของ ศปก.ศบค. เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น มทบ.11 ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. มีการเพิ่มเตียงจำนวนผู้ป่วยกลุ่มสีแดง 58 เตียง และผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือ 128 เตียง เป็นต้น
- Home Isolation รักษาที่บ้าน
อีกหนึ่งแนวทางแก้ปัญหาเตียงเต็มโดยเฉพาะ ในกทม. และปริมณฑล คือ การให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว รักษาตัวที่บ้าน Home Isolation เช่นในต่างประเทศ โดยเตรียมความพร้อมกับทุก รพ.ทั่วประเทศ เป็นวิธีการให้ผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน โดย รพ.จะทำการส่งข้าว ส่งน้ำ 3 มื้อ และ ติดตามอาการวันละ 2 ครั้ง ทุกวัน จนครบ 14 วัน โดยสิ่งที่ รพ.จะได้เงินสนับสนุนจากสปสช. ได้แก่
1. เงินที่เสมือนเป็นค่าที่ผู้ป่วยนอน รพ.
2. เงินเพิ่มเติมอีก 1000 บาท/วัน สำหรับค่าอาหารผู้ป่วย 3 มื้อจนครบ 14 วัน มีแพทย์ที่ติดตามอาการ
3. ค่าอุปกรณ์ชุดละ 1,100 บาท อย่างน้อยต้องประกอบด้วย 2 ชิ้น คือ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และเครื่องวัดอุณหภูมิ ที่อยู่ในระดับการแพทย์ยอมรับ (Medical Grade) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับวัดออกซิเจนทุกวัน และรายงานให้แพทย์ เพราะหากมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ลง รพ.จะต้องเตรียมรถพยาบาลไปรับผู้ป่วยมาที่ รพ.ทันที
- Community Isolation ดูแลระบบชุมชน
ทั้งนี้ นอกจากการรักษาที่บ้าน Home Isolation แล้ว ยังมีการทำแนวทาง Community Isolation หรือ การดูแลตนเองในระบบชุมชนเพื่อดูแล ผู้ป่วย โควิด-19 ที่อาการอยู่ในระดับสีเขียวหรืออาการไม่รุนแรงใน 23 ชุมชน โดยช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีการจัดตั้งทีม Community Support Workforce ซึ่งประกอบด้วยทีมงานจากสถาบันวิจัยและนวัตกรรมเอชไอวี IHRI และเครือข่ายภาคประชาชนพันธมิตร เช่น เครือข่ายของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ทำหน้าที่รับเคสที่เจอในชุมชน ช่วยประเมินเบื้องต้น ประสานหาที่ตรวจ ประสานหาเตียง โดย สปสช. มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้คนในชุมชนดูแลกันเองได้อย่างเต็มที่ เช่น อาหาร 3 มื้อ อุปกรณ์วัดไข้วัดออกซิเจน รวมทั้งค่าเดินทางกรณีต้องไปโรงพยาบาล
- 23 ชุมชน Community Isolation
เครือข่ายชุมชนเพื่อการพัฒนา
- ชุมชนใหม่ไทรทอง
- ชุมชนเพชรคลองจั่น
- ชุมชนทองกิตติ
- ชุมชนหลวงวิจิตร
- ชุมชนโรงหวาย
เครือข่ายคนไร้บ้าน
บ้านพูนสุข ปทุมธานี
บ้านเตื่อมฝัน เชียงใหม่
เครือข่ายรถไฟสายใต้ตะวันตก
- ชุมชนพุทธมณฑลสาย 2
- ชุมชนฟ้าใหม่ร่วมใจพัฒนา
- หลักหก
เครือข่ายชุมชนใต้สะพาน
- ชุมชนพูนทรัพย์
- ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่
เครือข่ายชุมชนก้าวหน้า
- ชุมชนภูมิใจ
เครือข่ายศูนย์รวมพัฒนาชุมชน
- ชุมชนกระทุ่มเดี่ยว
- ชุมชนริมทางด่วนบางนา
- ชุมชนมีสุข
- ชุมชนทับแก้ว
- ชุมชนเพชรพระราม
- ชุมชนทองสุข
- ชุมชนเมืองใหม่มาลัยทอง
- ชุมชนหลังสน.ทองหล่อ
เครือข่ายชุมชนพระราม 3
- ชุมชนช่องลม
- ชุมชนโรงเคลือบ
- จัดส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา
ขณะเดียวกัน สปสช.ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนถึงโรงพยาบาลทุกแห่งว่า โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาลหรือพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้ดังนี้
1.ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย อัตราจ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสำนักงาน โดยกรณีใช้รถยนต์ จ่ายชดเชยตามระยะทางกรมทางหลวงไป - กลับ โดยจ่ายชดเชยที่คำนวณได้แต่ไม่เกินที่เรียกเก็บ ดังนี้
1.1 ระยะทางไปกลับ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยตามจริงไม่เกิน 500 บาท
1.2 ระยะทางไปกลับ มากกว่า 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยเริ่มต้น 500 บาท และจ่ายชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท
2.ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการรับส่งต่อผู้ป่วย
- 31 จังหวัด รับผู้ป่วยกลับรักษาที่ภูมิลำเนา