ส่อง 'พันธบัตร' ออมทรัพย์ 'ยิ่งออมยิ่งได้' ลงทุนแล้วได้อะไร ?

ส่อง 'พันธบัตร' ออมทรัพย์ 'ยิ่งออมยิ่งได้' ลงทุนแล้วได้อะไร ?

ทำความเข้าใจก่อนซื้อ "พันธบัตร" ออมทรัพย์ "ยิ่งออมยิ่งได้" น่า "ลงทุน" แค่ไหน ซื้อแล้วได้อะไร ?

คลังเปิดขาย "พันธบัตร" ออมทรัพย์ "ย่ิงใช้ยิ่งได้" สำหรับประชาชนทั่วไป และองค์กร ในช่วงวันที่ 12 ก.ค.-23 ก.ค. 64 ซึ่งเป็นการเปิดขายรอบที่ 2 หลังจากที่รอบแรก มีการเปิดขายไปแล้วในวันที่ 5 ก.ค. 64 ที่ผ่านมาในวอลเล็ต สบม. โดยขายหมดอย่างรวดเร็ว

  •  "พันธบัตรออมทรัพย์" ระดมทุนไปทำไม ? 

พันธบัตรรัฐบาล คือการเปิดให้ประชาชนซื้อ "พันธบัตร" เพื่อระดมทุนจากผู้ซื้อ เสมือนขอยืมเงินจากประชาชนเพื่อนำเงินไปใช้เพื่อประโยชน์บางอย่าง โดยพันธบัตรออมทรัพย์ "ย่ิงใช้ยิ่งได้" ในครั้งนี้ รัฐมีวัตถุประสงค์ "ระดมทุนเพื่อนำไปบรรเทาสถานการณ์และเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19" 

- พันธบัตรยิ่งออมยิ่งได้ ที่จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายผ่านธนาคารรอบนี้ เปิดขายวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท 

  •  "พันธบัตร" ออมทรัพย์ "ย่ิงใช้ยิ่งได้" ลงทุนแล้วได้อะไร น่าลงทุนแค่ไหน ? 

ผู้ที่ลงทุนในพันธบัตรจะได้รับ "ผลตอบแทน" ในรูปแบบ "ดอกเบี้ย" และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อถือครองครอบอายุ สำหรับ "พันธบัตรยิ่งออมยิ่งได้" ที่จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายผ่านธนาคาร มีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันตามประเภทของผู้ลงทุน

สำหรับกลุ่ม ประชาชนทั่วไป จำหน่ายรุ่นอายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (Step Up) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.90% ต่อปี

ส่วนกลุ่ม นิติบุคคลไม่แสวงหากำไร (ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด) จำหน่ายรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.20% ต่อปี โดยทั้ง 2 แบบจะมีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี 

162608759111

162608760212

  •  ความเสี่ยงของการลงทุนพันธบัตร 

แม้ว่าพันธบัตรจะเป็นการลงทุนที่ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ และมีโอกาสสูญเงินต้นต่ำ แต่ยังถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ย่อมมีความเสี่ยงในมิติอื่นๆ ตามมาและต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน เช่น

1. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น ระหว่างที่กำลังถือพันธบัตรอยู่ แล้วหากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็จะเสียผลประโยชน์ในจุดนี้ไป

2. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง เพราะพันธบัตรมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น 4 ปี 10 ปี และต้องถือให้ครบตามสัญญาจึงจะได้เงินคืน ไม่สามารถไถ่ถอนก่อนถึงกำหนดเวลาได้ ทำให้ขาดสภาพคล่องได้

3. ความเสี่ยงด้านสภาวะเงินเฟ้อ ในกรณีที่ค่าเงินเฟ้อสูงขึ้นมากๆ แต่ดอกเบี้ยจากพันธบัตรยังเท่าเดิม ก็จะไม่คุ้มค่าที่ลงทุนไป

  •  ช่องทางการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ 

- พันธบัตรยิ่งออมยิ่งได้ ที่จำหน่ายในวอลเล็ต สบม. ในแอพฯ "เป๋าตัง" : จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 5-23 ก.ค. 64 (ปิดจำหน่ายแล้ว)

- พันธบัตรยิ่งออมยิ่งได้ ที่จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายผ่านธนาคาร จำหน่ายตั้งแต่วันที่ 12-23 กรกฎาคม 2564 ผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ได้แก่ "ธนาคารกรุงไทย" "ธนาคารกรุงเทพ" "ธนาคารกสิกรไทย" และ "ธนาคารไทยพาณิชย์" ทั้งในช่องทาง Counter, Internet Banking และ Mobile Banking ของ 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย 

ธนาคารกรุงไทย คลิกที่นี่

ธนาคารกรุงเทพ คลิกที่นี่

ธนาคารกสิกรไทย คลิกที่นี่

ธนาคารไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน หรือรู้ก่อนซื้อ