เปิดรายชื่อ รพ.ปิดทำการ หลังล็อกดาวน์ 6 วัน ป่วยทะลุหมื่น ตาย 141 ราย
ผ่านมาแล้ว 6 วัน 'หลังล็อกดาวน์' 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม อย่างน้อย 14 วัน ตั้งแต่ 12 ก.ค. 64 เป็นต้นมา โดยในวันแรกที่ 'ล็อกดาวน์' มีผู้ป่วย 8,656 ราย จนถึงตอนนี้ผู้ป่วยใหม่กว่า 10,082 ราย เสียชีวิต 141 ราย
หลังจากมีการประกาศ 'ล็อกดาวน์' 10 จังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ห้ามออกจากเคหสถาน ในระหว่างเวลา 21.00 -04.00 น. ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
ตัวเลขในวัน 12 ก.ค. 64 ขณะนั้นมีผู้ป่วยรายใหม่ 8,656 ราย เสียชีวิต 80 ราย ผ่านมา 6 วัน ตัวเลขผู้ป่วยดูจะไม่ลดลงและยังคงเพิ่มขึ้นทะลุหลักหมื่น และผู้เสียชีวิตทะลุร้อย โดยล่าสุด สถานการณ์ในวันที่ 17 ก.ค. 64 ผู้ป่วยรายใหม่ 10,082 ราย เสียชีวิต 141 ราย หากดูตัวเลขย้อนหลังที่ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ได้รวบรวมไว้จะเห็นว่า
- สถานการณ์ 6 วันหลังล็อกดาวน์
12 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 8,656 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 316,164 ราย
- ป่วยสะสมรวม 345,027 ราย
- เสียชีวิต 80 ราย
- เสียชีวิตระลอกใหม่ 2,697 ราย
- เสียชีวิตสะสม 2,791 ราย
- หายป่วย 3,687 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 224,232 ราย
- หายป่วยสะสม 251,658 ราย
- ผู้ป่วยหนัก 2,895 ราย
- ใส่ท่อช่วยหายใจ 747 ราย
13 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 8,685 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 324,849 ราย
- ป่วยสะสมรวม 353,712 ราย
- เสียชีวิต 56 ราย
- เสียชีวิตระลอกใหม่ 2,753 ราย
- เสียชีวิตสะสม 2,847 ราย
- หายป่วย 3,797 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 228,029 ราย
- หายป่วยสะสม 255,455 ราย
- ผู้ป่วยหนัก 3,042 ราย
- ใส่ท่อช่วยหายใจ 794 ราย
14 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 9,317 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 334,166 ราย
- ป่วยสะสมรวม 363,029 ราย
- เสียชีวิต 87 ราย
- เสียชีวิตระลอกใหม่ 2,840 ราย
- เสียชีวิตสะสม 2,934 ราย
- หายป่วย 5,129 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 233,158 ราย
- หายป่วยสะสม 260,584 ราย
- ผู้ป่วยหนัก 3,201 ราย
- ใส่ท่อช่วยหายใจ 828 ราย
15 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 9,186 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 343,352 ราย
- ป่วยสะสมรวม 372,215 ราย
- เสียชีวิต 98 ราย
- เสียชีวิตระลอกใหม่ 2,938 ราย
- เสียชีวิตสะสม 3,032 ราย
- หายป่วย 5,543 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 238,701 ราย
- หายป่วยสะสม 266,127 ราย
- ผู้ป่วยหนัก 3,276 ราย
- ใส่ท่อช่วยหายใจ 839 ราย
16 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 9,692 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 353,044 ราย
- ป่วยสะสมรวม 381,907 ราย
- เสียชีวิต 67 ราย
- เสียชีวิตระลอกใหม่ 3,005 ราย
- เสียชีวิตสะสม 3,099 ราย
- หายป่วย 5,730 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 244,431 ราย
- หายป่วยสะสม 271,857 ราย
- ผู้ป่วยหนัก 3,367 ราย
- ใส่ท่อช่วยหายใจ 847 ราย
17 ก.ค. 64
- ผู้ป่วยรายใหม่ 10,082 ราย
- ป่วยสะสมระลอกใหม่ 363,126 ราย
- เสียชีวิต 141 ราย
- หายป่วย 6,327 ราย
- หายป่วยระลอกใหม่ 250,758 ราย
- ผู้ป่วยล้น รพ.ปิดให้บริการ
ทั้งนี้ จากจำนวนผู้ป่วยหนัก มากกว่า 3,000 ราย ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่า 800 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ที่ทะลุหลักหมื่นไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้มีหลาย รพ. เริ่มปิดให้บริการในส่วนอื่น เช่น ห้องตรวจโรคฉุกเฉิน ห้องตรวจนอกเวลา เป็นการชั่วคราว เนื่องจากผู้ป่วยโควิดตกค้างจำนวนมาก อาทิ
รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ปิดถึง 18 ก.ค. 64
รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกาศผ่านเฟซบุ๊ค โดยระบุว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโควิดตกค้างที่ห้องตรวจโรคฉุกเฉินจำนวนมาก เนื่องจากเตียงรองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ มีบุคลากรติดเชื้อและจำนวนมากต้องได้รับการกักตัว เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ ทางรพ.จึงขอปิดการให้บริการ ห้องตรวจโรคฉุกเฉิน และห้องตรวจโรคนอกเวลาราชการ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค. 64 เวลา 18.00 น.
รพ.ตำรวจ ปิด 16 ก.ค. เป็นต้นไป
สำหรับ รพ. ตำรวจ ระบุงดให้บริการเนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 หลายราย จากการดูแลรักษผู้ป่วยโควิด-19 จึงแจ้งแนวทางในการให้บริการ ได้แก่ งดรับผู้ป่วยใหม่ ยกเว้นกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน , งดรับบริการ ห้องฉุกเฉิน อุบัติเหตุ เปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่มีความจำเป็นเร่งด่วน , งดผ่าตัด และหัตถการที่ไม่จำเป็น ยกเว้น กรณีฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน , ลดการให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) และ งดเยี่ยม ผู้ป่วยใน ประกาศ ณ วันที่ 16 ก.ค. 64 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
รพ.รามาฯ งดผ่าตัดนัดล่วงหน้า-บริการห้องฉุกเฉิน
ด้าน รพ.รามาธิบดี แจ้งผ่านทางเฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital เผยแพร่ประกาศของ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ข้อความว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง มีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รับไว้ดูแล 1,000 ราย ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) กว่า 350 ราย ผู้ป่วยรอค้างเข้ารักษาในโรงพยาบาลกว่า 200 ราย และรอค้างที่ห้องฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก
ภายใต้มาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้บุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในคณะฯ ติดเชื่อสะสมกว่า 300 ราย ทำให้โรงพยาบาลขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่จะดูแลผู้ป่วย การให้บริการใกล้ถึงขั้นเกินขีดความสามารถที่จะสามารถดูแลประชาชน ดังนั้น โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงขอประกาศมาตรการดังต่อไปนี้
1. งดผ่านตัดที่นัดล่วงหน้า (Elective Case) ทุกประเภท ยกเว้นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินเท่านั้น
2. งดการให้บริการที่ห้องฉุกเฉิน ยกเว้นในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
3. ลดการตรวจที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก นัดตรวจทางไกล Telemedicine และรับยาทางไปรษณีย์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มีความห่วงใยประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน ขอให้ท่านปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 และปฏิบัติตามาตรการ DMHTT อย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ
- มาตรการบังคับใช้ ทั่วประเทศ ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หากย้อนมาดูมาตรการที่บังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา มีการปิดหรืองด กิจการ กิจกรรม ในแต่ละจังหวัดตามระดับสีและการแพร่ระบาด ได้แก่
- กิจการ/กิจกรรมที่ปิดทั้งหมดทั่วประเทศ : จากข้อกำหนดดังกล่าว เมื่อรวมกับที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ สิ่งที่ยังปิดต่อเนื่อง คือ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ยังคงไม่อนุญาตให้เปิดบริการได้
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม : ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ยกเว้น 10 จังหวัดสีแดงเข้ม สามารถนั่งทานในร้านได้ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดในพื้นที่สีแดง, สีส้ม หรือ สีเหลือง ตามประกาศผ่อนคลายมาตรการ ซึ่งมีผลวันที่ 21 มิ.ย.64
แต่ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ "จังหวัดสีเหลือง" เท่านั้นที่ไม่มีข้อห้ามเรื่องงดการดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน แต่ต้องยึดตามประกาศคำสั่งของแต่ละจังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกิน 3 ทุ่ม เป็นต้น
- ส่วน จังหวัดสีแดงเข้ม, จังหวัดสีแดง และ จังหวัดสีส้ม ยังคงห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน ซึ่งต้องยึดตามสีจังหวัดล่าสุด ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 ก.ค.64 และให้มีผลตั้งแต่ 12 ก.ค.64 เช่น จ.นครราชสีมา ตามประกาศเดิมถือเป็นจังหวัดสีเหลือง สามารถนั่งดื่มในร้านได้ แต่ล่าสุด ถูกปรับให้เป็น จังหวัดสีส้ม ซึ่งยังคงห้ามดื่มหรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านนั่นเอง
- การขนส่งสาธารณะ : ให้มีการเดินทางให้น้อยที่สุดในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และไม่ให้มีการเดินทางเลยใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ระหว่างเวลา 21.00-04.00 น.
- การเดินทางข้ามจังหวัด : เป็นมาตรการบังคับใช้ทั่วประเทศ ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรณีที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และอาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าปกติ
โดยกรณีที่จำเป็นต้องเดินทาง ผู้เดินทางควรศึกษาเงื่อนไข หรือระเบียบของ "จังหวัดปลายทาง" ว่ามีเงื่อนไขอย่างไร เพื่อเตรียมเอกสารจำเป็นก่อนเดินทาง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะเข้มงวดเป็นพิเศษ ในการคัดกรองเส้นทางการเข้าออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึง4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- เล็งขยายพื้นที่ 'ล็อกดาวน์' เพิ่ม
แต่จากวิกฤตโควิด-19 ที่ดูท่าจะไม่ลดลงและเริ่มเกินศักยภาพของโรงพยาบาล กระทั่งวานนี้ (16 ก.ค. 64) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ใจความว่า หลังจากที่ประกาศยกระดับการควบคุมสถานการณ์ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม พร้อมทั้ง ประกาศเคอร์ฟิวและจำกัดการเดินทาง ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงไม่ลดลง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และจังหวัดอื่นๆ ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น
ในวันนี้ ที่ประชุมจึงมีมติว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการจำกัดการเดินทางของประชาชนให้มากที่สุด และเพิ่มการปิดสถานที่ต่างๆ ให้เหลือเท่าที่จำเป็น รวมทั้งการออกกฎการทำงานที่บ้านอย่างสูงสุด โดยศึกษาจากรูปแบบการล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ เพื่อทำเป็นมาตรการเสนอต่อ ศบค. อย่างเร่งด่วนเพื่อดำเนินการโดยเร็วที่สุด รวมถึง ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด โดยเฉพาะใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ได้เตรียมความพร้อมในการยกระดับการควบคุมการเดินทางที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดในแต่ละจังหวัด โดยให้คงความเข้มงวดแต่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิด 12 ข้อ คำสั่ง นายกฯ 'ล็อกดาวน์’ และ 'เคอร์ฟิว’ 10 จังหวัด ราชกิจจาฯประกาศแล้ว
- เล็งขยายพื้นที่ 'ล็อกดาวน์' เพิ่ม หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สูงต่อเนื่อง
- 10 จังหวัด 'ล็อกดาวน์' จ่อยกระดับ! 'นายกฯ' สั่งผู้ว่าฯ จังหวัดสีแดงเข้ม เตรียมจำกัดการเดินทาง ปิดสถานที่เพิ่ม
- คนไทยฉีดวัคซีนไปแล้วเท่าไหร่
เมื่อดูยอดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวันนี้ มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนไปแล้ว ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 15 ก.ค. 2564 รวม 13,823,355 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 10,424,925 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 3,398,430 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)
ขณะนี้ ประเทศไทยมีวัคซีน 3 ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนฟาร์ม และภายในไตรมาส 4 จะมีวัคซีนชนิด mRNA เป็นความหวังของทุกคนที่จะสกัดกั้นสายพันธุ์เดลต้า ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์ 20 ล้านโดส และได้รับการบริจาค 1.5 ล้านโดส รวมถึง โมเดอร์นา วัคซีนทางเลือกที่เอกชนนำเข้า เป้าหมายของรัฐบาล คือ ฉีด 100 ล้านโดส ครอบคลุม 70% ของประชากรภายในสิ้นปี มีการประกาศเปิดประเทศภายใน 120 วันหรือราว ต.ค. 64
เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้ความเห็นในงานว่า NATION TV Virtual Forum #2 ว่า ในเวลานี้โจทย์สำคัญ นอกจากการบริหารจัดการวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด “ยารักษา” ที่จะสามารถสู้กับไวรัสได้โดยตรง ซึ่งอยู่ในกระบวนการศึกษา ผลิต กำลังจะออกในอนาคต และ “การตรวจ” ได้ง่ายและเร็ว