อัพเดท ‘สายพันธุ์โควิด’ ตัวไหนเข้าไทยแล้ว? พร้อมเช็ค ‘อาการโควิด’ แยกตามสายพันธุ์

อัพเดท ‘สายพันธุ์โควิด’ ตัวไหนเข้าไทยแล้ว? พร้อมเช็ค ‘อาการโควิด’ แยกตามสายพันธุ์

ส่อง 5 "สายพันธุ์โควิด" ประเทศไทยมีตัวไหนบ้าง รุนแรงขนาดไหน วัคซีนไหนที่รับมือได้บ้าง?

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทย ณ วันนี้ยังคงเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องเกือบ 14,000 ราย สภาพโดยรวมยังคงต้องเฝ้าระวังและป้องกันตนเองกันอย่างสูงเพื่อไม่ให้ตนเองเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อ 

ในขณะเดียวกันทั่วโลกพบสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์แล้วจำนวน 11 สายพันธุ์ โดยประเทศไทยเองก็มีสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์อยู่ไม่น้อย ซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดู ไทม์ไลน์ 5 สายพันธุ์โควิด ประเทศไทยมีสายพันธุ์ไหนบ้าง อาการโควิด และความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์เป็นอย่างไร และ "ประสิทธิภาพวัคซีน" ยี่ห้อไหนที่ป้องกันได้บ้าง?” (ข้อมูลรวบรวม ณ 22 ก.ค. 64)

162755127548

เปิดไทม์ไลน์ โควิดสายพันธุ์กลายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย

(ตั้งแต่ มกราคม 2563 - กรกฎาคม 2564)

  • สายพันธุ์ที่ 1 : สายพันธุ์อู่ฮั่น (Serine)  

รหัสไวรัส : S

สถานที่พบครั้งแรก : อู่ฮั่น ประเทศจีน

พบในประเทศไทย : พบครั้งแรก มกราคม 2563

การระบาดในไทย : ผู้หญิงซึ่งมีอาการติดเชื้อเดินทางจากเมืองอู่ฮั่นเข้าประเทศไทย โดยเชื้อไวรัสโควิดได้กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ คลัสเตอร์สนามมวยที่ลุมพินี ราชดำเนิน และอ้อมน้อย

อาการจากโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่น อาการทั่วไปสามารถมีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย หากมีอาการรุนแรงจะมีลักษณะหายใจลำบาก-หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

    

  • สายพันธุ์ที่ 2 : เบตา (Beta)

รหัสไวรัส: B.1.351

ไวรัสประเภท: สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) 

สถานที่พบครั้งแรก : ประเทศแอฟริกาใต้

พบในประเทศไทย : พบครั้งแรก มกราคม 2564

การระบาดในไทย : พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เบตารายแรกในไทยเป็นบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศแทนซาเนีย เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา 

อาการจากโควิดสายพันธุ์เบตา : ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บคอ ท้องเสีย ปวดศีรษะ ตาแดง รับรส-รับกลิ่นผิดปกติ และมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

เมื่อโควิดลงปอด จะหายใจลำบาก หายใจถี่ มีเสมหะในปอด เจ็บหน้าอก และสูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

วัคซีนที่รับมือโควิดสายพันธุ์ "เบตา" ได้ดี : 

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค  86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค  89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค  35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Johnson & Johnson: ป้องกันโรค  64% ป้องกันติดเชื้อ 57%

Spunik-V: ป้องกันโรค  59% ป้องกันติดเชื้อ 52%

Novavax: ป้องกันโรค  49% ป้องกันติดเชื้อ 43%

Sinopharm: ป้องกันโรค  47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

   

  • สายพันธุ์ที่ 3 : อัลฟา (Alpha)

รหัสไวรัส: B.1.1.7

ไวรัสประเภท: สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) 

สถานที่พบครั้งแรกใน : สหราชอาณาจักร

พบในประเทศไทย : เมษายน 2564

การระบาดในไทย : มีการแพร่กระจายเริ่มต้นจาก "คลัสเตอร์ทองหล่อ" จากนั้นแพร่กระจายครอบคลุมไปเกือบทุกจังหวัด

อาการจากโควิดสายพันธุ์อัลฟา และความรุนแรง แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% 

มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดตามร่างกายและศีรษะ และการรับรส-ได้รับกลิ่นผิดปกติ

วัคซีนที่รับมือโควิดสายพันธุ์ "อัลฟาได้ดี : 

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค  91% ป้องกันติดเชื้อ 86%

Moderna: ป้องกันโรค  94% ป้องกันติดเชื้อ 89%

AstraZeneca: ป้องกันโรค  74% ป้องกันติดเชื้อ 52%

Johnson & Johnson: ป้องกันโรค  72% ป้องกันติดเชื้อ 72%

Spunik-V: ป้องกันโรค  92% ป้องกันติดเชื้อ 81%

Novavax: ป้องกันโรค  89% ป้องกันติดเชื้อ 79%

Sinopharm: ป้องกันโรค  73% ป้องกันติดเชื้อ 65%

   

  • สายพันธุ์ที่ 4: แกมมา (Gamma)

รหัสไวรัส : P.1

ไวรัสประเภท : สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) 

สถานที่พบครั้งแรก : ประเทศบราซิล

พบในประเทศไทย : พฤษภาคม 2564

การระบาดในไทย : ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบาดของสายพันธุ์แกมมาในไทย มีเพียงแต่การพบในผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และพักในสถานกักกันของรัฐ จำนวนหนึ่งราย

อาการจากโควิดสายพันธุ์แกมมา  :  รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง มีความสามารถแพร่ระบาดวนเวียนอยู่ในหมู่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วได้ด้วย แม้พื้นที่นั้นๆจะมีการฉีดวัคซีนที่สูงก็ตาม (ลดประสิทธิภาพวัคซีน)

วัคซีนที่รับมือโควิดสายพันธุ์แกมมาด้ดี  : 

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค  86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค  89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค  35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Johnson & Johnson: ป้องกันโรค  64% ป้องกันติดเชื้อ 57%

Spunik-V: ป้องกันโรค  59% ป้องกันติดเชื้อ 52%

Novavax: ป้องกันโรค  49% ป้องกันติดเชื้อ 43%

Sinopharm: ป้องกันโรค  47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

   

  • สายพันธุ์ที่ 5 : เดลตา (Delta)

รหัสไวรัส : B.1.617.2

ไวรัสประเภท : สายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล (Variant of Concern; VOC) 

สถานที่พบครั้งแรก : ประเทศอินเดีย

พบในประเทศไทย: พฤษภาคม 2564

การระบาดในไทย : เริ่มพบในคลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ จากนั้นแพร่กระจายเป็นวงกว้างไปทั่วทุกพื้นที่ในปัจจุบัน และเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทย

อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลตา : สายพันธุ์นี้เป็นที่อันตรายอย่างมากในไทย เพราะทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในขั้นวิกฤต สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดแต่มีความซับซ้อนเพราะแม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบถึงสองโดสแล้ว อาการก็ยังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง (ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่เจอสายพันธุ์เดลตาพลัสเพิ่มเติม) 

อาการในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน หรือได้รับวัคซีนแล้วหนึ่งโดส: ปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เป็นไข้ และไอบ่อย

อาการของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วจำนวนสองโดส: ปวดศีรษะ ไอ จาม เจ็ยคอ และในบางรายมีการสูญเสียการได้กลิ่น 

นอกจากนี้อาการที่เห็นได้ชัดของผู้ที่ติดโควิดสายพันธุ์เดลตานี้ ในผู้ที่มีอายุน้อยมักไม่แสดงอาการ แต่อันที่จริงแล้วอาจอยู่ในระยะแพร่เชื้อแล้ว และแม้ว่าฉีดวัคซีนแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อได้และอาจมีอาการเข้าขั้นหนัก ดังนั้นการต้องปลีกวิเวกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการติดเชื้อด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม และสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด

วัคซีนที่รับมือโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดี

Pfizer/BionTech: ป้องกันโรค  86% ป้องกันติดเชื้อ 82%

Moderna: ป้องกันโรค  89% ป้องกันติดเชื้อ 85%

AstraZeneca: ป้องกันโรค  35% ป้องกันติดเชื้อ 31%

Johnson & Johnson: ป้องกันโรค  64% ป้องกันติดเชื้อ 57%

Spunik-V: ป้องกันโรค  59% ป้องกันติดเชื้อ 52%

Novavax: ป้องกันโรค  49% ป้องกันติดเชื้อ 43%

Sinopharm: ป้องกันโรค  47% ป้องกันติดเชื้อ 41%

หมายเหตุ: ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการรักษาโควิดสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ อ้างอิงจาก Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) ตีพิมพ์ 4 มิถุนายน 2564

อ้างอิง: IHME, WHO, CDC