นร.-นศ.เฮ! ครม.อนุมัติ 'ลดค่าเทอม' พร้อมจ่ายเยียวยาคนละ 2,000 บาท ลด 50%

นร.-นศ.เฮ! ครม.อนุมัติ 'ลดค่าเทอม' พร้อมจ่ายเยียวยาคนละ 2,000 บาท ลด 50%

ครม.อนุมัติ มาตรการ 'ลดค่าเทอม' ช่วยเยียวยานักเรียนจ่ายคนละ 2,000 บาท ขณะที่นักศึกษา ลด 50% ด้วยวงเงินงบประมาณกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท

วันนี้ (27 ก.ค.) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พิจารณาอนุมัติ แนวทางการช่วยเหลือผู้ปกครองและนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด โดยเฉพาะมาตรการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเรียนให้นักเรียน-ผู้ปกครอง รายละ 2,000 บาท วงเงินงบประมาณ 23,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 ดังนี้

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เสนอมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ปกครองและนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ กรอบวงเงิน10,000 ล้านบาท

โดยจะลด ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสูงสุดถึงร้อยละ 50 ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณให้ร้อยละ 60 และสถาบันอุดมศึกษาสมทบอีกร้อยละ 40 

ขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐบาลจะสนับสนุนลดค่าเล่าเรียนค่าธรรมเนียมการศึกษาคนละ 5,000 บาท และให้ทางสถาบันอุดมศึกษาเอกชนพิจารณาลดค่าเล่าเรียนเพิ่มเติม ตลอดจนการสนับสนุนมาตรการอื่นๆ ให้กับนักศึกษา อาทิ การขยายเวลาผ่อนชำระค่าเล่าเรียน การจัดหาอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษายืมเพื่อใช้ในศึกษาออนไลน์  

 

  • เช็คมาตรการเยียวยาจ่ายนร.คนละ 2,000 บาทของศธ.

สำหรับ มาตรการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเรียนให้นักเรียน-ผู้ปกครอง มีรายละเอียดดังนี้

1.การให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาโดยเป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา ในวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสายสามัญศึกษาและสายอาชีพ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในอัตรา 2,000 บาทต่อคน กรอบวงเงินงบประมาณ 23,000 ล้านบาท

โดยใช้ฐานข้อมูลเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งเงินนี้เป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายในการเรียนที่เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด 19 ใช้วิธีการจ่ายเงินตรงให้ผู้ปกครองนำไปใช้ตามความจำเป็น เช่น ค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า เป็นต้น

2. เป็นการขอความร่วมมือจากโรงเรียนเอกชน ให้ลด หรือตรึงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ปกครองในโรงเรียนเอกชนกลุ่มที่ไม่รับการอุดหนุนจากรัฐ และกลุ่มโรงเรียนนานาชาติ ให้เท่ากับปีการศึกษา 2563 เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร

3. เป็นการลดช่องว่างการเรียนรู้ (Learning Gaps) และลดผลกระทบด้านความรู้ ที่ขาดหายไป (Learning Loss)โดยให้สถานศึกษาสามารถถัวจ่ายเงินที่ได้รับจัดสรรตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ใน 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อใช้จัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดในปีการศึกษา 2564 ได้

รวมถึงจัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้สถานศึกษาอีกส่วนหนึ่ง เพื่อใช้จัดการเรียนรู้และแก้ปัญหาความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของสถานศึกษา และจัดทําสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้หลากหลายที่เหมาะสมกับวัย ลดการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์โดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียน อนุบาล-ป.3 ขณะเดียวกัน ศธ.จะจัดเช่าอุปกรณ์ (Devices) พร้อมสัญญาน จํานวน 200,000 ชุด สําหรับให้นักเรียน/นักศึกษา กลุ่ม ป.4 – ม.6 และ อาชีวศึกษา ใช้ยืมเรียน รองรับการเรียนแบบออนไลน์

4.เป็นการช่วยเหลือผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงานโดยจะมีการจัดฝึกอบรมด้านอาชีพสําหรับผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการอบรมฟรีรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ในอัตรา 2,000 บาทต่อคน พร้อมทั้งประสานเชื่อมโยงกับแหล่งทุนเพื่อจัดหาทุนเริ่มต้นประกอบอาชีพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: สั่งลด 'ค่าเทอม'ในม.รัฐ 50% เอกชนหัวละ 5,000 บาท ช่วย 'นักศึกษา'กว่า 1.75 ล้านคน

                   เช็ค! 4 มาตราการ 'ลดภาระค่าใช้จ่าย' นร.-ผู้ปกครอง-โรงเรียนได้อะไรบ้าง?

                   เช็คเลย! เยียวยา 'ประกันสังคม' แต่ละกลุ่ม โอนเงินวันไหนบ้าง?

                  

  • นักศึกษา-นิสิต ได้รับการเยียวยาค่าเทอม 50%

สำหรับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

1. สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ จะลด 'ค่าเทอม' และค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยกำหนดเป็น 3 ขั้น 

ขั้นที่ 1 ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษา ร้อยละ 50%

ขั้นที่ 2 ส่วนตั้งแต่ 50,001 – 100,000 บาท ลด 30 %

ขั้นที่ 3 ส่วนตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับส่วนลดนี้ร้อยละ 60 %และสถาบันอุดมศึกษาสมทบร้อยละ 40%

2.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐบาลจะสนับสนุนลด ค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษาคนละ 5,000บาท และให้ทางสถาบันอุดมศึกษาเอกชแต่ละแห่งพิจารณาลดค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมและสนับสนุนมาตรการอื่นๆ เช่น ขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา

ตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษาจัดหาอุปกรณ์/ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษายืมเพื่อใช้ใน ศึกษาออนไลน์ ส่วนลดค่าหอพักนักศึกษา จัดสวัสดิการพิเศษกรณีนักศึกษาป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะเริ่มใช้ทันทีในภาคศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยจะมีนิสิต นักศึกษาที่ได้รับประโยชน์เป็นจำนวนถึง 1,750,109 คน