เช็ค!ช่องทางติดต่อเข้ารักษาโควิด19'รพ.บุษราคัม'
รพ.บุษราคัมเผยรับผู้ป่วยกลับบ้าน-รับใหม่วันละราว 300 คน ปรับพื้นที่ลานจอดรถเป็นห้องไอซียูสนาม 17 เตียง รองรับดูแลผู้ป่วยวิกฤต ปรับระบบการดูแลรักษาช่วยผู้ป่วยเข้าถึง…เร็วขึ้น เผยช่องทองเข้ารับการดูแลรักษา
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ประเด็น การบริหารจัดการรพ.บุษราคัม นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะผู้อำนวยการรพ.บุษราคัม กล่าวว่า รพ.บุษราคัมเปิดบริการมาแล้ว 82 วัน มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาสะสม 14,213 คน ยังคงรักษาในรพ.จำนวน 3,333 คน กลับบ้านแล้วประมาณ 11,000 คน ผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจน 450 คน ยังจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนไฮโฟลว 169 คน ใช้เครื่องช่วยหายใน 2 คน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม กลับบ้าน 287 คน รับเข้าใหม่ 378 คน อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยใช้ออกซิเจนลดลง จากเดิม 750 คน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม จำนวน 450 คน แต่ยังใช้เครื่องไฮโฟลวยังสูงเช่นเดิม 160-180 คนต่อวัน ใส่ท่อช่วยหายใจ 8-10คนต่อวัน ทุกวัน
“ผู้ป่วยที่ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจและใส่ท่อช่วยหายใจ จากการรอคอยส่งต่อไปรพ.ที่มีศักยภาพสูงกว่านานเพราะมีข้อจำกัดเรื่องเตียงในภาวะวิกฤตในกทม.และปริมณฑล ทำให้ส่งต่อยาก รพ.บุษราคัมจึงจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยวิกฤติโดยรพ.เอง ซึ่งสถานที่เดิมไม่ได้จัดตั้งรองรับการดูแลไอซียู แม้ที่ผ่านมาจะดูแลผู้ป่วยวิกฤติมาโดยตลอด อีโอซี สธ.จึงได้อนุมัติให้รพ.ตั้งไอซียูสนามเป็นหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉพาะขึ้นต่างหาก ภายนอกอาคารชาเลนเจอเมืองทองธานี โดยใช้พื้นที่ลานจอดรถด้านหลัง สร้างเสร็จแล้วใน 1 สัปดาห์ จะรับผู้ป่วยหนักจากที่รักษาอยู่ในรพ.บุษราคัมเข้าดูแลรักษาในวันที่ 4 สิงหาคมเป็นวันแรก ราว 3-5 คน และจะขยายรับจนเต็มจำนวน ที่มีทั้งหมด 17 เตียง เป็นไอซียูรวม 13 เตียง และไอซียูที่เป็นห้องแยกผู้ป่วยความดันลบ 4 เตียง ภายในไอซียูสนามโครงสร้างกึ่งถาวรมีเครื่องมือเทียบเท่ามาตรฐานไอซียูอย่างครบครัน มีทีมแพทย์เฉพาะทาง พยาบาลหไอซียูจากต่างจังหวัดมาดูแล”นพ.กิตติศักดิ์ กล่าว
นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการปรับระบบการดำเนินการของรพ.บุษราคัมในการดูแลผู้ป่วย ได้มีการจัดพื้นที่แยกส่วนระหว่างผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางและผู้ป่วยที่แข็งแรงกว่าเป็นส่วนๆ เพื่อเป็นฟาสต์แทร็ก นอกจากนี้ ในเรื่องการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยระหว่างการดูแลรักษาที่ดีขึ้นมีการเพิ่มจำนวนรถเข็นในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย ทำให้สามารถเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายตัวเอง เช่น ไปห้องส้วมได้สะดวกขึ้น ส่วนที่ไม่สะดวกไป มีเก้าอี้นั่งถ่ายและเลือกเป็นกล่องกระดาษสำหรับขับถ่ายได้ รวมถึง ได้รับการสนับสนุนเตียงลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ช่วยป้องกันแผลกดทับ หรือคนไข้กลุ่มอาการหนักวิกฤตเพราะขยับเคลื่อนตัวได้น้อยมาก และคนไข้ที่มีแผลกดทับ และมีการเปลี่ยนเตียงกระดาษที่ใช้มาระยะหนึ่งแล้วอาจจะมีการชำรุด
ส่วนการลดภาระงานของพยายาลที่เข้าปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่มีความกว้าง และขนาดใหญ่มาก เป้าหมายลดระยะเวลางานลง ลดระยะเวลาการสัมผัส และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษารวดเร็วโดยคนไข้ที่เข้าจุดแรกรับถ้าจำเป็นต้องเจาะเลือดก็ให้ดำเนินการทันที ไม่ต้องรอเจาะในหอผู้ป่วยและถ้าจำเป็นต้องรับยาให้ได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่จุดแรกรับ เป็นการช่วยลดภาระงานและผู้ป่วยเข้าถึงการักษาเร็วตั้งแต่แรก นอกจากนี้ ได้รับการสนับสนุนกำลังพลทหารในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยภายในหอผู้ป่วย ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากสำหรับพยาบาลที่ทำงานภายในที่ส่วนใหญ่เป็นผุ้หญิง
นพ.กิตติศักดิ์กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรพ.มีคนไข้กลับบ้านเมื่อถึงเกณฑ์การรักษาครบถ้วนตามาตรฐานกรมการแพทย์ ประมาณ 200-300คนต่อวัน ก็จะพยายามรับใหม่มากกว่าหรือเท่ากับจำนวนที่กลับบ้าน เพื่อให้ใช้เตียงที่มีให้มากที่สุด ภายใต้ทรัพยากรบุคคลที่มีกำลังดำเนินการได้ ซึ่งช่องทางการเข้าสู่การรักษาที่รพ.บุษราคัม โดยปกติจะรับผู้ป่วยผ่านระบบคอลเซ็นเตอรต่างๆที่จัดคนไข้มา ทั้ง 1669 ,1668 ,1330 จากรพ.โรงเรียนแพทย์ ในกทม. รพ.สังกัดกรมต่างๆของสธ. เช่น รพ. ราชวิถี สถาบันบำราศนราดูน และรับจากปริมณฑลผ่านการประสานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ที่ส่งต่อผู้ป่วยจากจังหวัดนั้นๆเข้ามา และอาจจะมีได้รับประสานจากองค์กร มูลนิธิหรือเอ็นจีโอต่างๆที่เป็นเครือข่ายจิตอาสานำผู้ป่วยเข้ามารักษา ซึ่งหากเข้าเกณฑ์รพ.ก็รับไว้รักษาทั้งหมด
“ในช่วงที่มีภาวะวิกฤตภายใต้โรคระบาดต่อเนื่องยาวนานและต่อเนื่องอีกระยะหนึ่งตามการระบาดธรรมชาติของโรคเอง สิ่งที่จะช่วยดูแลกันได้ คือ ตัวของเราทุกคน ต้องมีมาตรการส่วนตัวตามข้อแนะนำ ใส่หน้ากาอนามัยตลอดเวลา แม้อยู่ในบ้าน ล้างมือบ่อยๆเมื่อสัมผัสใดๆก็ตาม หลีกเลี่ยงอย่างยิ่งในการเข้าไปในสถานที่แออัด ซึ่งมาตรการสังคมภายใต้ศบค.ที่ออกมาต่อเนื่อง ขอความร่วมมือประชาชนลดการเคลื่อนที่ให้มากที่สุด ทั้งใช้ยานพาหนะหรือเข้าไปสู่สถานที่ใดๆ อยู่กับบ้านให้มากที่สุด และเมื่อถึงเกณ์การฉีดวัคซีนให้ร่วมมือไปฉีดตามเวลา เชื่อว่าระยะเวลาหนึ่งจะดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนการรับรู้ข่าวสารต้องมีสติ ไม่ด่วนตัดสินใจภายใต้ความเชื่อหรือไม่ใช่ความจริงทั้งหมด”นพ.กิตติศักดิ์กล่าว