แนวปฏิบัติเมื่อมีผู้เสียชีวิต'โควิิด19'นอกรพ.

แนวปฏิบัติเมื่อมีผู้เสียชีวิต'โควิิด19'นอกรพ.

กรมอนามัยแนะแนวปฏิบัติหากมีผู้เสียชีวิตโควิด19นอกรพ. ย้ำจุดสำคัญเผา-ฝังป้องกันการแพร่เชื้อ            

      นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดำเนินการเมื่อมีผู้เสียชีวิตจากโควิด19 แยกเป็น 2 กรณี คือ 1.กรณีเสียชีวิตในรพ. กลไกระบบรพ.มีทีมจัดการศพ และประวัติการรักษาของทีมแพทย์ครบถ้วน การออกหนังสือรับรองการเสียชีวิตมีการออกจากในสถานพยาบาลให้กับญาติดำเนินการเพื่อแจ้งการเสียชีวิตได้

     

 

 

และ2.กรณีเสียชีวิตนอกรพ. ประชาชนจะต้องแจ้งองค์กรสาธารณกุศล หรือโทร 1669 เข้าไปช่วยเหลือ จะต้องดูแลเรื่องบรรจุศพให้ได้ตามมาตรฐาน หลังได้รับแจ้งแล้วเจ้าหน้าที่แจ้งผู้เกี่ยวข้องในการเข้าไปชันสูตร เป็นสถานพยาบาลใกล้เคียงหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาจจะมีการบันทึกสภาพศพต่างๆ เก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆเพื่อลงสาเหตุการตาย และขอรับหนังสือรับรองการตายจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผู้ใหญ่บ้าน หลังจากนั้นนำเอกสารที่ได้รับไปแจ้งการตายกับนายทะเบียนที่เขต อำเภอ หรือเทศบาลจะออกใบมรณบัตรให้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเสร็จแล้วสามารถนำใบมรณบัตรไปแจ้งรพ.นำศพออกจากรพ.และนำไปประกอบพิธีทางศาสนา

     

กรณีการเผาศพ  เมรุเผาศพส่วนใหญ่เตาเผาในกทม.และปริมณเป็นแบบ 2 ห้อง คือ เผาที่อุณหภูมิ  760 องศาเซลเซียส และเผาควันที่อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ตรงนี้สิ่งสำคัญคือเน้นยำกระบวนการเผาให้หลีกเลี่ยงเปิดประตูเผาศพเพื่อเขี่ยหรือพลิกศพเหมือนอดีต เพราะจะทำให้อุณหภูมิลดลง ถ้าหากฟุ้งกระจายอาจจะเกิดขึ้นได้ และการเก็บกระดูกเพื่อบำเพ็ญกุศล หลังเสร็จสิ้นการเผาสามารถดำเนินการ เพราะเชื้อโรคทุกชนิดจะตายหมดรวมถึงโควิด19ด้วย  ไม่ต้องกังวลเรื่องของอัฐิ

     กรณีการฝัง กลไกการฝัง จุดสำคัญคือเน้นย้ำว่าไม่ให้ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไปเปิดหรือถุงซิบหรือทำให้สลายหรือปริแตก เพราะจะทำให้ของเหลวหรือสารคัดหลั่งรั่วซึมออกมาทำให้แพร่เชื้อได้ จำเป็นต้องฝังทั้งถุงทั้งหมดหรือทั้งโรง และเชื้อจะตายไปเอง เพราะเชื้อจะต้องอยู่กับคนเป็น  หากอยู่ในคนตายเชื้อจะตายไปด้วย