เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 และ ม.39 แก้ปัญหาเงินไม่เข้า ต้องทำยังไง?
ใครเงินยังไม่เข้ารีบเลย! "เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40" และ ม.39 รมว.แรงงาน เผยโอนเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท แล้วกว่า 5.5 ล้านคน กลุ่มตกหล่น 2 แสนกว่าราย ที่ไม่สามารถโอนเงินได้แล้วต้องทำยังไง?
ติดตามความความคืบหน้าการโอนเงินช่วยเหลือเยียวยา "ผู้ประกันตน" มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ใน 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และตาก
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ก.ย.64 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ผู้ที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตน 39 และ มาตรา 40 โดยสมบูรณ์ (สมัครและชำระเงินสมทบ) ซึ่ง ผู้ประกันตนทั้ง 2 มาตรานี้เป็น กลุ่มแรงงาน ที่ไม่มีนายจ้าง ผลการโอนเงินเยียวยาที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ มาตรา 40 คนละ 5,000 บาท ไปแล้วจำนวน 5,848,254 คน โอนสำเร็จจำนวน 5,595,813 คน คิดเป็นเงินจำนวน 27,979,065,000 บาท และพบว่าโอนไม่สำเร็จจำนวน 252,441 คน ทำให้วันนี้ผู้ประกันตน "เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40" ผ่าน www.sso.go.th กันอย่างต่อเนื่อง
อ่านข่าว-เงินเยียวยา 'ประกันสังคม' www.sso.go.th ม.33 ม.39 ม.40 กรณีไม่ได้รับเงินโอน
“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนมาเช็ครายละเอียดของสาเหตุนี้ชัดๆ อีกครั้ง รวมถึงแก้ไขปัญหาเงิน "ประกันสังคม" ม.40 และ ม.39 ไม่เข้า มีวิธีดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40" และ ม.39
- เข้าไปที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th
- กดคลิกที่ "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนมาตรา 40)" หรือ "ตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาฯ (ผู้ประกันตนมาตรา 39)"
- เลือกตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตน
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสให้ตรงตามรูปที่กำหนด
- จากนั้นกด "ค้นหา"
- ระบบจะแสดงผลการค้นหา พร้อมอัพเดทข้อมูลล่าสุดให้ทราบ
สำหรับผลการเช็คสิทธิ จะมี 2 แบบ คือ "ได้รับสิทธิ" และ "ไม่ได้รับสิทธิ"
กรณี "ไม่ได้รับสิทธิ" จากการใส่ชื่อผิด แก้ไขยังไง?
ผู้ประกันตน ม.39 ม.40 ที่เข้าไปตรวจสอบในระบบประกันสังคม แล้วพบว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ในกรณีที่สาเหตุ มาจากชื่อหรือนามสกุลไม่ตรงกับในระบบ สามารถดำเนินการแก้ไขได้โดย ให้เข้าระบบสมาชิกผู้ประกันตนที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ คลิกที่นี่ เพื่อตรวจดูข้อมูลชื่อ-นามสกุล ในระบบประกันสังคม ที่เราเคยลงทะเบียนไว้
หากพบว่าชื่อเราไม่ตรงกับในระบบ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายชื่อให้ถูกต้อง โดย เลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- โทรศัพท์ติดต่อไปยังสำนักงานประกันสังคม (สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง) แจ้งเจ้าหน้าที่ทำการเปลี่ยนข้อมูลให้ โดยเจ้าหน้าที่อาจขอให้ส่งเอกสาร เช่น บัตรประชาชน, เอกสารเปลี่ยนชื่อ-สกุล
- เดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อแจ้งขอเปลี่ยนข้อมูลในระบบให้ พร้อมนำบัตรประชาชน, เอกสารเปลี่ยนชื่อ-สกุล ติดตัวไปด้วย
- จากนั้นให้เข้าไป "ตรวจสอบสิทธิ" ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมอีกครั้ง หลังจากดำเนินการข้างต้นไปแล้ว 3-4 วัน รายชื่อที่แก้ไขก็จะเข้าระบบฐานข้อมูล
"ประกันสังคม" เงินไม่เข้า/ไม่ได้รับสิทธิ เกิดจากอะไร?
ผู้ประกันตนบางรายที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาแน่ๆ และทำพร้อมเพย์ผูกกับเลขบัตรประชาชนแล้ว แต่เมื่อถึงไทม์ไลน์วันโอนเงิน แต่กลับไม่ได้รับเงินเยียวยา หรือเมื่อเข้าไปเช็คสิทธิในระบบพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ" ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ใน 9 กลุ่มอาชีพ นั้นอาจเกิดจากอีกหนึ่งสาเหตุ นั่นคือ ในตอนลงทะเบียนรับสิทธิ อาจสะกดชื่อผิด ทำให้ชื่อหรือนามสกุลไม่ตรงกับในระบบฐานข้อมูลของทางการ หรือเกิดจากชื่อไม่ตรงกับบัตรประชาชน เพราะผู้ประกันตนมีการเปลี่ยนชื่อภายหลัง เป็นต้น
หากเช็คสิทธิแล้วเงินยังไม่เข้าบัญชี?
ให้ผู้ประกันตนรีบไปติดต่อธนาคารด่วน ท่านที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากพร้อมเพย์ เบอร์โทรศัพท์ เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน
ท่านที่ไม่ได้รับเงินโอนเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น บัญชีปิด หรือยังไม่เปิดบัญชี ก็ให้รีบไปติดต่อธนาคาร และดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ นายจ้างและผู้ประกันตน ทุกมาตรา ทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ตรวจสอบข้อมูลได้ที่ https://www.sso.go.th
สาวน "ผู้ประกันตนมาตรา 40" ใน 19 จังหวัดที่ขยายวันสมัครและชำระเงิน ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เมื่อระบบประมวลผลข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะแจ้งวันที่การโอนเงินให้ทราบต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิง : สำนักงานประกันสังคม