"ประกันสังคม" www.sso.go.th ใครบ้างไม่ต้องยื่น "ทบทวนสิทธิ" ให้เสียเวลา

"ประกันสังคม" www.sso.go.th ใครบ้างไม่ต้องยื่น "ทบทวนสิทธิ" ให้เสียเวลา

เช็คให้ดี! เยียวยา "ประกันสังคม" www.sso.go.th ใครยื่น "ทบทวนสิทธิ" ได้บ้าง? และใครไม่ต้อง "ทบทวนสิทธิ" ให้เสียเวลา เพราะเงื่อนไขไม่เข้าเกณฑ์ เช่น ต้องอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม จึงจะมีสิทธิทบทวนสิทธิได้

ติดตามความคืบหน้ามาตรการเยียวยา "ประกันสังคม" ว่าที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับสิทธิและได้รับเงินเยียวยาไปแล้วกี่ราย รวมถึงกรณี "ทบทวนสิทธิ" ที่บางคนอาจจะลืมเช็คคุณสมบัติของตนเองว่าเข้าเกณฑ์การได้รับเงินเยียวยาหรือไม่? หากไม่เข้าเกณฑ์ ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเยียวยาตั้งแต่แรก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนเช็ครายละเอียดเรื่องนี้ให้เคลียร์กันชัดๆ ดังนี้

1. อัพเดทผู้ "ได้รับสิทธิ" จาก "ประกันสังคม"

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ให้ข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ในรายการสถานีแรงงาน "ไขทุกปัญหา ปรึกษาทุกอาชีพ" (13 ก.ย.64) ระบุว่า มีผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ และได้เงินเยียวยาแล้วในรายมาตรา ได้แก่

ม.33 : โอนสำเร็จแล้ว 32 ล้านราย เหลือยังโอนไม่สำเร็จ 6.7 หมื่นราย สาเหตุที่โอนเงินไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ประกันตนไม่ผูกพร้อมเพย์ หรือผูกพร้อมเพย์ผิด เมื่อผู้ประกันตนทำการแก้ไขแล้ว ทางประกันสังคมจะทำการโอนให้ใหม่ในทุกๆ วันพฤหัสบดี 

ม.39 : โอนสำเร็จแล้ว 1.4 ล้านคน ยังโอนไม่สำเร็จ 5 หมื่นราย สาเหตุที่โอนเงินไม่สำเร็จ คือ ผู้ประกันตนไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ 

ม.40 : โอนสำเร็จแล้ว 4.3 ล้านราย ยังโอนไม่สำเร็จ 1.67 แสนราย สาเหตุที่โอนเงินไม่สำเร็จ คือ มีการสมัครใหม่เข้ามามาก จึงเกิดความผิดพลาดระหว่างคีย์ข้อมูล เช่น พิมพ์ผิดจากนายเป็นนางสาว หรือจากนางสาวเป็นนาย ตรงนี้ต้องแก้ไขเยอะ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

2. กรณี "ทบทวนสิทธิ" ใครทบทวนสิทธิได้บ้าง?

ส่วนประเด็นการ "ทบทวนสิทธิ" หลายคนอาจสงสัยว่าตนเองเข้าข่ายมาตราไหน? และสามารถยื่นทบทวนสิทธิได้หรือไม่? คำตอบคือ ผู้ที่มีสิทธิยื่นทบทวนสิทธิได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด แบ่งเป็น

ม.33 : ต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด และก็ต้องทำงานในอาชีพที่เข้าเกณฑ์ 9 ประเภทกิจการด้วย หากเข้าเกณฑ์เหล่านี้ แต่เช็คสิทธิพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ" ให้ยื่นทบทวนสิทธิได้

ม.39, ม.40 : เพียงแค่อยู่ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ก็เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับเยียวยา หากเข้าเกณฑ์ แต่เช็คสิทธิพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ" ให้ยื่นทบทวนสิทธิได้เช่นกัน

 

3. ใครที่ "ไม่ต้องทบทวนสิทธิ" บ้าง?

สำหรับผู้ประกันตนที่ "ไม่ต้องเช็คสิทธิ" และ "ไม่ต้องทบทวนสิทธิ" ให้เสียเวลา เพราะไม่มีสิทธิในมาตรการนี้อยู่แล้วตั้งแต่แรก ได้แก่

ผู้ประกันตน ม.33 : ผู้ที่ไม่ได้อยู่ใน 9 ประเภทกิจการ และ/หรือ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัดที่รัฐกำหนด ไม่ต้องทบทวนสิทธิ

ผู้ประกันตน ม.39, ม.40 : ผู้ไม่ได้อยู่ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ก็ไม่ต้องทบทวนสิทธิเช่นกัน เพราะจะเสียเวลาเปล่าๆ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่จะจ่ายเยียวยา 

4. คุณสมบัติครบแต่ "ไม่ได้รับสิทธิ" แก้ยังไง?

ม.33 : คุณสมบัติเข้าเกณฑ์ครบ แต่ไม่ได้สิทธิ สาเหตุอาจเกิดจากนายจ้างไม่ได้แจ้งสำนักงานประกันสังคมสาขาพื้นที่นั้นๆ หรือ นายจ้างแจ้งข้อมูลเข้ามาช้า ฯลฯ

วิธีแก้ไข : สามารถยื่นทบทวนสิทธิได้ และแจ้งนายจ้างให้ดำเนินการส่งรายชื่อลูกจ้างไปให้ประกันสังคม

ม.39, ม.40 : หากคุณอยู่ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม และสมัครตามเงื่อนไขเวลาที่กำหนดแล้ว แต่เช็คสิทธิพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ" สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากการพิมพ์ชื่อนามสกุลผิด, เจ้าหน้าที่คีย์ข้อมูลผิด เช่น คีย์ว่าเป็นคนต่างชาติ

วิธีแก้ไข : หากสามารถแก้ไขได้ทันเวลา ให้รีบแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง เช่น หากมีการเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนคำนำหน้า หรือเปลี่ยนนามสกุลจากการจดทะเบียนสมรส ซึ่งไม่ตรงกับฐานทะเบียนประกันสังคม ก็ให้รีบแก้ไขให้ถูกต้อง จากนั้นให้เช็คสิทธิใหม่ ในรอบถัดไปก็อาจจะขึ้นว่า "ได้รับสิทธิ" หรือถ้าทำไม่ทัน ก็สามารถยื่นทบทวนสิทธิได้ 

ขั้นต่อมา : ถ้าเช็คสิทธิแล้ว พบว่า "ได้รับสิทธิ" แต่ยังไม่ได้รับเงิน อาจเป็นเพราะไม่ได้สมัครพร้อมเพย์ผูกกับเลขบัตรประชาชน ให้รีบไปทำบัญชีพร้อมเพย์ให้เรียบร้อย และรอเงินโอนเข้าในรอบถัดไป

\"ประกันสังคม\" www.sso.go.th ใครบ้างไม่ต้องยื่น \"ทบทวนสิทธิ\" ให้เสียเวลา

5. อัพเดท! ขั้นตอนการ "ทบทวนสิทธิ" 

5.1) ปริ๊นท์แบบฟอร์มในเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ ม.33 คลิกที่นี่ และ ม.39-40 คลิกที่นี่  จากนั้นกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มฯ ให้ถูกต้องครบถ้วน

5.2) ส่งเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ หรือสามารถส่งผ่านทางไปรษณีย์ก็ได้ แล้วเจ้าหน้าที่จะรวบรวมเอาไปให้คณะกรรมการตรวจสอบ รายไหนที่พบว่าอยู่ในเงื่อนไข ก็จะทำการจ่ายเยียวยาให้

หมายเหตุ : หากมีการเปลี่ยนชื่อ/เปลี่ยนนามสกุล ให้แนบเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อมาด้วย ส่งมาที่สำนักงานประกันสังคมใน 29 จังหวัด ที่ตนเองสมัครเป็นผู้ประกันตน