"มช.- รพ.พระมงกุฎเกล้า" พัฒนาระบบ "home isolation" ดูแลผู้ป่วยโควิด-19

"มช.- รพ.พระมงกุฎเกล้า" พัฒนาระบบ "home isolation" ดูแลผู้ป่วยโควิด-19

"มช." ร่วมกับ "รพ.พระมงกุฎเกล้า" พัฒนาระบบ "home isolation" ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ในภาวะเร่งด่วน เอื้อต่อการทำงานทีมแพทย์ พยาบาล ที่ต้องดูแลผู้ป่วยนอก เป็น Platform Solution ด้านสุขภาพ ต่อยอดฟังก์ชันดูแลผู้ป่วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ทีมแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ขอคำแนะนำออกแบบ พัฒนาระบบ Home isolation จึงได้ระดมทีมคณาจารย์ในวิทยาลัยที่ทำวิจัยด้านระบบเวชสารสนเทศ (Medical informatics) กลุ่มวิจัยความเป็นเลิศด้านระบบปฏิบัติการฝังตัวและโมบาย แอปพลิเคชันด้านวิทยาสตร์สุขภาพ ดำเนินการร่วมกับ สตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บริษัท บีเอเอเค จำกัด (BAAK)โดย อ่างแก้วโฮลดิ้งได้ร่วมทุนกับ Banana นำ Platform Solution ด้านสุขภาพมาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้สอดรับกับฟังก์ชันของการดูแลผู้ป่วย

 

ซึ่งมีกรอบแนวทางแบบ Home isolation คือ มุ่งเน้นการรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่เสี่ยงสูงที่จะมีอาการหนัก เพื่อลดโอกาสในการกลายเป็นผู้ป่วยอาการรุนแรง ผ่านทางระบบ Line  โดยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ ในการพัฒนาระบบและเชื่อมกับระบบเวชระเบียนเดิมของโรงพยาบาล มีการประมวลผลที่ถูกต้อง แม่นยำ ลดขั้นตอนงานเอกสาร และลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในการประสานงาน ปัจจุบัน ระบบได้นำไปใช้งานกับผู้ป่วยในการดูแลของศูนย์ประสานงานดูแล ผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แล้ว

ที่สำคัญระบบถูกออกแบบให้เน้นการใช้งานง่าย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการประเมินอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการประสานงานระหว่างทีมแพทย์และทีมพยาบาล เพื่อให้สังเกตแนวโน้มอาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที

 

การพัฒนาระบบยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องจากทีมนักพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ต่อยอดพัฒนาระบบการจองเตียงผู้ป่วยให้สามารถบริหารจัดการเตียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนภารกิจในการดูแลผู้ป่วย home isolation ทั้งนี้สอดรับกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพในการจัดระบบการบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

 

ซึ่งประชากรทุกระดับสามารถเข้าถึงได้และเตรียมความพร้อมหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ และด้วยความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมถึงความชำนาญด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัย พร้อมที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างสูงสุด สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ และที่สำคัญช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยดี

ทั้งนี้ ในการพัฒนาระบบและเชื่อมกับระบบเวชระเบียนเดิมของโรงพยาบาล มีการประมวลผลที่ถูกต้อง แม่นยำ ลดขั้นตอนงานเอกสาร และลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ในการประสานงาน ที่สำคัญระบบถูกออกแบบให้เน้นการใช้งานง่าย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการประเมินอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการประสานงานระหว่างทีมแพทย์และทีมพยาบาล เพื่อให้สังเกตแนวโน้มอาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที