"มะเร็งต่อมน้ำเหลือง" อับดับ 1 ของ มะเร็งทางระบบโลหิตวิทยา
"โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง" สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญและตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็น "โรคมะเร็ง" ทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อย มีผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนรายต่อปี
ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ เผยพบผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 600,000 รายต่อปี และในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปีละกว่า 7,000 ราย หรือ เทียบเท่า 19 รายต่อวัน มากขึ้นกว่าเท่าตัว นับเป็น "โรคร้าย" ใกล้ตัว เนื่องจากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็ง ที่พบบ่อยเป็นอับดับ 1 ของ มะเร็งทางระบบโลหิตวิทยา และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำในสองปีแรก
ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ประธานคณะทำงานการวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย (Thai Lymphoma Study Group) อดีต ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กล่าวภายในงาน “ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข : Miracle is all AROUND 2021” เนื่องใน "วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก" จัดโดย ชมรม โรคมะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ผ่านระบบออนไลน์ Zoom โดยระบุว่า พบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 600,000 รายต่อปี และในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละกว่า 7,000 ราย หรือ เทียบเท่า 19 รายต่อวัน มากขึ้นกว่าเท่าตัว นับเป็นโรคร้ายใกล้ตัว
เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอับดับ 1 ของมะเร็งทางระบบโลหิตวิทยาและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำในสองปีแรกหลัง โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- Non-Hodgkin lymphoma หรือ NHL
- ชนิด Hodgkin lymphoma หรือ HL
โดยในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจน
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง กับ ความสัมพันธ์หลายภาวะ
- อุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ช่วง อายุ 60-70 ปี อย่างไรก็ตามมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด HD สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อายุน้อยตั้งๆแต่ 20-30 ปีอีกด้วย
- เพศ : เพศชายพบเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
- การติดเชื้อ : พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร (H. pylori) การติดเชื้อไวรัส EBV (Epstein-Barr Virus)
- ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย : ผู้ป่วยติดเชื้อ เอช ไอ วี (HIV) พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
- โรคภูมิแพ้ตนเอง : ผู้ป่วยโรค เอส แอล SLE พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
- การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง เป็นระยะเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ผู้ป่วยระยะแรก ไม่ทราบว่าป่วย
ด้าน ดร.นพ.อาจรบ คูหาภินันทน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบัน กล่าวว่า ถึงแม้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบมาก แต่ก็เป็นโรคมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัญหาของผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเหมือนอาการอื่นๆ ที่พบได้ในภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นไข้ และน้ำหนักลด
- กำลังใจ สำคัญต่อการรักษา
ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดี รวมถึงการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีโอกาสในการหายจากโรคได้มากขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วนั้น ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนสำคัญในการผลักดัน และให้กำลังใจผู้ป่วยระหว่างการรักษา ร่วมกับแพทย์ที่จะให้การรักษาที่ดีที่สุด และมีโอกาสหายมากที่สุด โดยทั่วไปอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะกินเวลานาน และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น เมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น
- "นวัตกรรมรักษามะเร็ง"
สำหรับวิธีการรักษาด้วย นวัตกรรม การรักษาใหม่ๆ ได้แก่ การใช้เคมีบำบัด ยาแอนติบอดี้การฉายแสงสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดหรือก้อนมะเร็งที่โตเฉพาะที่ และการปลุกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดสำหรับผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำ มีผู้ป่วย 60% ตอบสนองกับการรักษามาตรฐาน และอีกกว่า 40 % ที่ไม่ตอบสนองกับการรักษา ซึ่งแบ่งเป็น 15% ที่ดื้อต่อการรักษา และ 25 % ที่กลับมาเป็นซ้ำภายในระยะเวลา 2 ปี
ปัจจุบันในคนไข้กลุ่มที่ไม่ตอบสนองกับการรักษา มีแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ
1. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด สำหรับที่ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการปลูกถ่ายเซล์ต้นกำเนิดได้
2.นวัตกรรมการรักษารวมไปถึงยาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นทางเลือกให้คนไข้กลุ่มที่ไม่สามารถการปลุกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดได้ ซึ่งผลการรักษาได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจ
- ประสบการณ์ต่อสู้มะเร็ง
"พงศ์พันธุ์ พงษ์ภัทรากร" ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Diffuse large B cell lymphoma เล่าประสบการณ์การต่อสู้กับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ว่า เมื่อ 4 ปีก่อนได้ตรวจพบเริ่มจากมีก้อนที่คอจึงไปตรวจเพิ่มเติมพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้สึกตกใจและคิดว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เมื่อได้ปรึกษาทางคุณหมอถึงแนวทางและขั้นตอนการรักษาพบว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งที่รู้ไว สามารถรักษาให้หายได้ จึงรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นและได้เข้ารับการรักษาครั้งแรกเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน
โดยให้คีโมทั้งหมด 6 เข็ม หลังจบการรักษาแล้ว โรคสงบเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี แต่ในช่วงที่ติดตามอาการ ตรวจพบโรคกลับเป็นซ้ำอีกครั้งโดยเริ่มมีก้อนที่คางอีกครั้งทำให้หน้าบวมไม่เท่ากัน จึงทำการรักษาอีกครั้งตามขั้นตอนทางการแพทย์แม้ว่าการรักษาครั้งที่ 2 ยาคีโมจะแรงกว่าการรักษาครั้งแรกก็ตาม แต่มีกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญจากคนใกล้ตัว
"ซึ่งตัวเองมีลูกสาวและภรรยาดูแลอย่างดีและใกล้ชิด โดยคอยสังเกตอาการ ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พาไปหาหมอตามนัดตลอดทุกครั้ง ทำให้มีกำลังใจที่ดีขึ้นเพื่อที่จะต่อสู้และมีความหวังจากการรักษาว่าจะต้องหายจากโรคได้อย่างแน่นอน เชื่อมั่นในขั้นตอนการรักษาและวิธีการรักษาใหม่ๆ ปัจจุบันโรคสงบอีกครั้งหลังเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2" พงศ์พันธุ์ กล่าว