ส่องสถานะ "รัฐวิสาหกิจ" หลังโควิด แนวโน้มฟื้นตัว ลงทุนเพิ่ม – กำไรโต

ส่องสถานะ "รัฐวิสาหกิจ" หลังโควิด  แนวโน้มฟื้นตัว ลงทุนเพิ่ม – กำไรโต

ส่องทิศทางการลงทุน - รายได้รัฐวิสาหกิจหลังโควิดปี 66 - 68 การลงทุนเพิ่ม รายได้ฟื้น หลังหลายแห่งขาดทุนหนักช่วยโควิด-19 รัฐประเมินลงทุนเพิ่มปีละกว่า 4.2 แสนล้านบาท รายได้ 8.2 หมื่นล้านบาท สศช.วางกรอบเบิกจ่ายได้ 95% ปรับประสิทธิภาพการดำเนินงานหลายด้านเพื่อให้ได้ตามเป้า

รัฐวิสาหกิจถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาครัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีโครงการลงทุนต่อเนื่องซึ่งจะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจากการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงเพิ่มการจ้างงานในภาคส่วนต่างๆได้

 

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมาเห็นชอบกรอบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2565 จำนวน 44 แห่ง ภายใต้สังกัด 15 กระทรวง ประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงินดำเนินการ 1.48 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 3.07 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อรวมการลงทุนของรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทมหาชนจำกัดและบริษัทในเครือ จำนวน 5 แห่ง รวมรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 49 แห่ง แล้ว ทำให้ในภาพรวมจะมีการลงทุนตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่องในปี 2565 วงเงินดำเนินการจำนวน 1.51 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 4.68 แสนล้านบาท

โดยการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2565 ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ได้ 0.17 % หากรวมรัฐวิสาหกิจอีก 5 แห่งจีดีพีจะขยายตัวได้ 0.31% ช่วยให้เกิดการจ้างงานในระบบกว่า 1.63 แสนคน และนำเงินส่งรายได้ให้แก่รัฐได้อย่างน้อย 1.24 แสนล้านบาท

ทั้งนี้สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจของไทยหลายแห่ง โดยบางแห่งรายได้ลดลงจากการเดินทางของคนในประเทศ และนักท่องเที่ยวที่ลดลง รวมถึงบางแห่งได้รับภารกิจจากรัฐบาลให้ช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน บางแห่งมีการชะลอการลงทุนลงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 98% ค่อนข้างมาก ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการปรับลดงบลงทุนในปี 2565 ลงใน 29 โครงการ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 โครงการอาคารเช่าพร้อมเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายคาดว่าการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจจะกลับมาเป็นปกติมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากรายได้เพิ่มขึ้นและมีการลงทุนที่เพิ่ม แนวโน้มการดำเนินงานในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2566 - 2568) ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 44 แห่งจะมีการลงทุนเฉลี่ยปีละ 428,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่เป็นปีฐานประมาณ 66.6%

ส่วนผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยปีละประมษณ 82,722 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากฐานปี 2565 ประมาณ 26.9%

ทั้งนี้ สศช.ได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกับรัฐวิสาหกิจต่างๆให้ดำเนินการเพื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถมีผลประกอบการที่ดี การลงทุนได้ตามเป้าหมายและสามารถบรรลุภารกิจตามเป้าหมายได้ดังนี้

1.ประเด็นการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่า95% ของกรอบวงเงินที่ได้รับของรัฐวิสาหกิจ อนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน  รวมทั้งเร่งรัดการลงทุนที่ได้รับอนุมัติผูกพันสัญญาและการก่อหนี้ในรายการลงทุนที่มีความพร้อมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้การประมาณการและการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านข่าว : เปิด5อันดับรัฐวิสาหกิจมียอดการเบิกจ่ายสูงสุดรอบ8เดือน

2.การปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี  ให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีให้แล้วเสร็จ งบลงทุนระหว่างปี โดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเจ้าสังกัดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุน โดยเฉพาะการลดกรอบวงเงินลงทุน ควรเป็นผลกระทบจากที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น หากไม่ใช่ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว สศช.

อาจไม่พิจารณาดำเนินการ สำหรับงบลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณ หรือได้รับความเห็นชอบจาก สงป. แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนดังกล่าวได้โดยให้แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัดและ สศช. ทราบ เพื่อ สศช. จะได้ปรับปรุงวงเงินลงทุนให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไป

3.การทบทวนสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (กค.) ซึ่งอยู่ระหว่าง

การเป็นรัฐวิสาหกิจ การจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พิจารณาความเป็นไปได้ของแผนการดำเนินงาน หรือแผนธุรกิจของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เห็นว่า รูปแบบการเป็นรัฐวิสาหกิจยังคง

มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานและการขับเคลื่อนตามภารกิจและวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งได้ หรืออาจพิจารณาการปรับเปลี่ยนองค์กรในรูปแบบอื่นที่เหมาะสมต่อไป

4.การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  องค์การชนส่งมวลชนกรุงเทพ เร่งปรับแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมของแผนพื้นฟูกิจการ (ฉบับปรับปรุง โดยเฉพาะแผนการปฏิรูปเส้นทางการเดินรถโดยสารสาธารณะองค์การคลังสินค้า พิจารณาแนวทางและแผนส่งเสริมทางการตลาด การใช้ประโยชน์คลังสินค้าที่มีอยู่ให้คุ้มค่า พัฒนาคลังสินค้าในส่วนกลางให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าใจกลางเมือง และเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเครือข่ายเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่าย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการกีฬาแห่งประเทศไทย กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินงานในปี 2565รวมถึงพิจารณาแผนการดำเนินงานที่จะช่วยพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศภายหลังจาก สถานการณ์เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พิจารณาการเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัทขนส่งอื่นที่มีโครงข่ายครอบคลุมเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

5.การให้บริการ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ต่อยอดแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้สามารถจำหน่ายบัตรเข้าชมสวนสัตว์และสินค้าที่ระลึกได้มากขึ้น รวมถึงขยายความร่วมมือกับ ททท. ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกัน

6.การลดต้นทุนการผลิตการประปาส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณน้ำดิบ การลดต้นทุนการผลิตสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อลดต้นทุนในการซื้อน้ำดิบจากเอกชน และเร่งเปลี่ยน ท่อแต่กรั่วเพื่อลดปริมาณน้ำสูญเสีย

7.การบริหารจัดการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดให้พิจารณาแผนการลงทุนที่คำนึงถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) เป็นต้น

การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งรัดการจัดทำข้อมูลที่จะปรับรูปแบบการดำเนิน โครงการไปเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อนและสายสีแดงเข้ม และเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนโดยเร็ว

ส่วนองค์การตลาด ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงรายได้จากการจำหน่ายข้าวสารและอาหารดิบเป็นหลักและพัฒนากิจการตลาดซึ่งเป็นภารกิจหลักให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น