เร่งตรวจ ATK พื้นที่สีแดง หลังประกาศพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 15 ชุมชน

เร่งตรวจ ATK พื้นที่สีแดง หลังประกาศพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 15 ชุมชน

รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจจุดคัดกรองและฉีดวัคซีนเชิงรุก นำร่องในชุมชนช้างคลาน หลังประกาศพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 15 ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ คาดใน 14 วัน สถานการณ์จะดีขึ้น ด้านจัดหางานเชียงใหม่ จัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวนำเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 64 ที่มัสยิดช้างคลาน ต.ช้างคลาน อ.เมือง เชียงใหม่ นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นพ.จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และ นายวินัย ทองอุบล จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติการตรวจ ATK และฉีดวัคซีน พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวและเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนเฉพาะกิจ

หลังจากที่ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศพื้นที่ 15 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ใหเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด โดยทางจังหวัดจะดำเนินการลงพื้นที่ทำงานเชิงรุกในการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อในแต่ละชุมชน พร้อมทั้งตั้งจุดฉีดวัคซีนเฉพาะกิจ โดยนำร่องที่ชุมชนช้างคลานเป็นชุมชนแรก โดยให้เจ้าหน้าที่ อสม. ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านให้ทุกคนออกมาทำการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสและฉีดวัคซีน

นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสถิติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระจายอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ใน15ชุมชนที่มีการการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีมติประกาศให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด และจัดทีมลงพื้นที่เพื่อตรวจคัดกรองชาวบ้านในชุมชนทุกหลังคาเรือน หากพบเป็นผู้ติดเชื้อจะนำเข้าสู่ระบบการรักษาทันทีในศูนย์พักคอย(Community Isolation) หรือ รักษาตัวเองที่บ้าน (Home Isolation) เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาด โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

โดยได้มีการการบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข เทศบาลนครเชียงใหม่ จัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ เพื่อนำเข้าสู่การรักษาจำกัดการแพร่ระบาดในวงกว้างในเขตชุมชน โดยการจัดชุดปฏิบัติการเข้าไปทำการประชาสัมพันธ์ถึงบ้านและให้ทุกคนออกมาตรวจคัดกรองหาเชื้อโดยชุดตรวจ ATK ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งหากพบว่าผลเป็นลบและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน จะได้รับวัคซีนทันที

สำหรับกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ารับตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือเข้ารับการฉีดวันซีน จะได้รับเอกสารรับรองการตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และ ในรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว ให้ใช้เป็นหลักฐานในการยืนยัน ทั้งนี้ถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาโดยไม่ถูกกฎหมาย ก็สามารถเข้ารับบริการนี้ได้เช่นกัน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเป็นหลักก่อน

ขณะนี้ทางคณะกรรมการโรติดต่อได้มีมติที่จะจัดซื้อชุดตรวจ ATK เข้ามาเพิ่มเติมอีกจำนวน10,000 ชุด เพื่อใช้ตรวจในพื้นที่เขตเทศบาลและกระจายไปยังทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และจากการลงพื้นที่ปฏิบัติการเชิงรุกในพื้นที่ 15 ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ คาดว่าภายใน 14 วัน สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่จะเริ่มดีขึ้น

นายวินัย ทองอุบล จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางจังหวัดประกาศให้ 15 ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ซึ่งชุมชนดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่มีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยแรงงานทั้งหมดทั้งในระบบ และ นอกระบบ ทางจังหางานจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติ หลังจากนั้นจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ทำทะเบียนประวัติกับนายจ้างอีกครั้งตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 เพื่อนำแรงงานนอกระบบมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

สำหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีประมาณ 120,000 – 130,000 ราย โดยมีกลุ่มแรงงานต่างด้าวใน 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา ลาว และ กัมพูชา ที่ขึ้นทะเบียนจัดหางานแล้วประมาณ 80,000 ราย และมีแรงงานอีกประมาณ 10,000 ราย ที่ทำงานกับนายจ้าง ที่ทางเจ้าหน้าที่กำละงอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและทำการขึ้นประวัติแรงงาน ส่วนที่เหลือยังเป็นแรงงานนอกระบบที่ต้องดำเนินการสำรวจเพื่อนำเข้ามาลงทะเบียนแรงงานและเข้าสู่แรงงานในระบบตามมติ ครม.ต่อไป

ส่วนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในชุมชนแรงงานต่างด้าวขณะนี้ มีความเป็นห่วงทั้งแรงงานต่างด้าวและนายจ้าง ที่ต้องทำงานร่วมกัน จึงขอความร่วมมือจากนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวนำมาแรงงานมาฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรอง ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ในพื้นที่อำเภอต่างๆ จังหวัดมีนโยบายฉีดวัคซีนให้กับทุกคนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่