เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (เน็ตซีโร่) ในขณะที่นอร์เวย์ติดอันดับหนึ่งประเทศที่พร้อมที่สุด

เคพีเอ็มจี ได้มีการทำการศึกษาดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านเน็ตซีโร่ (Net Zero Readiness Index – NZRI) เพื่อประเมินความพร้อมของแต่ละประเทศในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือเน็ตซีโร่ (Net Zero) ประเทศที่มากด้วยทรัพยากรน้ำมันจากแถบนอร์ดิก ได้ถูกขนานนนามว่าพร้อมที่สุดสำหรับการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593

  • ประเทศในทวีปยุโรปทางตอนเหนือได้อันดับต้นๆ ในการสำรวจครั้งนี้ โดยที่นอร์เวย์ได้อันดับหนึ่ง สหราชอาณาจักรได้ทีสอง และสวีเดนได้ที่สาม
  • หากมีความหย่อนยานในความสามารถและความตั้งใจในการบรรลุเน็ตซีโร่จะเป็นจุดอ่อนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก
  • ผลวิจัยชี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ "น่าจับตามอง" ในการบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในเจ็ดประเทศที่มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น

รายงานฉบับนี้ ได้มีการเปรียบเทียบความคืบหน้าของแต่ละประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และมีการวิเคราะห์ความพร้อมในการบรรลุเน็ตซีโร่ภายในปี 2593 คณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) กำหนดให้ 2593 เป็นปีที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยจะลดลงก่อน 40% ระหว่างปี 2553 ถึง 2573 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ภูมิอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ในเดือนสิงหาคม 2564 รัฐบาลจาก 195 ประเทศทั่วโลก ยอมรับว่ามนุษย์เป็นเหตุให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า และถ้าไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอย่างรวดเร้วและจริงจัง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจะไม่หยุดที่แค่ 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียสเท่านั้น

โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการประเมินแต่ละประเทศด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 103 ข้อที่นำไปสู่การบรรลุเน็ตซีโร่ ซึ่งผลการศึกษานี้ได้ชี้ 25 ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุด และอีก "7 ประเทศ" ที่ "น่าจับตามอง"

แม้ว่า "นอร์เวย์" จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกน้ำมันและก๊าซมากที่สุดในโลก แต่ยังได้อันดับหนึ่งใน NZRI ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลงทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพลังงานหมุนเวียนและยานพาหนะไฟฟ้า ในปี 2559 รัฐสภาของนอร์เวย์โหวตให้เลื่อนเป้าหมายในการบรรลุเน็ตซีโร่จากปี 2593 เป็น 2573 อย่างไรก็ตาม แม้ว่านอร์เวย์จะได้อันดับหนึ่งในการจัดอันดับครั้งนี้ ประเทศยังคงต้องก้าวผ่านความท้าทายว่าจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้เป็นประเทศที่เป็นเน็ตซีโร่ได้

"สหราชอาณาจักร" ซึ่งเป็นผู้จัดการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 Climate Summit ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ได้อันดับสอง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนของหลายพรรคการเมืองในการมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่มีกฏหมายข้อบังคับรองรับ จึงทำให้การลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้นนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีอุปสรรคหลายอย่างที่ต้องผ่านพ้นไปให้ได้ โดยเฉพาะในด้านการผลิตความร้อน และอาคารก่อสร้าง

 


 

ผลการสำรวจของการศึกษาครั้งนี้มีดังนี้

  • บางประเทศยังล่าช้าในการดำเนินการสู่เน็ตซีโร่ โดยมีเพียง 9 ประเทศจากการสำรวจทั้งหมดที่มีกฎหมายข้อบังคับรองรับในเรื่องนี้ ซึ่ง 9 ประเทศนี้คิดรวมกันเป็นประมาณ 8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของโลก เพื่อที่จะกระตุ้นความสามารถในการดำเนินการสู่เน็ตซีโร่ในแต่ละอุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ นโยบายการรองรับที่ดีและมาตรการสนับสนุนต่างๆ ในเขตการปกครองส่วนใหญ่ที่ถูกสำรวจใน NZRI ครั้งนี้ ระดับความพร้อมของแต่ละชาติมักเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับระดับความพร้อมในแต่ละภาคอุตสาหกรรม
  • การขาดขีดความสามารถในการบรรลุเน็ตซีโร่ถือเป็นจุดอ่อนของเป้าหมายเน็ตซีโร่ทั่วโลก ดัชนีชี้วัดนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีกฎหมายข้อบังคับหรือนโยบายด้านเน็ตซีโร่ในระดับประเทศมีขีดความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับอุตสาหกรรมมากกว่า ซึ่งการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่ร่ำรวย และความพร้อมในการบรรลุเน็ตซีโร่เช่นกัน โดยสรุปว่าควรมีการเร่งให้การสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา
  • ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกมีการคำนวณเรื่องความเสี่ยงทางการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากขึ้นในการลงทุนและการตัดสินใจให้กู้ยืม แต่รัฐบาลก็มีบทบาทที่สำคัญในการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยควรพัฒนากลยุทธ์ นโยบาย และกฎหมายข้อบังคับด้านการเงินที่ยั่งยืน
  • ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่านโยบายภาครัฐ และการสนับสนุนจากประชาชนเป็นตัวแปรในความสำเร็จของเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

25 อันดับแรกในการจัดอันดับ NZRI คือ

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เคพีเอ็มจี ยังระบุอีก 7 ประเทศที่น่าจับตามอง เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีโอกาสชัดเจนที่จะก้าวหน้าในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการใหญ่ๆ และความพยายามที่เพิ่มขึ้น

  • อินเดีย
  • อินโดนีเซีย
  • ไนจีเรีย
  • รัสเซีย
  • ซาอุดิอาระเบีย
  • แอฟริกาใต้
  • ไทย

ประเทศไทยมีแผนที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 ภายใต้แผนจัดการพลังงานของประเทศซึ่งกำหนดให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในอัตรา 50% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด จึงทำให้มีโครงการหลายโครงการออกมา เช่น จากปี 2578 เป็นต้นไป ยานพาหนะที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้นที่จะจดทะเบียนได้ รัฐบาลไทยประกาศว่าจะสนับสนุนภาคเอกชนในการเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low carbon economy) และมีความพยายามที่จะให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีผลกระทบน้อยที่สุด ความพยายามนี้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular -Green Economy) ซึ่งจะเป็นหนทางสู่การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

"ในสองสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการตื่นตัวของประชาชนในประเทศไทยมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลเพิ่มเรื่องนี้เข้าไปในหลักสูตรการศึกษา" ธเนศ เกษมศานติ์ กล่าว

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ความก้าวหน้านี้เป็นแนวโน้มที่ดี และเรากำลังสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่เคพีเอ็มจี เชื่อในการทำงานร่วมกันสู่อนาคตที่ยั่งยืน และเคพีเอ็มจีจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน

"ประเทศไทยยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถในการค้นคว้าวิจัย โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ยากต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก" กาเนสัน โคลันเดเวลู กล่าว

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เทคโนโลยีจำพวกที่วัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จะทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศได้ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สำหรับภาคธุรกิจแล้ว การมีเป้าหมายทาง ESG ที่ชัดเจนเป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องไม่ใช่การทำเพื่อให้ผ่านเกณฑ์เท่านั้น จำเป็นจะต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความมั่นใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์จากผู้บริโภค

"หนึ่งเรื่องที่ธุรกิจในประเทศไทยต้องคำนึงถึงคือการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ออก One Report เพื่อเตรียมความพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน สำหรับรายงานปี 2564 ซึ่งให้ความสำคัญกับการรายงานด้านความยั่งยืน และ ESG” ณัฐพงศ์ ตันติจัตตานนท์ กล่าว

เคพีเอ็มจี ชี้ไทยเป็นประเทศน่าจับตามองในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เนื่องด้วยข้อบังคับที่เพิ่มมากขึ้นในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน องค์กรจำเป็นต้องรายงานกลยุทธ์ นโยบาย และเป้าหมายด้านความยั่งยืน ห่วงโซ่คุณค่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความร่วมมือกับสังคม ธุรกิจ จำเป็นต้องมี ESG ในกลยุทธ์องค์กร และการพัฒนาองค์กร ดังนั้นธุรกิจต้องเริ่มที่การวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้

ผลงานวิจัยครั้งนี้ ออกมาพร้อมกับการประชุม COP 21 ที่กรุงกลาสโกว์ ในเดือนพฤศจิกายน องคการสหประชาชาติรายงานว่าปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ล้านปี ซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 0.85 องศาเซลเซียส ระหว่างปี 2423 ถึงปี 2555 และระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 19 ซม. ผู้นำทางการเมืองและผู้นำภาคธุรกิจต่างมีเป้าหมายที่จะหยุดผลกระทบที่สาหัสทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าอุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นไปอีก

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี และการให้ความเชื่อมั่นด้าน ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เราดำเนินธุรกิจใน 146 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 227,000 คนในบริษัทเคพีเอ็มจีทั่วโลก เคพีเอ็มจีในแต่ละประเทศเป็นองค์กรที่มีการดำเนินการเป็นเอกเทศ

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ซึ่งให้บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นด้าน ภาษี กฎหมายและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เคพีเอ็มจี ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ เครือข่ายเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล