เช็คที่นี่! ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.และสมาชิกสภา อบต. ทั่วประเทศ

เช็คที่นี่! ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.และสมาชิกสภา อบต. ทั่วประเทศ

เช็คที่นี่! ผลการเลือกตั้ง นายกฯองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ทั่วประเทศ แบบเรียลไทม์

ผ่านไปแล้วสำหรับการ "เลือกตั้ง อบต." ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี กับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายกฯอบต.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สมาชิกอบต.) ภายหลังมีคำสั่งคสช. ที่ 85/2560  ซึ่งได้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกอบต. ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. 64 โดยเริ่มเปิดคูหาลงคะแนน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. -17.00 น. ที่ผ่านมา 

การ "เลือกตั้ง อบต." ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการวัดกระแสการเมืองท้องถิ่นไปสู่การเมืองระดับประเทศอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จะมาแนะนำเว็บไซต์ของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อติดตามตรวจสอบผลการเลือกตั้ง อบต. ดังนี้

เช็คที่นี่! ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.และสมาชิกสภา อบต. ทั่วประเทศ

ซึ่งจะมีการรายงานข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิ  บัตรดี บัตรเสีย จำนวนบัตรผู้ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด 

  • กรอกข้อมูลจังหวัด อำเภอ พื้นที่ตำบลที่ต้องการทราบการเลือกตั้ง  ซึ่งข้อมูลจะปรากฎให้ทราบแบบอัพเดททันสถานการณ์ 

เช็คที่นี่! ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.และสมาชิกสภา อบต. ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ กกต.จะประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่ว้นเลือกตั้ง เมื่อตรวจสอบเบื้องต้น ว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม หากมีการร้องเรียนจะไต่สวนและประกาศไม่ช้ากว่า 60 วันถึงผลการเลือกตั้ง หรือให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือดำเนินการอื่นที่จำเป็น แล้วแต่กรณีโดยเร็ว ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 17

การแจ้งเหตุที่ไม่ได้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต.

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

เหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
  • กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แจ้งเหตุไว้แล้ว หากในวันเลือกตั้งเหตุดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งได้

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้

  • สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือ ส.ถ. หรือ ผ.ถ. หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว.
  • สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  • เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน ส.ถ. หรือ ผ.ถ.
  • ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

 

 

 

ที่มา :เทศบาลเมืองเขารูปช้าง ,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย