อินฟอร์มา ส่งดิจิตอลอีเว้นท์ “CPhI South East Asia 2021” เสริมแกร่งอุตสาหกรรมยาไทยสู่เวทีโลก
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผนึกกำลังรัฐ-เอกชน จัดดิจิตอลอีเว้นท์แสดงวัตถุดิบและส่วนประกอบและการให้บริการสำหรับการผลิตยาครบวงจร หรือ ซีพีเอชไอ เซาธ์ อีสต์ เอเชีย 2021 (CPhI South East Asia 2021) ดึงนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายและเจรจาธุรกิจ ชี้ตลาดสมุนไพร-สารสกัดจากธรรมชาติมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท และไทยเป็นตลาดเวชภัณฑ์ที่มีศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ ภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัวและพัฒนาองค์กรโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อสุขภาวะของประชาชนในประเทศ และตลาดยายังมีความน่าสนใจในฐานะอุตสาหกรรมที่จะสร้างรายได้และโอกาสให้กับประเทศไทยอีกด้วย โดยปัจจุบันมูลค่าของอุตสาหกรรมยาในไทยในประเทศนั้นมีมูลค่าประมาณ 1.9 แสนล้านบาท และมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท การจัดงานในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการด้านยาของไทยใช้เชื่อมโยงกับคู่ค้านานาชาติ และผนึกกำลังจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ อัพเดทข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและรักษาผู้คนในภาวะแพร่ระบาดในปัจจุบันและอนาคต โดยงานจะจัดขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม โดยจะมีสัมมนาคุณภาพกว่า 40 หัวข้อ ตลอดการจัดงาน”
ด้านเภสัชกรหญิง ลลนา เสตสุบรรณ นายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน เปิดเผยว่า “มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศปี 2564 ยังคงเติบโต แม้จะชะลอลงเล็กน้อย จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คาดว่าจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสำหรับโรคไม่รุนแรงจะปรับลดลง และการซื้อยาผ่านร้านขายยาเองก็ชะลอลงตามกำลังซื้อที่ซบเซา แต่ตลาดยายังมีปัจจัยบวกจากความต้องการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 อาทิ ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ ยาแก้ไอและยาลดไข้
โดยสำหรับปี 2565-2566 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายยาจะเติบโตเฉลี่ย 3.5% ตามการฟื้นตัวของตลาด และการให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องการการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามความท้าทายของอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยคือ การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากการนำเข้ายาราคาถูกจากอินเดียและจีน การเข้ามาลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะท่าทีของการที่จะเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) อาจส่งผลต่อการขึ้นทะเบียนตำรับยาชื่อสามัญที่มีสิทธิบัตรได้ช้าลง จึงส่งผลต่อราคาของยาบางประเภทที่มีสิทธิบัตรจะมีราคาแพงได้นานต่อไปเพราะรัฐจะขาดอำนาจในการต่อรองราคาเนื่องจากการถูกผูกขาดจากระบบสิทธิบัตร หากภาครัฐต้องการสร้างความมั่นคงด้านยา และลดการพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ภาครัฐควรต้องมีนโยบายสนับสนุนการผลิตยาและสนับสนุนให้เกิดการใช้ยาที่ผลิตในประเทศผ่านกลไก MADE IN THAILAND อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากตลาดยาแผนปัจจุบันที่เติบโตแล้ว อีกกลุ่มที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ กลุ่มเวชสำอาง สารสกัดจากพืช สมุนไพร และส่วนประกอบจากธรรมชาติซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ตลาดสมุนไพรจะมีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่นิยมใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐที่ใช้สมุนไพรแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยสามารถใช้ความได้เปรียบด้านความหลากหลากของพืชสมุนไพรมาพัฒนาสร้างจุดแข็งในการส่งออกสมุนไพร
ซีพีเอชไอ เซาธ์ อีสต์ เอเชีย 2021 (CPhI South East Asia 2021) หรืองานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และการประชุมด้านอุตสาหกรรมการผลิตยาและสารสกัดจากธรรมชาติครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะถูกจัดขึ้นในรูปแบบดิจิตอลอีเว้นท์ ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม 2021 พบกับบริการโปรแกรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจด้านยาที่ยิ่งใหญ่และครอบคลุมไปทั่วภูมิภาค พร้อมกับเข้าร่วมสัมมนาทั้งเชิงเทคนิคและเชิงวิชาการในระดับนานาชาติ ทั้งรูปแบบฟังสด และฟังย้อนหลัง กว่า 40 หัวข้อ สามารถพบนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยาจากทั่วโลกบนช่องทาง https://app.swapcard.com/event/cphi-south-east-asia-1 ได้แล้ววันนี้เป็นต้นไป
สำหรับรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบออนไลน์ ผู้เข้าชมงานสามารถค้นหาสินค้าและผู้ประกอบการที่สนใจได้อย่างง่ายได้จากการใช้เทคโนโลยี AI ในการแนะนำสินค้าหรือผู้จัดแสดงสินค้าที่คาดว่าตรงกับความต้องการ รวมถึงการนัดหมายเจรจาธุรกิจล่วงหน้า และฟังค์ชั่นการพูดคุยผ่าน video conference หรือช่อง chat เพื่อสร้างความสะดวกสบาย นอกจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตยาจากบริษัทชั้นนำแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังสามารถรับชมสัมมนาคุณภาพหลากหลาย ในหัวข้อเทรนด์การผลิตยา การใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุ บรรจุภัณฑ์ยา สมุนไพรและสารสกัด ในรูปแบบการรับชมสดและย้อนหลังไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ “อัพเดตนวัตกรรมและการผลิตยาจากประเทศจีน ไต้หวัน และเกาหลี” “อัพเดตตลาดยา สมุนไพร เวชสำอาง จากอาเซียน: ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม” “ลดต้นทุนเพิ่มรายได้...ด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้าจาก FTAs” “เสริมสร้างนวัตกรรมสารสกัดสมุนไพรสู่ตลาดโลก” “สถานการณ์ COVID-19 Lesson Learn from Covid-19 โดย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และหัวที่น่าสนใจกว่า 40 รายการ