รัฐบาล ย้ำ เงินประกันรายได้ข้าว-ยางพารา เข้าบัญชีเกษตกร วันที่ 9-20 ธ.ค. นี้
โฆษกรัฐบาลเผย “นายก”ดูแลเกษตรกรกว่า 6.57 ล้านครัวเรือน โดยเกษตรในโครงการประกันรายได้ข้าว-ยางพารา เตรียมรับเงินหลังบอร์ด ธ.ก.ส. อนุมัติโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเริ่ม 9 ธ.ค. และ 20 ธ.ค. นี้
4 ธ.ค.2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 64 อนุมัติกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้ข้าวและยาง 3 โครงการ คือ
1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม
2) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20
3) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนและมีสิทธิจะได้ประโยชน์และการช่วยเหลือจาก 2 โครงการข้าวพร้อมกัน คือการประกันรายได้และค่าปรับปรุงคุณภาพข้าว โดยมีครอบครัวเกษตรกรข้าวและยางพาราที่ได้รับประโยชน์กว่า 6.57 ล้านครัวเรือน รวมวงเงินรวม 138,224.76 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการ ธ.ก.ส. หรือ บอร์ด ธ.ก.ส. มีมติอนุมัติการโอนเงินให้กับเกษตรผู้มีสิทธิ ดังนี้
-โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม จํานวน 74,569.31 ล้านบาท เกษตรกรได้รับ ประโยชน์ 4.69 ล้านครัวเรือน เริ่มโอนวันที่ 9-13 ธ.ค. 64
- โครงการช่วยเหลือค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิต เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินงบประมาณจํานวน 53,871.84 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรจํานวน 4.57 ล้านครัวเรือน เริ่มโอน 13-17 ธ.ค. 64
-โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินงบประมาณจํานวน 9,783.61 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 1.88 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 19.16 ล้านไร่ เริ่มโอนเงิน 20 ธ.ค. นี้ เป็นต้นไป
"ทั้งนี้ การเร่งรัดดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรผู้ปลูกข้าวและยางพารา เปึนไปตามข้อสั่งการของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดหาแหล่งเงิน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ข้าวและยางพารา ในช่วงที่ราคาพืชเกษตรตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อรายได้ โดยเป็นการช่วยเหลือส่วนต่างรายได้ "ประกันรายได้"
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังมีโครงการเกษตรกรรอบด้านเพิ่มเติม ทั้งการส่งเสริมการทำเกษตแปลงใหญ่ การปลูกพีชแบบผสมผสาน การเกษตรสมัยใหม่ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช เน้นปรับวิธีการ "ทำน้อย ได้มาก" เป้าหมายสูงสุดคือ พลิกโฉมการเกษตรไทย ให้หลุดพ้นความยากจนและการเกษตรสามารถเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนด้วย