"กรมอุตุนิยมวิทยา" เตือนภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-ฝนตกสะสม

"กรมอุตุนิยมวิทยา" เตือนภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-ฝนตกสะสม

"พยากรณ์อากาศ" จาก "กรมอุตุนิยมวิทยา" 16 - 17 ธ.ค. 64 มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1–3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า ประเทศไทยตอนบนยังมีอากาศเย็นถึงหนาว ภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม

รายงานสภาพอากาศอีก 7 วันข้างหน้า จาก "กรมอุตุนิยมวิทยา" ระบุ "พยากรณ์อากาศ" ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2564 - 20 ธันวาคม 2564 คาดการณ์ว่า

 

ในช่วงวันที่ 14 - 15 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1–3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเย็นถึงหนาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2–4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ และภาคกลาง อุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียส โดยจะมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรงตลอดช่วง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงวันที่ 15 - 18 ธ.ค. 64 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "ราอี" บริเวณทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. 64 โดยพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

 

ข้อควรระวัง 

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 ธ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือบริเวณภาคใต้ตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

\"กรมอุตุนิยมวิทยา\" เตือนภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก-ฝนตกสะสม

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังให้รายละเอียด "พยากรณ์อากาศ" ถึงข้อควรระวัง ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2564 - 20 ธันวาคม 2564 ระบุว่า

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14 – 16 และ 19 - 20 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 18 - 20 ธ.ค. 64 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 64 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ส่วนช่วงวันที่ 16 – 17 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 18 - 20 ธ.ค. 64 อากาศเย็นถึงหนาว โดยในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 18 - 20 ธ.ค. 64 อากาศเย็น โดยในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 64 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 17 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 14 และ 19 - 20 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 18 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค สุราษฎร์ธานี ขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร นครศรีธรรมราช ลงมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 19 - 20 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 18 ธ.ค. 64 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 14 - 15 และ 18 – 20 ธ.ค. 64 อากาศเย็น โดยในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 64 อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. 64 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.