วิกฤติเนื้อหมูแพง แม่ค้าหมูปิ้งแบกรับภาระหนัก ไม่ขึ้นราคา แต่อาจเลิกขาย
วิกฤติ "หมูแพง" ร้าน "ข้าวเหนียวหมูปิ้ง" ประมาณ 4-5 ร้าน จ.มหาสารคาม ต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า "ราคาเนื้อหมู" ที่ขึ้นราคาส่งผลกระทบโดยตรง ต้องแบกรับภาระหนัก ยืนยันไม่ขึ้นราคาเพราะสงสารลูกค้า แต่อาจเลิกขายหากราคายังคงปรับสูงขึ้นอีก วอนรัฐเห็นใจ
วิกฤติ "หมูแพง" ที่วงเวียนโรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม จ.มหาสารคาม มีร้าน "ข้าวเหนียวหมูปิ้ง" ประมาณ 4-5 ร้าน ซึ่งเจ้าของร้านต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า "ราคาเนื้อหมู" ที่ขึ้นราคาส่งผลกระทบโดยตรง ทำให้ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศราชกิจจาฯ แล้ว ห้ามส่งออกหมูเป็นออกนอกราชอาณาจักร
- ราคาเนื้อหมูพุ่งไม่หยุด คาดตรุษจีนปรับขึ้นอีก
- ส่องมาตรการ 3 ระยะ รัฐบาลลุยแก้ปัญหา "หมูแพง"
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พูดคุยกับ นางละมุล แม่ค้าขาย "หมูปิ้ง" ได้เล่าว่า ตนเองขาย "ข้าวเหนียวหมูปิ้ง" มานานเกือบ 30 ปี ตั้งแต่ราคาเนื้อหมูกิโลกรัมละ 75 บาท จนราคาเนื้อหมูที่ซื้อล่าสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท ถือว่าแพงมากที่สุดเท่าที่เคยขายหมูปิ้งมา ปัจจุบันตนขายหมูปิ้งราคาไม้ละ 5 บาท ข้าวเหนียวถุงละ 5 บาท
ในปี 2563 ราคาเนื้อหมูถือว่าแพงมากแล้ว มาในปี 2564-2565 ยิ่งมีราคาสูงมากจนแม่ค้าแบกรับไม่ไหว แต่ละวันใช้เนื้อหมูวันละ 15-20 กิโลกรัม สามารถเสียบไม้ได้ 600 ไม้ หลังจากที่ราคาหมูปรับราคาเพิ่มขึ้นสูงมากทางร้านยังขายราคาเดิม แต่จะมีการลดปริมาณลง จนกลายเป็นหมูผอม แต่ลูกค้าก็เข้าใจไม่บ่น ลูกค้าบางคนเคยชื้อ 5 ไม้ก็ต้องซื้อเพิ่มเป็น 6 ไม้เพราะปริมาณหมูแต่ละไม้ลดลง ไม่อิ่มต้องซื้อเพิ่มอีกไม้ แต่ถ้าถ้าเพิ่มอีกหลายไม้ก็คงไม่ไหว ก็เอาพออิ่มถ้าหาหากตรุษจีนหรือสงกานต์ปรับขึ้นอีกอาจจะเลิกขายเพราะสู้ต้นทุนไม่ไหว วอนรัฐเห็นใจพ่อค้าแม่ค้าด้วย
นอกจาก ข้าวเหนียวเนื้อปิ้ง ก็จะมี แหนมย่าง ปลาย่าง หรือนำอาหารอีสานมาเสริมเพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือก เพราะหากขายแต่หมูปิ้งอย่างเดียวจะไม่มีกำไรอะไรเลย ซึ่งทางร้านต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยืนยันว่าจะยังไม่ขึ้นราคา ยังคงจำหน่ายราคาไม้ละ 5 บาทเหมือนเดิมแต่ลดปริมาณลงเพราะสงสารลูกค้า อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาควบคุมดูแล ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง