"ฉีดวัคซีนเข็ม 3" ด้วยวัคซีนต่างชนิด เชื้อตาย แอสตร้า-ไฟเซอร์ ภูมิสูงแค่ไหน

"ฉีดวัคซีนเข็ม 3" ด้วยวัคซีนต่างชนิด เชื้อตาย แอสตร้า-ไฟเซอร์ ภูมิสูงแค่ไหน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นการ "ฉีดวัคซีนเข็ม 3" กระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดกัน ประกอบด้วยเชื้อตาย แอสตร้า-ไฟเซอร์ ภูมิสูงแค่ไหน โดยมีการยกผลการศึกษาจากต่างประเทศ

(26 มกราคม 2565) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นการ "ฉีดวัคซีนเข็ม 3" กระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดกัน โดยมีการยกผลการศึกษาจากต่างประเทศ 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "โมเดอร์นา" Walk in ฉีดวัคซีนเข็ม 3 รพ.บางกรวย วันนี้ จำนวนจำกัด

- Walk in "ฉีดวัคซีนโควิด-19" เข็มที่ 1-4 ทุกวัน วันละ 300 คน ใครๆก็ฉีดได้

- "ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3" เข็ม 4 ไฟเซอร์-แอสตร้า เลือกวันเวลาได้ รีบเลย

 

การ "ฉีดวัคซีนเข็ม 3" ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้ครบหลักการตามให้วัคซีนที่มี primary วัคซีน 2 โดสแล้วตามด้วยกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้สูงและอยู่นานขึ้นตามหลักของการให้วัคซีน วันนี้ขอพูดตามหลักวิชาการมากหน่อย อาจจะเข้าใจยากกว่าทุกวัน

 

ขณะนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การให้วัคซีนเบื้องต้นที่เป็นวัคซีนเชื้อตาย แล้วกระตุ้นด้วยไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA กระตุ้นภูมิได้สูงมาก มีการศึกษาสนับสนุนออกมามากมายมาสนับสนุนงานวิจัยที่เราทำมาโดยตลอด เช่น ทีมมหาวิทยาลัย oxford  ร่วมกับบราซิล ได้ลงพิมพ์ในวารสาร lancet https://www.thelancet.com/action/showPdf...  รายงานนี้ก็อ้างอิงผลงานของเรา และยังมีการศึกษาในสวีเดน อินโดนีเซีย ได้ผลกระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงเช่นเดียวกัน

 

ที่น่าสนใจการศึกษาในประเทศชิลี ถึงประสิทธิภาพการกระตุ้นเข็ม 3 หลังจากได้รับวัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) มาแล้ว 2 เข็ม โดยให้เข็มที่ 3 เป็นเชื้อตาย (CoronaVac) virus Vector (AZ) และ mRNA (Pfizer) มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคแบบมีอาการร้อยละ  78.8 , 93.2 และ 96.5 ตามลำดับ และป้องกันการเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 86.7 , 98.1 และ 96.8 ตามลำดับ รายงานนี้เสนอใน preprint ที่กำลังพิจารณาในวารสาร Lancet  https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4005130 

 

 

ข้อมูลดังกล่าวได้สนับสนุนผลงานวิจัยที่ศูนย์ได้ทำมาตลอด โดยผลงานของเราลงพิมพ์ในวารสาร https://www.mdpi.com/2076-393X/10/1/86 ได้ผลในรูปแบบเดียวกัน ขณะนี้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และกำลังจะส่งผลงาน ที่มีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicron ไปเผยแพร่ในวารสาร ในอาทิตย์นี้อีกหนึ่งเรื่อง และจะมีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการกระตุ้นที่ 3 เดือนและ 6 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในการกระตุ้นห่าง 6 เดือนจะได้สูงกว่าภูมิกระตุ้นที่ 3 เดือนหลังเข็ม 2  ของการให้วัคซีนเชื้อตาย แต่ข้อเสียของการกระตุ้นช้า คืออาจจะเกิดการติดเชื้อโรค covid 19 เสียก่อน ส่วนเมื่อกระตุ้นเข็ม 3 แล้ว ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicron สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มของ AZ และ mRNA

 

โดยสรุปการให้วัคซีนต่างชนิดกัน จะได้ผลในการกระตุ้นภูมิต้านทานที่สูงมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่กำลังออกมามากมายในระดับนานาชาติทั่วไป และน่าจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างแน่นอน

 

อ้างอิงจากเฟซบุ๊ก : หมอยง