"ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 บอกง่ายๆ ช่องทางการรับ-จ่ายกองทุนเงินสมทบและเงินทดแทน
อัพเดทแจ้งข่าว "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 บอกง่ายๆ ช่องทางการรับ-จ่ายกองทุนเงินสมทบและเงินทดแทน รวมถึงสิทธิการรักษาป่วย "โควิดติดเชื้อ" ด้วย
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แนะนำช่องทางการรับ-จ่าย เงินสมทบกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 มีหลากหลายช่องทาง ดังนี้
- ชำระทางเคาน์เตอร์
- e-Payment
- หักบัญชีเงินฝากธนาคาร
- Mobile App
- ผ่านช่องทางธนาคาร
- หน่วยบริการต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ไทย แอปพลิเคชัน
- จ่ายด้วยการโอนผ่านช่องทางธนาคารและบริการพร้อมเพย์
เช็กให้ชัวร์! ผู้ประกันตนแต่ละมาตราสามารถจ่ายได้ตามช่องทางที่หลากหลายและแตกต่างกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา - ประกันสังคม
กรณีโควิด สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ชาวประกันสังคมไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ สำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา
มาตรา 33
กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
หยุดรักษาตัว เกิน 30 วันสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
มาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดย คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท)
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
มาตรา 40
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ