UCEP Plus คืออะไร สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายๆ เกณฑ์รักษาตามอาการเขียว เหลือง แดง

UCEP Plus คืออะไร สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายๆ เกณฑ์รักษาตามอาการเขียว เหลือง แดง

UCEP Plus คืออะไร สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายๆ เปิดเกณฑ์รักษาตามอาการเขียว เหลือง แดง การประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติกรณีติดเชื้อโควิด-19 สำหรับ UCEP Plus

การรักษาโควิด-19 แบบ "UCEP Plus" คือ กรณีที่ผู้ติดเชื้อที่มีอาการตั้งแต่สีเขียว สีเหลืองและสีแดง โดยเฉพาะกลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง สามารถเข้ารักษาโรงพยาบาลใดก็ได้และรักษาจนกว่าจะหายป่วยฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "UCEP Plus" เริ่มวันนี้ ติดโควิด-19 รักษาแบบใหม่ อาการเขียว เหลือง แดง เช็คเลย

- "ชัดๆ “อาการโควิด19”แบบไหนจัดเป็น “เหลือง-แดง” รักษาฟรีทุกที่ "UCEP Plus"

- รักษาฟรี! "อาการโควิด" UCEP plus ผู้ป่วยเขียว เหลือง แดง ต่างกันอย่างไร?

 

ส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19 อาการสีเขียว สามารถไปรับบริการรักษาฟรีได้ใน รพ.ตามสิทธิ์การรักษาของตนเอง เหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ ซึ่งอาจจะพิจารณาเข้ารับบริการแบบ Home Isolation หรือแบบผู้ป่วยนอก (OPD) "เจอ แจก จบ" ได้ โดยผู้ป่วยจะได้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการและจะได้รับยา 3 กลุ่มขึ้นกับอาการและดุลยพินิจของแพทย์ คือ ยาตามอาการ ยาฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ หรือหากอาการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง สามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆโดยใช้สิทธิ์ "UCEP Plus" ได้เช่นกัน

 

"UCEP Plus" หรือ UCEP COVID-19 Plus ย่อมาจาก Universal Coverage for Emergency Patients Plus เป็นเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ กรณีติดเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิดในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสีแดงและสีเหลือง รวมถึงสีเขียวที่อาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีเหลือง หรือ สีแดง ซึ่งแนวทางการรักษานี้มีผลเริ่มวันแรกคือวันที่ 16 ม.ค.2565

 

สำหรับเกณฑ์การรักษา หรือการประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติกรณีติดเชื้อโควิด-19 สำหรับ UCEP Plus มีดังนี้

 

1.ภาวะหัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง (เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกเดิม) หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก

 

 

2.มีอาการไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วมากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือออกซิเจนในเลือดเมื่อแรกรับน้อยกว่า 94% หรือมีระดับออกซิเจนลดต่ำลงกว่าภาวะปกติ 3% เมื่อออกแรง หรือโรคประจำตัวเปลี่ยนแปลงรุนแรง หรือจำเป็นต้องรับการติดตามใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือในเด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารน้อยลง หรือผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงตามดุลยพินิจของแพทย์

 

3.มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย คือ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรืออื่น ๆ ตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก

 

UCEP Plus คืออะไร สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายๆ เกณฑ์รักษาตามอาการเขียว เหลือง แดง

 

สำหรับการรักษาพยาบาลตามสิทธิ และ UCEP Plus ฟรี จำแนกเป็น

 

 

1.ผู้ป่วยอาการสีเขียว อาการ : ไม่มีอาการ มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่รับกลิ่น ไอมีน้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลว รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิ์ : บัตรทอง ข้าราชการ ประกันสังคม ประกันสุขภาพสิทธิประกันสังคม ทำงานต่างพื้นที่เข้า รพ.เครือข่ายได้ 

 

การรักษา : กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) กักตัวในชุมชน หรือ ฮอสพิเทล เข้าโครงการ "เจอ แจก จบ" ที่หน่วยบริการใกล้บ้าน

 

2.ผู้ป่วยอาการสีเหลือง อาการ : แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ไม่ดื่มนม หรือทานอาหารน้อยลง กลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ อ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม

 

การรักษา : รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิหรือ UCEP Plus ฟรีทุก รพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน

 

3.ผู้ป่วยอาการสีแดง อาการ : หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานกว่า 24 ชั่วโมง และค่าออกซิจนน้อยกว่า 94%

 

การรักษา : รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิ หรือใช้สิทธิ UCEP Plus รักษาฟรีทุก รพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน

 

ช่องทางติดต่อโทร สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 , ประกันสังคม 1506 , กรม สบส. 1426 หรือสอบถามสิทธิ UCEP Plus โทร 02-872-1669

 

UCEP Plus คืออะไร สรุปมาให้แบบเข้าใจง่ายๆ เกณฑ์รักษาตามอาการเขียว เหลือง แดง