สรุป "สงกรานต์ 2565" มีข้อห้ามอะไรบ้าง เช็กเลย!
สรุปชัดๆ เทศกาล "สงกรานต์ 2565" สิ่งไหนทำได้ และข้อห้ามในการจัดงานกิจกรรมต่างๆ มีอะไรบ้าง เช็กรายละเอียดที่นี่!
ภายหลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดศบค. ฉบับที่ 43 เกี่ยวกับ มาตรการเทศกาล "สงกรานต์ 2565" เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ออกมานั้น
หลายคนอาจจะสงสัยว่า สรุปแล้วเทศกาล "สงกรานต์ 2565" ในระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2565 สามารถมีข้อห้ามอะไรบ้างเรารวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
- พื้นที่จัดงาน "สงกรานต์ 2565"
ต้องเป็นพื้นที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือพื้นที่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ได้ ให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดงาน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดงาน จัดสถานที่และดำเนินกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน รวมทั้งมาตรการปลอดภัย
สำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนี้
ก. การจัดกิจกรรมในลักษณะของการเล่นน้ำ หรือจัดกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี เช่น การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว การละเล่นตามประเพณี การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ หรือการแสดงดนตรี สามารถกระทำได้
ข. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการเล่นประแป้ง และกิจกรรมในลักษณะปาร์ตี้โฟม
ค. ห้ามการจำหน่ายและการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในบริเวณพื้นที่
ง. ให้มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้าออก และให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ หรือพื้นที่จัดกิจกรรม
จ. ให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัดตามขนาดของสถานที่ หรือพื้นที่จัดกิจกรรม เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- พื้นที่สาธารณะ ไม่มีการควบคุม
ห้ามการเล่นน้ำ เล่นประแป้ง ปาร์ตี้โฟม หรือกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นความเสี่ยงต่อการ ระบาดของโรค ในพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรม
- สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ สวมหน้ากากตลอดเวลา
- พื้นที่หมู่บ้าน หรือชุมชน
สำหรับการจัดกิจกรรมเทศกาล "สงกรานต์ 2565" ได้ โดยให้ ศปก. ในพื้นที่ที่ตั้งของชุมชนนั้น ๆ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาอนุญาต และต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่สอดคล้องกับแนวทางและมาตรการที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ด้วย
สถานที่หรือการจัดกิจกรรมใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินมาตรการความปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะด้วย