ครม.เพิ่ม "เงินบำเหน็จชราภาพ" ช่วงลดเงิน "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ได้เท่าไร ?
ครม.เพิ่ม "เงินบำเหน็จชราภาพ" อีก 2.95% ช่วงลดเงินสมทบ "ประกันสังคม" 3 เดือน แล้วผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ได้เท่าไร ?
ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการ กำหนดอัตราการจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ให้แก่ผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ในช่วงที่มีการปรับลดอัตราเงินสมทบ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 พ.ค. - 31 ก.ค. 65 โดยเพิ่มการจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนขึ้นอีก 2.95 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง เพื่อให้สามารถจ่าย "เงินบำเหน็จชราภาพ" ได้เพิ่มขึ้น
เนื่องจากช่วง 3 เดือนที่ปรับลดการจ่ายเงินสมทบของ ผู้ประกันตน ม.33 ลดจ่ายเงินสมทบจากอัตราที่เท่ากัน 5% ต่อเดือน เหลือเป็น 1% ต่อเดือน และผู้ประกันตน ม.39 ลดอัตราเงินสมทบจาก 9% ต่อเดือน เหลือเป็น 1.9% เดือน จะส่งผลกระทบต่อเงินที่ส่งเข้ากองทุนชราภาพลดลง ทำให้เงินบำเหน็จชราภาพที่จะได้รับในอนาคตลดลงตามไปด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายลดผลกระทบ โดย เสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยให้คำนวณอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีก 2.95 % ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค. ซึ่งเป็นช่วงลดอัตราส่งเงินสมทบเข้ากองทุน ฯ ดังนี้
- ผู้ประกันตน ม. 33
ได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มขึ้น 1,032 บาท/คน
- ผู้ประกันตน ม.39
ได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มขึ้น 423 บาท/ คน
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน คาดว่ามีผู้ที่ได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" ที่จะได้รับผลกระทบจากการลดอัตราเงินสมทบ จำนวน 4,860,212 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของผู้นำส่งเงินสมทบ ม.33 และ ม.39 ทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ลดอัตราเงินสมทบ และเมื่อมีการปรับอัตราจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จะมีผลให้ผู้ประกันตนได้รับ "เงินบำเหน็จชราภาพ" เพิ่มขึ้นในภาพรวม จำนวน 4,553 ล้านบาท