"แบงก์ชาติ" อัปเดตล่าสุด 13 ธนาคารให้รวมหนี้เป็นก้อนเดียวได้ เช็กเลยที่นี่

"แบงก์ชาติ" อัปเดตล่าสุด 13 ธนาคารให้รวมหนี้เป็นก้อนเดียวได้ เช็กเลยที่นี่

"แบงก์ชาติ" อัปเดตล่าสุด สถาบันการเงิน ที่มี "มาตรการรวมหนี้" หรือ รีไฟแนนซ์ ทั้งในธนาคารและต่างธนาคาร หนี้สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรายย่อย เช็กเลยที่นี่!

"แบงก์ชาติ" ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อัปเดตล่าสุด รายชื่อ "สถาบันการเงิน" ที่มี "มาตรการรวมหนี้" หรือ รีไฟแนนซ์ (refinance) ทั้งในธนาคารและต่างธนาคาร สามารถรวม "หนี้สินเชื่อบ้าน" และ "สินเชื่อรายย่อย" ประเภทอื่นเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดในระยะยาว โดย "ลูกหนี้" สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการได้ที่ https://bit.ly/3Iphakn

 

 

"แบงก์ชาติ" ได้ออกมาตรการ "รวมหนี้" สนับสนุนการ "รีไฟแนนซ์" (refinance) และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ สินเชื่อผ่อนบ้าน ผ่อนบัตรเครดิต ให้เหลือหนี้ก้อนเดียว ลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

 

รีไฟแนนซ์ คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง

 

โดยมาตรการสนับสนุนการ "รีไฟแนนซ์" เพื่อ "รวมหนี้" ห้ามสถาบันการเงิน/ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ เรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) ของสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนด

 

ทั้งนี้ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด คือ ค่าปรับที่ลูกหนี้ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ในกรณีที่ปิดสินเชื่อก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยทั่วไปการรีไฟแนนซ์อาจไม่คุ้มค่า หากค่าปรับส่วนนี้สูงกว่าดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ประหยัดจากการรีไฟแนนซ์ได้

 

 

สำหรับมาตรการสนับสนุนการ "รวมหนี้"
 

ให้สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยขยายขอบเขตจากเดิมที่ดำเนินได้เฉพาะแบงก์เดียวกันให้สามารถรวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในระยะยาว

 

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการ "รวมหนี้" คืออะไร

 

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการ "รวมหนี้" หรือ รีไฟแนนซ์ (refinance) คือ การรวมหนี้สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยอื่นๆ กำหนดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านภายหลังช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี ซึ่งลูกหนี้จะได้ประโยชน์จากการรวมหนี้ คือ

 

  1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
  2. ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว
  3. ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจารวมหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย

 

รูปแบบการรวมหนี้ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้

 

  1. การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
  2. การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
  3. การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้มาก่อน

 

จากข้อมูล "แบงก์ชาติ" พบว่ามี ธนาคาร 12 แห่ง ที่ให้ลูกหนี้ "รวมหนี้" ได้ทั้ง 3 รูปแบบ คือ กรุงเทพ , กรุงไทย , กรุงศรีอยุธยา , กสิกรไทย , เกียรตินาคินภัทร , ซีไอเอ็มบีไทย , ทหารไทยธนชาต , ทิสโก้ , ไทยพาณิชย์ , ยูโอบี , ออมสิน และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

 

ส่วน ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ให้เฉพาะการรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน และการรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้

 

ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้

 

  • ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้
  • ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้
  • ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้

 

\"แบงก์ชาติ\" อัปเดตล่าสุด 13 ธนาคารให้รวมหนี้เป็นก้อนเดียวได้ เช็กเลยที่นี่