เช็ก มาตรการโควิด มติ ศบค. ดื่มในร้านไม่เกิน5ทุ่ม ผับ-บาร์ปรับเป็นร้านอาหาร SHA+
เช็กด่วน มาตรการคุมโควิด มติที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ เคาะคงเดิม พื้นที่สีฟ้า-พื้นที่สีส้ม ดื่มในร้านไม่เกิน 5 ทุ่ม ผับบาร์ให้ปรับเป็นร้านอาหาร ผ่านมาตรฐาน SHA+ Thai Stop COVID 2-Plus COVID Free Setting
ความคืบหน้า มาตรการสงกรานต์ 2565 จาก ศูนย์ข้อมูล Covid19 เปิดเผย มติที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมวันนี้ โดยที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่มีมติคง
4 มาตรการควบคุมการระบาดของโควิด ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 2565 ดังนี้
- จำกัดเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (พื้นทที่สีฟ้า) และ พื้นที่เฝ้าระวังสูง(พื้นที่สีส้ม) ไม่เกิน 23.00 น.
- ร้านอาหารดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2-Plus และมาตรการ COVID Free Setting
- สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ เปิดแบบร้านอาหารได้ ขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
- Work From Home ตามความเหมาะสม
อัปเดตข่าวร้อน
- ด่วน! ยิง อสม.ผัวเมีย พร้อมเจ้าของห้องเช่า ดับ 3 ศพ มือปืนหลบหนีลอยนวล
-
ด่วน ผู้ว่าฯสั่งปลด "สจ.มดแดง" สิริกร อินทศร เหตุต้องคำพิพากษาคดีอาญา
-
สลด! ไฟไหม้บ้านหรู นนทบุรี 2 พี่น้องดับคากองเพลิง เจ็บ 3 ราย และสุนัข 1 ตัว
-
อัปเดต ตร.ค้นสระบุรี-เชียงราย ยุทธการ "ดาวลูกไก่" ลวงเด็กหญิงค้ากาม สลดแม่แท้ๆบงการ
กทม. เตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด เด็กเล็ก 0-4 ปี ขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ เร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขเตือนเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก 0-4 ปี พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายเตียงรองรับหลังสงกรานต์ และเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย ร่วมกับ กรมควบคุมโรค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิดทุกกลุ่มอายุ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 0-4 ปี
เนื่องจากยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งพบว่า การป่วยและความรุนแรงของโรคกลุ่มเด็กเล็ก 0-6 เดือน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่ป่วยแล้วจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มวัยอื่น สำหรับการเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ กทม. เพื่อรองรับการรักษากลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 สำนักการแพทย์ ได้เน้นย้ำโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ซึ่งมีกุมารแพทย์ประจำทุกแห่ง ให้การดูแลผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีผลยืนยันติดโควิดอย่างเร่งด่วน เตรียมความพร้อมรอบด้าน ประเมินอาการ ให้การรักษา และประสานส่งต่อผู้ป่วยไปศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลทั่วไป รวมถึงสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย โดยมีศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ สายด่วน 1669 ประสานส่งต่อเครือข่าย
ทั้งนี้ การดูแลป้องกัน เมื่อเด็กปฐมวัยติดเชื้อ หากผู้ปกครองมีผลบวก และเด็กติดเชื้อโควิดด้วย จะใช้ระบบการรักษาแบบครอบครัว ไม่ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์พักคอย แต่ถ้าเด็กติดเชื้อแล้วผู้ปกครองไม่ติดเชื้อก็จะอนุญาตให้ผู้ปกครอง สามารถอยู่ระหว่างการรักษาได้ แต่จะไม่แนะนำให้ปู่ย่า ตายาย หรือคนในครอบครัวที่สูงอายุดูแลเด็กที่ติดเชื้อเนื่องจากอาจจะติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมทั้งการเน้นย้ำผู้ปกครอง
สังเกตอาการและประเมินเด็กในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็กมีภาวะโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ส่วนพ่อแม่ติดเชื้อ และเด็กไม่ติดเชื้อ กรณีนี้หากมีญาติสามารถที่จะดูแลเด็กได้ก็ให้ดูแลต่อ แต่หากไม่มีผู้ที่จะดูแลเด็กทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาประสานและช่วยดูแลต่อ
ที่มา กรุงเทพมหานคร , ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 และศูนย์ข้อมูลCOVID19